📣อายุยังไม่ถึงวัย แต่ทำไมรังไข่เสื่อม แชร์ด่วน!! 6 วิธีดูแลรังไข่ ปรับสมดุลฮอร์โมน เพิ่มโอกาสท้อง
top of page
ค้นหา

📣อายุยังไม่ถึงวัย แต่ทำไมรังไข่เสื่อม แชร์ด่วน!! 6 วิธีดูแลรังไข่ ปรับสมดุลฮอร์โมน เพิ่มโอกาสท้อง


รังไข่เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่มีความสำคัญมากต่อการตั้งครรภ์และในเรื่องระบบฮอร์โมนของเพศหญิงโดยทั่วไป ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติของการทำงานของรังไข่ก็จะส่งผลต่อการมีบุตรยากค่ะ



รังไข่มีหน้าที่อะไร?



รังไข่ คือ อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดประมาณ 2-3 ซ.ม. โดยมีตำแหน่งอยู่ข้างปีกมดลูกทั้งสองข้าง โดยรังไข่จะมีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ



1. การผลิตเซลล์ไข่ โดยปกติผู้หญิงจะเกิดมาพร้อมเซลล์ไข่เป็นล้านๆเซลล์แต่รังไข่จะทำหน้าที่ผลิตไข่สุกและตกออกมาเดือนละ 1 ใบ ในทุกรอบเดือน (ของหญิงที่มีรอบเดือนปกติ) ซึ่งรังไข่นั้นมี 2 ข้าง จะทำงานสลับกันไป ดังนั้นคนที่มีรังไข่ข้างเดียวก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติ



2. การผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ทำหน้าที่ควบคุมกอันได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มีหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง เช่น การตกไข่ การมีประจำเดือน สะโพกผาย เสียงแหลม และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำหน้าที่กระตุ้นมดลูกให้เตรียมรับการฝังตัวของตัวอ่อน เมื่อมีการตกไข่ หรือ ปฏิสนธิ



●วัยทองก่อนวัย...รังไข่เสื่อมก่อนเวลาอันควร



ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หลายคนคิดว่าไม่นะ คงไม่ใช่ฉัน ฉันยังสาว ไม่ได้อายุ 40 อัพ จะเข้าสู่วัยทองได้ไง! ขอบอกว่ารู้หน้า ไม่รู้รังไข่ค่า



เราจะรู้ประสิทธิภาพรังไข่ได้ต้องไปตรวจฮอร์โมน FSH ที่ใช้ประเมินสิทธิภาพของรังไข่ค่ะ ค่ายิ่งสูงยิ่งเสี่ยงวัยทองก่อนวัย และจะมีค่าฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estradiol) ต่ำ



ผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย รังไข่จะไม่ตอบสนองต่อการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่



เป็นฮอร์โมนควบคุมให้รังไข่ทำงาน ผู้หญิงเหล่านี้จะมีอาการต่างๆเหมือนสตรีในวัยหมดประจำเดือน



อาการที่พบบ่อยของรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ได้แก่ ประจำเดือนมาผิดปกติเป็นสิ่งบอกเหตุแรกๆ คือ ประจำเดือนที่เคยมาปกติจะเริ่มห่างออกเรื่อยๆ ปริมาณประจำเดือนจะลดลงจนในที่สุดจะไม่มีประจำเดือนมาอีก



มีอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนเช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว นอนไม่หลับ หงุดหงิด โมโหง่าย ช่องคลอดแห้ง เจ็บแสบช่องคลอดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์



●สาเหตุของวัยทองก่อนวัย?



พฤติกรรมทำลายสมดุลฮอร์โมน


ทานอาหารไร้ประโยชน์ ไขมันสูง ติดหวาน เน้นแป้ง ไม่กินผัก โปรตีนไม่เพียงพอ


ความเครียด พักผ่อนไม่พอ กระตุ้นการอักเสบในร่างกาย ฮอร์โมนผิดเพี้ยน


ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล


อาจเกิดในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกซึ่งอาจมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงรังไข่ไม่ดีพอจึงทำให้รังไข่เสียการทำงาน เช่น ผู้ป่วยโรคเนื้องอกมดลูก สตรีที่ได้รับยาเคมีบำบัดเช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง



สตรีที่ได้รับการฉายแสง/รังสีรักษาจากที่เป็นโรคมะเร็งของอวัยวะที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน เช่น มะเร็งปากมดลูก



.



● 6 วิธีดูแลร่างกายอย่างไรให้ฮอร์โมนสมดุล ชะลอรังไข่เสื่อมก่อนวัย



1. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด



การนอนน้อยส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม เมื่อเครียดฮอร์โมนความเครียด หรือ ที่เรียกว่า "คอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมามากเกินไป และมันก็จะไปรบกสนการทำงานของฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเพศผิดเพี้ยน แปรปรวน



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย สมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอติซอล เป็นสมองส่วนที่กระขตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และ ฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับด้วย



โดยในผู้หญิงนั้น การนอนไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อการสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ มีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเองค่ะ



ส่วนในผู้ชายนั้น มีงานวิจัยของ Boston University School of Public Health เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าการนอนที่เพียงพอนั้นควรนอนหลับ 7-8 ชม.ต่อวัน ผู้ชายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม.หรือ นอนมากกว่า 9 ชม.ต่อวัน ส่งผลต่อโอกาสในการทำให้คู่ของตนเองตั้งครรภ์ลดลง 42% ในแต่ละรอบเดือนดังนั้นคู่ไหนอยากมีลูกต้องชวนกันนอนพักผ่อนให้เพียงพอนะคะ



.



2. ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก



น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดเพี้ยน ทำให้รังไข่ทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ไข่ไม่ตกได้ค่ะ



สำหรับเคสที่อ้วน หรือ น้ำหนักเกิน มีข้อมูลทางการแพทย์เปิดเผยว่าคนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่และการมีประจำเดือน #ทำให้ท้องยากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ ถึง 2 เท่า



อ้วนไป คือ แค่ไหน วัดอย่างไร?



ความอ้วนสามารถวัดได้ตามหลักของการวัดค่าดรรชนีมวลกายดังนี้



วิธีการหาค่าดัชนีความหนาของร่างกาย หรือที่เราเรียกว่า "ดัชนีมวลกาย" หรือ "บีเอ็มไอ" (BMI - Body Mass Index) มีสูตรคือ



"BMI = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม / ส่วนสูงเป็นเมตร x ส่วนสูงเป็นเมตร"



ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 58 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 169 เซนติเมตร ต้องนำส่วนสูงมาคิดเป็นเมตรก่อน คือ 169 เซนติเมตร จะเท่ากับ 1.69 เมตร แล้วนำมาคูณด้วยส่วนสูงที่คิดเป็นเมตรอีกครั้ง คือ 1.69 x 1.69 = 2.856 จากนั้นให้เอาน้ำหนักคือ 58 กิโลกรัม เป็นตัวตั้ง แล้วจึงหารด้วยค่าส่วนสูงที่คำนวณได้คือ 2.856 ก็จะได้ค่า BMI เท่ากับ 20.308



ซึ่งผู้ที่มีค่า BMI อยู่ในระหว่าง 18.5-24.9 (มาตรฐานสากล) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ



ถ้าน้อยกว่า 18.5 ก็ถือว่าผอมไป


ถ้ามากกว่า 24.9 คือมีค่า 25.0 ขึ้นไปก็จะถือว่าอ้วน


แต่สำหรับมาตรฐานคนเอเชียแล้วเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ 18.5-22.9



ความอ้วนทำให้ท้องยากได้อย่างไร?



ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงอาจเกิดความผิดปกติ



ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่


ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริดกะปรอย


ประจำเดือนขาดหายไป



กรณีที่ผอมไปล่ะ?



สังเกตุมั้ยคะ คนที่ผอมไป ลีนเกินไป หรือนักกีฬา เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่ำเกินไปจะท้องยาก เคยได้ยินไหมที่เรียกว่า "รังไข่นักกีฬา" ผู้หญิงกลุ่มนี้จะท้องยากค่ะ เพราะมีกล้ามเนื้อมากกว่าไขมัน ซึ่งไขมันเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศค่ะ (แต่เน้นไขมันดีนะ ไม่ใช่พวกทรานส์แฟท หรือ คอเลสเตอรอลที่สูงเกินไป) นายแพทย์ Robert จาก Corado for Reproductive Medicine เผยว่า ผู้หญิงที่สุขภาพดีและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่าหากมีค่า body fat ไม่ควรต่ำกว่า 17-19% หรือควรมี body fat อย่างน้อย 22% อันนี้คือดูที่ body fat นะคะ ไม่ใช่ค่า BMI บางครั้งเราดูที่ค่า BMI โอเค แต่ body fat สูงหรือ ต่ำไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพค่ะ



.



3. ทานอาหารบำรุงรังไข่



หัวใจหลักในการรับประทานอาหารเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฮอร์โมนสมดุล ระบบทุกอย่างในร่างกายจะทำงานได้อย่างเป็นปกติ รวมถึงระบบสืบพันธุ์และการทำงานของรังไข่ โดยให้ยึดหลักการรับประทานอาหาร ดังนี้



(1) เน้นโปรตีนจากพืชที่ไม่มีฮอร์โมนตกค้างซึ่งพบในเนื้อแดงและเนื้อติดมัน ส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดเพี้ยน



(2) ทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ลดพวกคาร์บขัดสี เช่น ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งจากขนมเบเกอรี่ แต่ให้เน้นทานคาร์บไม่ขัดสี ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ เช่น งาดำ ลูกเดือย แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง ควินัว ข้าวกล้อง ถั่วต่างๆเป็นต้น เพราะเมื่อคาร์บถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล คาร์บเชิงซ้อนจะใช้กระบวนการย่อยช้าๆ ไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดเฉียบพลัน ไม่ไปกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ลดการอักเสบ



(3) เน้นทานผักผลไม้หลากสีและหลากหลายเพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน ลดผลไม้รสหวานจัด ในผักผลไม้ยังมีพฤกษเคมีที่แตกต่างกันออกไป ให้



