เมื่อตรวจพบว่าตั้งครรภ์ ไม่ได้การันตีว่าสำเร็จ 6 ข้อต้อง follow เมื่อรู้ว่าท้อง
top of page
ค้นหา

เมื่อตรวจพบว่าตั้งครรภ์ ไม่ได้การันตีว่าสำเร็จ 6 ข้อต้อง follow เมื่อรู้ว่าท้อง




เมื่อตรวจพบว่าตั้งครรภ์ ไม่ได้การันตีว่าสำเร็จ 6 ข้อต้อง follow เมื่อรู้ว่าท้อง


เมนส์ขาด ตรวจเจอ 2 ขีดแล้ว เป็นเรื่องที่ดีใจที่สุดเลยใช่มั้ยค่ะแม่ๆ อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจพบการตั้งครรภ์ไม่ได้การันตีว่าจะสมบูรณ์ไปตลอดรอดฝั่ง


วันนี้ครูก้อยรวบรวบ 6 ข้อที่ต้องติดตาม หลังจากรู้ว่าท้องมาฝากแม่ๆค่ะ เราจะได้ไปพบแพทย์ให้ถูกช่วงเวลา และดูแลครรภ์นั้นให้เป็นครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุดนะคะ



1. เทสเจอ 2 ขีดยังไม่ชัวร์!?


ชุดทดสอบการตั้งครรภ์จะตรวจหาฮอร์โมนจากปัสสาวะที่เรียกว่า ฮอร์โมนฮิวแมน คอริโอนิก โกนาโดโทรฟิน (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ฮอร์โมนเอชซีจี"


โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกสร้างจากรกของตัวอ่อนหลังจากมีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ และฝังตัวที่ผนังมดลูกขึ้นประมาณ 6 วัน ทั้งนี้ปริมาณฮอร์โมนจะเพิ่ม


มากขึ้นเป็น 2 เท่าทุก 2-3 วัน จึงทำให้สามารถตรวจการตั้งครรภ์ในช่วงแรกได้จากน้ำปัสสาวะ


👉การอ่านผลจากชุดทดสอบการตั้งครรภ์


การแปลผลชุดทดสอบการตั้งครรภ์ดูได้จากช่องบนแท่งตรวจว่าผลตรวจเป็นบวก (Positive) หรือผลลบ (Negative)


หากผลตรวจขึ้น 2 ขีด แปลผลได้ว่า ผลเป็นบวก น่าจะมีการตั้งครรภ์ แต่ไม่เสมอไปในทุกกรณี บางครั้งอาจเป็นผลบวกลวง (False Positive) คือ ผลตรวจขึ้น 2 ขีด แต่ไม่มีการตั้งครรภ์ เนื่องจากน้ำปัสสาวะมีการอักเสบ มีเลือด หรือมีโปรตีน (หรือเรียกว่าไข่ขาวในน้ำปัสสาวะ) หรือเกิดจากการรับประทานยาบางชนิด


ผลตรวจขึ้น 1 ขีด แปลผลได้ว่า ผลเป็นลบ ไม่น่าจะมีการตั้งครรภ์ แต่ก็ยังสามารถเป็นผลลบลวง (False Negative) คือ สามารถตั้งครรภ์ได้แม้ตรวจออกมาเป็นลบ โดยอาจมีสาเหตุคล้ายกับผลบวกลวง รวมไปถึงน้ำปัสสาวะที่มีความเจือจาง ชุดทดสอบเสื่อมคุณภาพ หรือแม้แต่ช่วงเวลาการตรวจที่เร็วเกินไป


👉ควรตรวจการตั้งครรภ์วันไหนชัวร์ที่สุด?




(1) กรณีท้องธรรมชาติ


อันดับแรกแม่ๆ ต้องจดวันที่ประจำเดือนมาทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งปัจจุบันมี App คอยช่วยนับรอบเดือน นับวันไข่ตกก็ยิ่งจำง่ายไปอีก ดังนั้นเมื่อทำการบ้านกันแล้วถึงวันที่ประจำเดือนควรมาแต่...ไม่มา อ๊ะๆ อย่าเพิ่งรีบตรวจค่ะ


👉 ควรตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์กันในวันไข่ตก

14 วันเพราะฮอร์โมน hcg เริ่มจะชัดเจนแล้วค่ะ แต่ถ้าแต่ถ้าอยากให้ชัวร์สุดๆ ให้ไปพบแพทย์และตรวจด้วยวิธีการเจาะเลือดเพื่อหาระดับ hcg ค่ะ


