
ตัวอ่อนไม่ฝังตัว! เพราะผนังมดลูกบาง
บำรุงอย่างไร?...ให้ผนังพร้อมฝังตัว
ปัญหาผนังมดลูกบางถือเป็นปัญหาที่สำคัญและพบได้บ่อยปัญหาหนึ่งของผู้ที่มีบุตรยากทั้งแม่ๆที่พยายามตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ หรือ การทำเด็กหลอดแก้ว
โดยเฉพาะกรณีทำ "เด็กหลอดแก้ว" หากแม่ๆ มีผนังมดลูกบางเกินไปก็ไม่สามารถย้ายตัวอ่อนได้ หากย้ายกลับไปตัวอ่อนก็มีโอกาสฝังตัวได้น้อย โอกาสสำเร็จก็น้อยลงค่ะ
ผนังมดลูก ที่พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ไม่ควรหนาต่ำกว่า 8 มิลลิเมตร และถ้าเกิดบางกว่า 5 มิลลิเมตร โอกาสที่ตัวอ่อนจะฝังตัวก็จะยากมากๆ ความหนาของผนังมดลูกที่เหมาะสมในการฝังตัวของตัวอ่อนอยู่ที่ 8 ถึง 10 มิลลิเมตร ถ้าหนาเกินไป ก็มีปัญหาในการฝังตัวได้เช่นกัน
สรุปเกณฑ์ของมดลูกที่สมบูรณ์พร้อมรับการฝังตัว
ของตัวอ่อนต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ค่ะ
1. หนา 8-10 มิล
2. ใส ไม่ทึบ ไม่หมักหมมด้วยประจำเดือนเก่าคั่งค้าง
3. เรียงสามชั้นสวย (Triple Lines)
4. มดลูกอุ่น มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ
.
สาหตุที่ทำให้ผนังมดลูกบางนั้นครูก้อยสืบค้นข้อมูลมาฝากแม่ๆ ว่ามันเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
1. เคยได้รับการขูดมดลูกมาก่อน
เช่น เคยแท้งลูกมาก่อน แบะเป็นการแท้งที่ไม่สมบูรณ์มีกรณีของถุงตั้งครรภ์ค้างอยู่ จึงต้องมีการขูดมดลูก
2. มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกน้อยมาก
ซึ่งอาจเป็นผลทางอ้อมมาจากการที่มีเนื้องอกในมดลูกนั่นเอง เป็นตัวขัดขวางการไหลเวียนของเส้นเลือดที่จะนำเอาฮอร์โมนมาหล่อเลี้ยงที่เยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญหนาตัวได้ไม่ดีพอ
3. มีภาวะบกพร่องของระยะลูเทียล (Luteal Phase Defect)
"ระยะลูเทียล" คือ ระยะเวลาหลังการตกไข่ที่ร่างกายจะสร้างระดับ "ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน" สูงขึ้น โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะส่งผลให้มดลูกหนาขึ้น พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน
หากมีความบกพร่องของระยะนี้หมายความว่า ร่างกายแม่ๆ #มีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนน้อยเกินไป #ทำให้เยื่อบุมดลูกไม่หนาตัว ทำให้ช่วงระยะเวลาลูเทียล หรือ Luteal Phase สั้น #ส่งผลให้โอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนมีน้อยลงค่ะ
4. ฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ
ซึ่งอาจมาจากภาวะรังไข่เสื่อมหรือหยุดการทำงาน ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวได้
5. การทานยากระตุ้นรังไข่ (Ovinum) ปริมาณมากและติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกินหกเดือน อาจมีผล
ทำให้ผนังมดลูกบางได้เช่นกันในคนไข้บางราย
6. มดลูกอักเสบ ติดเชื้อ
บริเวณมดลูกจะมีเส้นเลือดฝอยอยู่เป็นจำนวนมาก มดลูกจึงต้องการเลือดไหลเวียนนำพาสารอาหารไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ หากเลือดไม่สูบฉีดไหลเวียนจะก่อให้เกิด "สภาวะมดลูกเย็น" นำไปสู่การอักเสบและติดเชื้อได้ง่าย
7. โภชนาการที่ไม่สมบูรณ์
การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอที่จะไปเสริมการสร้างผนังมดลูก การทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็นส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดี เลือดเหนียวข้น
.
บำรุงอย่างไรให้ผนังมดลูกพร้อมฝังตัว❓
ผนังมดลูก หนา แข็งแรงตามเกณฑ์สร้างได้
แม่ๆ รู้ไหม "หลักโภชนาการ" การทานอาหารที่ถูกต้องช่วยบำรุงมดลูก ทั้งการ