top of page
ค้นหา

วางแผนท้องต้องเช็คจำนวนไข่อยากรู้หรือไม่ เรายังมี "ไข่" อยู่หรือเปล่า?


วางแผนท้องต้องเช็คจำนวนไข่

อยากรู้หรือไม่ เรายังมี "ไข่" อยู่หรือเปล่า?


ตั้งแต่แรกเกิด ผู้หญิงจะมีไข่ในรังไข่ประมาณ 1-2 ล้านฟอง พอเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ไข่ก็เหลือเพียง 3-4 แสนฟอง ปริมาณจะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น ที่สำคัญ ไม่สามารถเพิ่มจำนวนหรือสร้างขึ้นใหม่ แตกต่างจากน้ำเชื้อของผู้ชายที่สร้างใหม่ได้เรื่อยๆ


ในแต่ละเดือน จะมีไข่ประมาณ 5-10 ใบ ที่พร้อมจะโตและตกเพื่อปฏิสนธิกับสเปิร์ม ซึ่งโดยธรรมชาติจะคัดสรรให้เหลือเพียง 1 ฟองเท่านั้นที่โตและตกไปรอการปฏิสนธิ ที่เหลือจะฝ่อและสลายไป


เมื่ออายุมากขึ้น ไข่ในรังไข่ของผู้หญิงจะลดลงเรื่อยๆ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ทำให้โอกาสในการมีลูกลดลงไปด้วยเช่นกัน ในขณะที่ผู้ชายสามารถมีลูกแม้จะอายุเกิน 60-70 ปี ก็ตาม


●อายุมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรายังมีไข่อยู่?


ตามหลักของการเจริญพันธุ์แล้ว เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไข่ในรังไข่ของผู้หญิงสำหรับการตั้งครรภ์ก็จะลดลงเรื่อยๆ ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ และจะหมดไปในช่วง 5 ปีก่อนเข้าสู่วัยทอง


จากข้อมูลเชิงสถิติจะพบว่า ประชากรทั่วโลกประมาณ 50-80 ล้านคนกำลังประสบปัญหาด้านการมีบุตร ยิ่งไปกว่านั้น 1 ใน 4 ของคู่สามีภรรยาในประเทศกำลังพัฒนา ประสบกับปัญหาด้านการมีบุตร ทั้งนี้ เป็นผลพวงมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผู้หญิงส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะแต่งงาน และมีลูกในช่วงอายุที่มากขึ้น ซึ่งสวนทางกับอายุที่เหมาะสมสำหรับการมีบุตรที่อยู่ระหว่าง 20-35 ปี


แน่นอนว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีที่จะเอาชนะกฎของธรรมชาติด้วยการเพิ่มปริมาณหรือหยุดยั้งการลดปริมาณของไข่ในรังไข่ของผู้หญิงได้ ทำให้ผู้หญิงวางแผนจะมีลูกเมื่ออายุมากประสบปัญหามีบุตรยาก และต้องหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือ การผสมเทียม เพื่อแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก


อย่างไรก็ตาม สำหรับการใช้เทคโนโลยีการผสมเทียม ไม่ว่าจะเป็นการทำเด็กหลอดแก้ว (In-vitro


fertilisation) ที่เรียกสั้นๆ ว่า IVF หรือการทำอิ๊กซี- ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น เบื้องต้นต้องอาศัยวิธีการกระตุ้นไข่



●คำถามต่อมาก็คือ เราจะทราบได้อย่างไรว่า ร่างกายเหลือปริมาณไข่อยู่มากน้อยเพียงใด และมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ดีหรือไม่?



นั่นจึงเป็นที่มาของการคิดค้นหาวิธีที่จะช่วยให้คู่สามีภรรยาสามารถสามารถวางแผนการตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ผ่านการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน (Anti- Müllerian Hormone) หรือ AMH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากฟองไข่ในรังไข่ ปริมาณของฮอร์โมนจึงสัมพันธ์กับปริมาณไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่ของผู้หญิง จัดเป็นทางเลือกสำคัญสำหรับใช้เป็นแนวทางในการวางแผนสำหรับการมีบุตร โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก


●ฮอร์โมน AMH คืออะไร?


AMH หรือฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน เป็นฮอร์โมนที่


สร้างจากฟองไข่ในรังไข่ ปริมาณของฮอร์โมนจึงสัมพันธ์กับปริมาณไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่ของผู้หญิง ทำให้สามารถคาดการณ์ปริมาณไข่ที่เหลือในรังไข่ของผู้หญิงได้อย่างแม่นยำ


การตรวจวัดฮอร์โมน AMH ก่อนการทำเด็กหลอดแก้ว จะช่วยบอกได้ว่าแม่ๆ มีจำนวนไข่เหลือประมาณเท่าใด และจะตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ได้ดีเพียงใด กล่าวคือการตรวจฮอร์โมน AMH สามารถช่วยให้แพทย์ประเมินว่าจะมีโอกาสได้ไข่จากกระตุ้นมากหรือน้อยเพียงใด


ซึ่งการตรวจ AMH นี้เป็นการตรวจแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยความแม่นยำในการตรวจที่มากกว่าการทำอัลตราซาวน์นับฟองไข่ในวันที่ 2-3 ของประจำเดือน



●การตรวจฮอร์โมน AMH มีวิธีการอย่างไร?


การตรวจฮอร์โมน AMH ใช้การตรวจเลือด โดยไม่ต้องงดอาหารและอาหารล่วงหน้า สามารถตรวจวันใดก็ได้ เพราะฮอร์โมน AMH ไม่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน


จึงตรวจเมื่อใดก็ได้ แถมยังทราบผลในระยะเวลาอันรวดเร็ว (ขึ้นอยู่กับกระบวนการของแต่ละโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ตรวจ)


●การอ่านผล AMH


👉หากระดับ AMH สูง แสดงว่า #ไข่มีปริมาณมาก


👉ถ้าระดับค่า AMH ต่ำ แปลว่า #ไข่เหลือในปริมาณน้อย ซึ่งค่าไม่ควรต่ำกว่า 1


.

.


ไม่ว่าจำนวนไข่จะมีมากหรือน้อย แม่ๆ ก็อย่าเพิ่งกังวลค่ะ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าจำนวนไข่คือ #คุณภาพของไข่ค่ะ ครูก้อยจึงเน้นเรื่อง #การบำรุงไข่ เป็นพิเศษไงค่ะ สำหรับคนที่วางแผนมีบุตรด้วยวิธีการทางการแพทย์ควรบำรุงไข่ล่วงหน้าก่อนเก็บไข่ 3 เดือน


ครูก้อยรวบรวมคัมภีร์อาหารบำรุงไข่มาให้แล้ว ศึกษาและปฏิบัติตามนะคะ ครูก้อยขอให้ว่าที่คุณ


พ่อคุณแม่ทุกคนสมหวัง มีเบบี๋มาเป็นโซ่ทองคล้องใจในเร็ววันค่ะ


_____________________________________________


📱ชมรายการครูก้อยพบแพทย์ "ก่อนทำเด็กหลอดแก้วต้องเจาะเลือดเช็คฮอร์โมนอะไรบ้าง

คลิกชมเลยค่ะ

https://youtu.be/WQVfgO58Pcw


📱ชมครูก้อยอธิบายเรื่องฮอร์โมน "ต้องตรวจอะไรก่อนไป ICSI"

คลิกชมเลยค่ะ

https://youtu.be/HcQ1E9zBxgo



ดู 534 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page