#Tip หากตรวจแล้วขึ้นสองขีดจางๆ ควรตรวจซ้ำอีกครั้งใน 7 วันถัดไป



(2) กรณีทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI)


การทำ ICSI หรือเด็กหลอดแก้วเป็นการปฏิสนธิภายนอกจนได้เป็นตัวอ่อน แล้วย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก กรณีนี้ฮอร์โมน hcg จะเพิ่มขึ้นมากหรือ


น้อยขึ้นอยู่กับว่าใส่ตัวอ่อนระยะใด โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ


✅ปัจจุบันเคสทั่วไปถ้าใส่ตัวอ่อนระยะ

บลาสโตซิสต์ คือ ตัวอ่อนระยะ Day 5

เร็วสุดภายใน 7 วันก็สามารถตรวจได้ค่ะ


👉แนะนำให้ตรวจหลังใส่ตัวอ่อนไปแล้ว 10 วัน


✅สำหรับตัวอ่อน Day 3 คือตัวอ่อนที่มีอายุน้อยกว่า วันที่จะเช็คตั้งครรภ์ได้ก็จะบวกเพิ่มไปอีกค่ะ ในกรณีนี้ควรตรวจการตั้งครรภ์หลังจากใส่ตัวอ่อนแล้ว 12-14 วันค่ะ


#Tip กรณี ICSI นั้น เพื่อลดความเครียดซึ่งจะส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน แม่ๆ ควรไปพบแพทย์ตามนัดและให้แพทย์เจาะเลือดเพื่อวัดระดับ hcg จะดีกว่าค่ะเพื่อความชัวร์ไปเลยค่า


.


2. เจาะเลือดเช็คฮอร์โมน hcg ต้องได้ต่าตามเกณฑ์


วิธีนี้เป็นการตรวจที่ได้ผลแม่นยำที่สุด สามารถตรวจ


พบการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังจากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ในขณะที่บางครั้งการตรวจจากปัสสาวะยังไม่ขึ้นผล แต่ตรวจเลือดก็ได้ผลว่า พบฮอร์โมนการตั้งครรภ์แล้ว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจให้รู้แน่ชัดโดยไว เช่น ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก หรือมีประวัติแท้งบุตร ต้องการข้อมูลเพื่อวางแผนการดูแล ให้ฮอร์โมนเสริมต่างๆ เพื่อป้องกันการแท้งบุตร


สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะต้องมีค่า hcg มากกว่า 25 mlU/ml. ถ้าหากอ่านค่าได้ต่ำกว่า 5 mlU/ml. ผลการตั้งครรภ์จะเป็นลบ วิธีนี้เป็นการวัดค่าความเข้มข้นของฮอร์โมน hcg ตามหน่วยวัดมาตรฐานสากลต่อเลือด 1 มิลลิลิตรของคุณแม่ค่ะ


ค่า hcg ไม่คงที่เสมอไป ค่าเฉลี่ยของระดับฮอร์โมน hcg ขึ้นอยู่กับปัจจัยของคุณแม่และทารกแต่ละคน การเปลี่ยนแปลงและความเข้มข้นของฮอร์โมน hcg ในแต่ละระยะและอายุของการตั้งครรภ์จึงมีความแตกต่างกัน แม่บางคนมีค่าฮอร์โมนที่ต่ำมาก แต่การคลอดทารกกลับเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และทารกมีร่างกายที่แข็งแรง สำหรับแม่บางคนที่มีค่าฮอร์โมนสูงมากๆ อาจเป็นข้อสันนิษฐานให้แพทย์ว่า คุณแม่อาจตั้งครรภ์แฝดสองหรือแฝดสามค่ะ แต่ในความจริงแล้วแม่อาจจะอุ้มท้องลูกแค่คนเดียวก็ได้ค่ะ



ดังนั้นถ้าจะให้ชัวร์ว่าท้องแน่ ท้องกี่คน แฝดหรือไม่ต้องอัลตร้าซาวด์ค่ะ


.


