top of page
ค้นหา

รู้ไหม น้ำเชื้อหนืดส่งผลท้องยาก! ทำการบ้านรอบนี้ ลองจับน้ำเชื้อคุณสามียืดดูซิ

อัปเดตเมื่อ 17 มิ.ย.


แต่หากระยะเวลาผ่านไปนานเกิน 60 นาทีแล้วลองหยดน้ำเชื้อแล้วพบว่ามีความหนืดเป็นเส้นยาวเกิน 2 เซนติเมตรจะเป็นการบ่งบอกว่าน้ำเชื้อของคุณพ่อนั้นมีความหนืดที่ผิดปกติค่ะ


น้ำเชื้อเป็นวุ้น ท้องได้ไหม


การที่น้ำเชื้เป็นวุ้นจากคุณพ่อที่ไม่ได้มีกิจกรรมทางเพศเป็นเวลานาน หรือหลั่งน้ำอสุจินาน ๆ ครั้ง ดื่มน้ำน้อย หรือออกกำลังกายน้อยเกินไป ไม่ถือว่าอันตรายค่ะ แต่หากเกิดจากคุณพ่อมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากหรือถุงน้ำเชื้อ หรือฮอร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์และกลุ่มแอนโดรเจนเสียสมดุล รวมถึงการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ยากมากขึ้นได้ด้วยค่ะ


ครูก้อยสืบค้นงานวิจัยและพบว่าน้ำเชื้อที่มีความหนืดกว่าปกติจะส่งผลให้ท้องยาก จากการที่สเปิร์มจับตัวเป็นก้อน เคลื่อนที่ช้า จำนวนน้อยลง และส่งผลให้ DNA มีความผิดปกติ


📚จากงานวิจัย Semen hyperviscosity : causes, consequences, and cures. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Bioscience ปี 2013


ศึกษาพบว่า ภาวะความหนืดสูงในน้ำเชื้อ นำไปสู่ภาวะมีบุตรยากโดย

1. ทำให้สเปิร์มติดกัน

2. สเปิร์มเคลื่อนไหวช้า

3. สเปิร์มมีจำนวนน้อยลง

4. DNA บริเวณหัวของสเปิร์มผิดปกติ


นอกจากความหนืดของน้ำเชื้อยังไปขัดขวางกระบวนการเคลื่อนที่ไปหาไข่เพื่อทำหารปฏิสนธิ รวมถึงส่งผลเกี่ยวกับอัตราการตั้งครรภ์ และการพัฒนาของตัวอ่อนที่มาจากความผิดปกติของโครโมโซมของสเปิร์ม


ดังนั้นหากแม่ๆ คู่ไหนที่กำลังพบปัญหามีบุตรยาก สามารถเช็คเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองนะคะ เกี่ยวกับความหนืด โดยให้คุณสามีทำการหลั่งน้ำเชื้อใส่ภาชนะหรือกระปุกและปิดฝาให้สนิทตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 30-60 นาที และใช้หลอดหยดทดลองทำการหยดว่าน้ำเชื้อนั้นมีการละลายตัวดีหรือไม่ หรือมีความหนืดที่มากเกินไป


อย่างไรก็ตามครูก้อยแนะนำให้แม่ๆ พาคุณพ่อไปตรวจคุณภาพน้ำเชื้อให้ครบทุกข้อ ทั้งปริมาณ ความเป็นกรด-ด่าง จำนวน รูปร่าง การเคลื่อนไหว กับทางการแพทย์เพื่อหาสาเหตุให้ครบด้วยค่ะ


ปัจจุบันครูก้อยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ Motila 1 วิตามินที่ช่วยในการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม โดยหนึ่งในสาเหตุที่สเปิร์มไม่เคลื่อนที่คือความหนืด และค้นพบว่าเอนไซม์บรอมีเลนในสับปะรด มีความสามารถในการลดความหนืดของน้ำเชื้อได้ ซึ่งสารสกัดจากสับปะรดนั้นเป็น 1 ในสารที่ครูก้อยเลือกมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ Motila 1 ค่ะ


📚งานวิจัย Bromelase – a simple way to reduce viscosity of human semen for better preparation. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ASRM Abstracts ปี 2012


ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับ ผลของการรักษาด้วยบรอมีเลนต่อตัวอย่างความหนืดของน้ำอสุจิของมนุษย์ ศึกษาพบว่า การรักษาด้วยบรอมีเลนจะลดความหนืดของน้ำอสุจิ และเพิ่มการเคลื่อนที่และการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของตัวอสุจิ โดยที่ไม่มีผลเสียต่อการทำงานของอสุจิและความสมบูรณ์ของดีเอ็นเอ รู้อย่างนี้แล้วจะได้บำรุงกันให้ตรงจุดนะคะคู่ไหนที่กำลังประสบปัญหาท้องยากจากน้ำเชื้อหนืด เป็นก้อนวุ้น แนะนำให้คุณพ่อปรับพฤติกรรม งดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้คุณภาพอสุจิลดลง เช่น ทานน้ำให้มาก งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน


รวมถึงปรับหลักโภชนาการเน้นทานอาหารที่มีไขมันน้อย ทานกรดไขมันดี ทานโปรตีนจากพืช รวมถึงทานวิตามิน Motila 1 วันละ 1 เม็ด เพื่อลดความหนืดของน้ำเชื้อ เพิ่มอัตราการเคลื่อนที่ เพิ่มคุณภาพน้ำเชื้อ เพิ่มโอกาสการเป็นพ่อในอนาคตค่ะ

ดู 55 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page