📣 ไขทุกข้อข้องใจ!! ฮอร์โมนเพศหญิงมีอะไรบ้าง ทำไมถึงสำคัญต่อการมีลูก
top of page
ค้นหา

📣 ไขทุกข้อข้องใจ!! ฮอร์โมนเพศหญิงมีอะไรบ้าง ทำไมถึงสำคัญต่อการมีลูก



หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าฮอร์โมนเพศหญิงอยู่บ่อยครั้ง หรืออาจพอมีความรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนเพศมาบ้าง แต่อาจไม่รู้รายละเอียดว่าฮอร์โมนเพศมีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีความสำคัญอย่างไร แล้วฮอร์โมนชนิดไหนมีผลต่อการมีลูกบ้าง วันนี้ครูก้อยจะมาอธิบายให้ทุกคนฟังกันค่ะ



.



● ฮอร์โมนเพศหญิงคืออะไร



เป็นสารเคมีที่ถูกสร้างขึ้นจากอวัยวะต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านการเจริญเติบโต, การนอนหลับพักผ่อน, การตกไข่, ประจำเดือน, ผิวพรรณ และอื่น ๆ อีกมาก ฮอร์โมนเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงวัย ยิ่งอายุเพิ่มขึ้นก็ยิ่งมีความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น แต่หากร่างกายเกิดความผิดปกติจนเกิดการหลั่งฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล (มากหรือน้อยเกินไป) อาจมีผลต่อปัญหาสุขภาพตามมาในระยะยาวได้ค่ะ



.



● ฮอร์โมนเพศหญิงมีอะไรบ้าง



.



1. ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)



เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ทั้งในส่วนการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ๆ เช่น เต้านม, สะโพก, มดลูก และอวัยวะเพศ รวมไปถึงการมีประจำเดือน, การตกขาว, การสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อรองรับการตั้งครรภ์, ภาวะหมดประจำเดือน แม้ว่าฮอร์โมนชนิดนี้โดยส่วนใหญ่จะผลิตจากรังไข่แต่ก็มีส่วนน้อยเหมือนกันที่ผลิตจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน โดยทั่วไปแล้วฮอร์โมนชนิดนี้จะมีปริมาณ 15-350 pg/mL ในช่วงวัยเจริญพันธุ์



แม้ว่าฮอร์โมนชนิดนี้จะเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงอายุ 40 - 50 ปี ซึ่งเป็นวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านของผิวพรรณที่เหี่ยวย่น แห้งกร้านง่าย, ช่องคลอดแห้ง, มีอาการร้อนวูบวาบแม้กระทั่งขณะนอนหลับ ส่งผลให้นอนหลับยากแต่ตื่นง่าย เมื่อร่างกายพักผ่อนน้อยก็จะทำให้หงุดหงิดง่ายโดยที่ไม่มีสาเหตุ แต่หากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายไม่สมดุลอาจส่งผลให้มีอาการของวัยหมดประจำเดือนมาก่อนวัยอันควรได้ด้วยค่ะ



.



2. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)



เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่หลังจากไข่ตก ทำหน้าที่ควบคุมการตกไข่และการมีประจำเดือน กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวพร้อมให้ตัวอ่อนฝังอ่อน ควบคุมการตั้งครรภ์และการทำงานของระบบพื้นฐานของร่างกายทั้งในส่วนของสรีระที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ผิวพรรณเนียนขึ้น, หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น รวมถึงส่วนของจิตใจที่มีความอ่อนไหวง่ายขึ้น



โดยทั่วไปแล้วฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังไข่ตกแล้วแต่ไม่มีการปฏิสนธิ ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมากลายเป็นประจำเดือน แต่หากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนผิดปกติในช่วงก่อนตั้งครรภ์อาจทำให้ตั้งครรภ์ยากขึ้นหรืออาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตรในหญิงตั้งครรภ์ได้ด้วยค่ะ



.



3. ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone)



เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ให้พร้อมผสมกับอสุจิ และมีส่วนช่วยในการคัดเลือกไข่ หากไข่ใบไหนตอบสนองต่อฮอร์โมน FSH ได้ดีที่สุดก็จะทำให้ไข่ใบนั้นแข็งแรง ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมตกไข่ อีกทั้งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเพศในช่วงวัยเจริญพันธุ์



โดยทั่วไปแล้วร่างกายจะผลิตฮอร์โมน FSH ไม่เกิน 10 mIU/m หากไข่มีจำนวนน้อยลง มีคุณภาพด้อยลง ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน FSH เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยไข่ที่สูญเสียไป แต่หากตรวจพบว่าร่างกายมีระดับฮอร์โมน FSH สูง นั่นอาจหมายความว่าร่างกายกำลังเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือนหรือเกิดภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยในผู้หญิงบางคนได้ด้วยค่ะ



.



4. ฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone)



หรือที่ใครหลายคนเรียกกันว่า ฮอร์โมนไข่ตก เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมองและหลั่งออกมาในช่วงก่อนการตกไข่ ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ให้ปล่อยไข่ออกมาตามรอบเดือนเพื่อรอการปฏิสนธิ โดยทั่วไปแล้วฮอร์โมน LH จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการตกไข่ประมาณ 12 - 36 ชั่วโมง แต่หากร่างกายไม่มีฮอร์โมน LH หรือมีมากเกินไปอันเนื่องมาจากภาวะ PCOS (ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง หรือถุงน้ำหลายใบในรังไข่) อาจเสี่ยงต่อภาวะไข่ไม่ตก และทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้



.



● ฮอร์โมนเพศหญิงมีผลต่อการมีลูกอย่างไร



สำหรับฮอร์โมนเพศหญิงทั้ง 4 ชนิดที่ครูก้อยได้พูดถึงไปข้างต้น ล้วนมีผลต่อการมีลูกทั้งนั้น หากร่างกายมีฮอร์โมนเหล่านี้ไม่สมดุล ก็จะส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติและเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ใครหลายคนมีลูกยากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคทางร่างกาย เช่น ช่องคลอดแห้งจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล จนทำให้สาว ๆ ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์, ประจำเดือนมาไม่ปกติจากภาวะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนผิดปกติ, ไข่ไม่เจริญเติบโตจากภาวะฮอร์โมน FSH ผิดปกติ, ไม่มีการตกไข่เพราะระดับฮอร์โมน LH ต่ำเกินไป เป็นต้น



.



● ฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุลคืออะไร



เป็นภาวะที่ฮอร์โมนเพศหญิงหลั่งออกมาน้อยหรือมากเกินปกติ ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งในด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่แย่ลง เช่น เหนื่อยง่าย เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อน ป่วยง่าย หรือแม้แต่ทางด้านจิตใจที่หงุดหงิดง่าย คิดมาก ขี้กังวล โดยทั่วไปภาวะดังกล่าวมักเกิดขึ้นเมื่อเรามีอายุมากขึ้น แต่ในปัจจุบันพบว่าอาจเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ, พักผ่อนน้อย, สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ, จัดการความเครียดได้ไม่ดีจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น



.



● ผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล



-ผมและผิวแห้งกร้านง่าย


-ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานน้อยลง ทานน้อยแต่อ้วนง่าย


-รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉงเหมือนแต่ก่อน


-หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน


-ช่องคลอดแห้ง ฝ่อตัว รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์


-ฮอร์โมนไทรอยด์ลดลง ทำให้รู้สึกหนาวง่ายกว่าช่วงวัยอื่น


-เป็นภูมิแพ้ง่าย เจ็บป่วยบ่อย


-ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือประจำเดือนหมดก่อนวัย


-นอนหลับยากแต่ตื่นง่าย


-มีภาวะกระดูกพรุน



.


● ดูแลฮอร์โมนเพศหญิงอย่างไรให้สมดุล มีลูกง่าย



แม้ว่าฮอร์โมนเพศหญิงจะดูเป็นอะไรที่ซับซ้อน แต่ในความเป็นจริงแล้วการดูแลฮอร์โมนนั้นกลับไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำสัปดาห์ละ 150 นาที, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7 - 8 ชั่วโมง, จัดการความเครียดไม่ให้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ไม่รับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือไขมันมากเกินไป ทางที่ดีหากต้องการทานไขมันก็ควรเลือกไขมันดีซึ่งเป็นไขมันคอเลสเตอรอลที่ช่วยรวบรวมไขมันไม่ดีหรือ LDL (Low-Density Lipoprotein) ที่สะสมอยู่ทั่วร่างกายหลายร้อยโมเลกุลเพื่อส่งไปให้ตับขับออกจากร่างกาย จึงช่วยลดโอกาสเกิดโรคเรื้อรังที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ทำให้ตั้งครรภ์ยากขึ้น



ทั้งนี้ครูก้อยขอแนะนำ Ferti 9 Oil By KruKoy เฟอร์ติ ไนน์ ออยล์ บาย ครูก้อย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันดีทั้ง 9 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันอะโวคาโด, น้ำมันมะกอก, น้ำมันสาหร่ายทะเล และอื่น ๆ อีกมากที่ช่วยบำรุงเยื่อบุโพรงมดลูก, เพิ่มคุณภาพเซลล์ไข่และกระตุ้นการตกไข่, ปรับสมดุลและเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง อีกทั้งลดและต้านการอักเสบของร่างกาย จึงช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น เหมาะสำหรับคุณแม่และคุณพ่อที่มีปัญหามีบุตรยาก, อยู่ในช่วงเตรียมมีลูกทั้งแบบธรรมชาติหรือผู้ที่เตรียมเข้าสู่กระบวนการ IUI, IVF, ICSI (เด็กหลอดแก้ว) รวมถึงผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพโดยรวมอีกด้วยค่ะ


ดู 26 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page