3. อัลตร้าซาวด์เจอถุงตั้งครรภ์ต้องติดตามว่าไปต่อหรือไม่


ปกติหมอจะนัดมาอัลตร้าซาวด์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ได้ 6 - 8 สัปดาห์ ไม่อัลตร้าซาวด์เร็วกว่านั้นค่ะ เพราะอายุครรภ์ยังอ่อนมาก ยังไม่เห็นอะไรค่ะ


เอาล่ะ เรามาศึกษากันนะคะจะได้เตรียมตัว เตรียมใจให้พร้อม ในการไปอัลตร้าซาวด์ครั้งแรกสิ่งที่ควร้เห็นคืออะไรบ้าง จึงจะบ่งบอกว่าเบบี๋สมบูรณ์ปลอดภัยดี น้องมาจริงๆแล้วน้า


ในสัปดาห์ที่ 6 จะอัลตร้าซาวด์ผ่านช่องคลอดนะคะ ต้องเจอ 4 ข้อ ดังนี้ค่ะ


(1) ถุงตั้งครรภ์


ถุงตั้งครรภ์คือที่อยู่ของเบบี๋น้อย เราจะเห็นถุงตั้งครรภ์ในมดลูก หากไม่ได้อยู่ในมดลูก อาจเป็นการท้องนอกมดลูก ซึ่งต้องรักษาต่อไป ถุงตั้งครรภ์จะบอกจำนวนเบบี๋ในท้องเรานะคะ และชัวร์ว่าเราท้องแล้วน้าาา มีถุงตั้งครรภ์แล้ว หากมีมากกว่า 1 ถุงก็เป็นการตั้งครรภ์แฝด หรือ มีถุงเดียวแต่มีตัวอ่อนข้างใน 2 ตัวก็เป็นแฝดแท้



(2) ตัวอ่อน


เห็นถุงตั้งครรภ์ลำดับแรกเพราะมันขนาดใหญ่ที่สุดค่ะ ในอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ถุงตั้งครรภ์จะมีขนาดประมาณ 2-3 ซม. แต่ที่สำคัญในถุงตั้งครรภ์นั้นต้องมีตัวอ่อนค่ะ! หากไม่มีอยู่อาจเป็นท้องลม! อัลตร้าซาวด์ครั้งแรกตัวอ่อนยังเป็นจุดเล็กๆ แค่ประมาณ 6 มิล ตัวกระจิ๊ดเดียวค่ะ



(3) ถุงไข่แดง


ตัวอ่อนเค้ามาพร้อมถุงไข่แดงของเค้าน้า เป็นถุง


อาหารหรือปิ่นโตที่ติดตัวมาเป็นอาหารให้ตัวอ่อนในช่วง 1-3 เดือนแรก ดังนั้นถึงแม่ๆจะแพ้ท้อง ทานอะไรไม่ได้ก็ไม่ต้องกังวล ช่วงสามเดือนแรกเค้าทานอาหารจากปิ่นโตเค้าค่ะ ยังไม่ทานผ่านจากรก ซึ่งแม่ๆ ที่บำรุงมาดีก่อนตั้งครรภ์ก็จะสร้างถุงไข่แดงที่สมบูรณ์ให้เจ้าตัวอ่อนค่ะ


ผ่านสามเดือนไป รกพัฒนาสมบูรณ์แล้ว เบบี๋ก็จะทานผ่านจากรกค่ะ คราวนี้แหละเรากินอะไร ลูกได้กินอย่างนั้นเลยค่ะ



(4) สัญญาณชีพ หัวใจเต้น


เจอตัวอ่อนแล้วต้องพบสัญญาณชีพด้วยนะคะ ตัวอ่อน 6 สัปดาห์ที่สมบูรณ์จะมีหัวใจและหัวใจเต้นตุบๆๆๆแล้วค่ะ เห็นได้ชัดเจนเลยจากจออัลตร้าซาวด์ ได้ยินเสียงหัวใจครั้งแรกเป็นความรู้สึกที่วิเศษมาก อีกหนึ่งชีวิตอยู่กับเรา รู้สึกรักหมดหัวใจแม้ไม่เห็นหน้า


อย่างไรก็ตามถึงแม้จะพบทั้งหมดนี้ในการอัลตร้า


ซาวด์ครั้งแรก แต่ในช่วงอายุครรภ์ 1-12 สัปดาห์นี้นั้นเป็นช่วงที่ต้องระมัดระวังและติดตามเป็นพิเศษ เพราะการแท้งบุตรจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ค่ะ


.



4. Follow up ตามหมอนัด ผ่านพ้นไตรมาสแรก


ไตรมาสแรกสำคัญที่สุดค่ะ เพราะทารกน้อยกำลังปรับตัว ฮอรโมนกำลังปรับตามเช่นกันและในช่วงนี้ก็จะเป็นการคัดเลือกตามธรรมชาติ หากตัวอ่อนมีความผิดปกติทางโครโมโซมก็จะเกิดการไม่พัฒนาต่อและแท้งไปได้


การแท้งถือเป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 10-15% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยการแท้งนั้นอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 28 สัปดาห์ แต่การแท้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 4-20 สัปดาห์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์)



การแท้งนั้น ในทางการแพทย์ถือว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน ดังนั้นชาวงไตรมาสแรกจึงต้องมีการ follow up อย่างไกล้ชิดค่ะ


.


5. เจาะเลือดเช็คความผิดปกติของโครโมโซมทารก (NIPT)


เมื่ออัลตร้าซาวด์เจอถุงตั้งครรภ์ เจอสัญญาณชีพแล้ว ไม่ได้หมายความว่าทารกมีโครโมโซมปกติ ก่อนผ่านพ้นไตรมาสแรก แม่ที่มีข้อบ่งชี้คืออายุ 35 ปี ขึ้นไปควรตรวจเลือดเพื่อเช็คความผิดปกติทางโครโมโซมของทารกค่ะ ปัจจุบันถึงแม้อายุไม่ถึง 35 ก็ควรตรวจค่ะ เพราะความผิดปกติทางพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ


ซึ่งเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ และไม่ควรปล่อยไว้นานเกินกว่าไตรมาสแรก เพราะหากพบความผิดปกติจะได้มำการรักษาต่อไปหรือยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อแม่ค่ะ



การตรวจNIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) คือการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดา โดยการเจาะเลือดแม่ซึ่งจะมีเซลล์ของลูกน้อยปนอยู่ สามารถคัดกรองความเสี่ยงของทารกในครรภ์ที่จะเกิดกลุ่มอาการดาวน์ หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมอื่นๆ ได้ โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์


การทดสอบ NIPT นี้เป็นการตรวจคัดกรองที่ใช้ตัวอย่างเลือดมารดาเพียงเล็กน้อย การทดสอบนี้ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ ระยะรอผลการทดสอบเพียง 5-14 วัน


การตรวจ NIPT สามารถประเมินความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีความผิดปกติของกลุ่มอาการดาวน์ (มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง หรือ Trisomy 21) กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (มีโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง หรือ Trisomy 18) และกลุ่มอาการพาทัว (มีโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง หรือ Trisomy 13) กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดและกลุ่มอาการพาทัว พบได้น้อยกว่ากลุ่มอาการดาวน์ แต่มีความรุนแรงและทารกมีโอกาสเสียชีวิตสูง



การตรวจ NIPT #ให้ผลการตรวจที่มีความถูกต้องถึง 99% นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเพศของทารกในครรภ์ได้อีกด้วยค่ะ



.


6. ติดตามไตรมาส 2 ลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นก่อนคลอด


ผ่านไตรมาสแรกมาแล้วก็ต้องดูแลกันอย่างต่อเนื่องนะคะ ต้องไปพบหมอตามนัด จะได้เห็นพัฒนาการของลูกน้อยและรคัดกรองสำหรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเป็นประจำ และทุกๆ ครั้งก็จะได้มีการตรวจคัดกรองความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย


คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทั้งน้ำหนัก ขนาดหน้าท้อง ความดันเลือด และตรวจปัสสาวะ โดยปกติจะตรวจทุก 4 สัปดาห์หรือตลอดช่วงไตรมาสที่ 2


ดูแลเรื่องโภชนาการ อาหารการกินเป็นพิเศษ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่าให้อ้วนเกินไป คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 10-12 กิโลกรัม ถ้ามากกว่านั้นอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น เป็นเบาหวาน หรือความดันสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กในท้องค่ะ


ออกกำลังกายได้ตามแพทย์แนะนำ และที่สำคัญพักผ่อนให้เพียงพอนะคะ


.

.


ท้องแล้ว ไปพบแพทย์ตามนัด ดูแลตัวเองให้ดีที่สุดทั้งเรื่องอาหาร การพักผ่อนและห้ามเครียดนะคะ แม่ๆ ก็จะมีครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงค่ะ


ดู 5,017 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page