ประโยชน์ที่ต่างกัน เช่น ผักผลไม้สีส้ม แดง มีเบต้าแคโรทีน และไลโคปีนซึ่งให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง ผักใบเขียวมีคลอโรฟิลล์สูง โดยเฉพาะพวกผัก Superfoid ได้แก่ วีทกราส และ สาหร่ายสไปรูลิน่า ช่วยดีท็อกซ์ระบบเลือด เลือดไม่เหนียวข้น ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงรังไข่ได้ดีขึ้น



(4) ทานกรดไขมันดี โอเมก้า 3 เพราะ โอเมก้า 3 ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงระบบสืบพันธุ์และรังไข่ได้ดีขึ้น เน้นทาน อัลมอนด์ แฟล็กซีดที่ให้โอเมก้า 3 สูง และยังให้ "ลิกแนน" ที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและมี "ไฟโตเอสโตรเจน" ซึ่งเป็นสารจากพืชที่ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง ซึ่งจะช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนของเพศหญิง ส่งผลต่อวงจรการตกไข่เป็นปกติ และยังช่วยลดการอักเสบในร่างกายทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ทำงานได้เป็นปกติ หรือทาน งาดำ และ เมล็ดฟักทองที่ให้กรดไขมันดี และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลอีกด้วย



(5) ทานอาหารบำรุงเลือด เพิ่ม blood flow


เลือดที่ไหลเวียนดี มีออกซิเจนนำพาสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายรวมไปถึงระบบสืบพันธุ์และรังไข่ได้อย่างเพียงพอ ช่วยให้รังไข่ทำงานได้เป็นปกติ ฮอร์โมนเพศหญิงสมดุล



น้ำมะกรูด มี "ไบโอฟลาโวนอยด์" สูง ช่วยให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนดีมาก มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า "เควอซิทีน" สูง



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research ปี 2020 ศึกษาพบว่า "เควอซิทีน" ช่วยลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย



และช่วยเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และ เอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญในการสืบพันธุ์ รอบเดือน และการตั้งครรภ์



.



4. งดหวาน



น้ำตาลคือตัวร้ายทำลายเซลล์ ทำให้เกิดการอักเสบ เพิ่มอนุมูลอิสระให้กับร่างกาย งดหวานไปเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้กล่อง นมเปรี้ยว ขนมหวาน ชาเย็น ชานมไข่มุก! เมื่อร่างกายได้รับ



น้ำตาลเหล่านี้เข้าไปจะส่งผลต่อระดับกลูโคสในเลือดสูงเฉียบพลัน เหนี่ยวนำการหลั่งอินซูลิน อาจ้กืดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายอักเสบ ส่งผลต่อโรคอ้วน เบาหวาน ฮอร์โมนไม่สมดุล รังไข่เสื่อม เกิดภาวะ PCOS (ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง)



.



5. เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์



Antioxidant หรือ สารต้านอนุมูลอิสระจำเป็นมากต่อระบบต่างๆของร่างกาย ซึ่งเจ้าอนุมูลอิสระนี้มันเกิดขึ้นได้ภายในร่างกายทุกวันจากระบบเผาผลาญตามปกติ หรือ การได้รับจากภายนอก เช่น รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ กินหวาน ติดของมันของทอด เครียด ไม่ออกกำลังกาย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่



ในระบบสืบพันธุ์อนุมูลอิสระตัวร้ายจะทำลายเซลล์ ทำลายเนื้อเยื่อของรังไข่ มดลูก ก่อให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบสืบพันธุ์ รังไข่เสื่อม ไข่ด้อยคุณภาพ ดังนั้นการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่เพียงพอจะช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลายและยังช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายด้วยค่ะ



น้ำมะกรูด มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ทั้งวิตามิน C สด ไบโอฟลาโวนอยด์ และ เควอซิทีน ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรดื่มทุกวันเพื่อบำรุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี เสริมสารต้านอนุมูลอิสระปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเสื่อมถอย



.



6. ทานวิตามินปรับสมดุลฮอร์โมน



ทานวิตามินเสริม ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำลง เพราะร่างกายผู้หญิงเสื่อมเร็วกว่าผู้ชาย ต้องมีตัวช่วยดีๆ เป็นวิตามินปรับสมดุลฮอร์โมนที่ปลอดภัย



โดยต้องเลือกทานวิตามินที่ให้ฮอร์โมนเสริมจากสารสกัดจากธรรมชาติที่ปลอดภัย เช่น ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง โสม สารสกัดจากทับทิม เปลือกสนฝรั่งเศส ลูกยอ เมล่อน เป็นต้น เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อฮอร์โมนกลับมาสมดุล การทำงานของระบบสืบพันธุ์ก็กลับมาเป็นปกติ ระบบภายในก็จะกลับมาฟิตอีกครั้งค่ะ #คืนความสาวทั้งระบบ



.


.



ดังนั้นไม่อยากให้รังไข่เสื่อมก่อนวัย แม่ๆ ต้องหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องหันมาออกกำลังกายควบคุมน้ำหนัก พักผ่อนให้เพียงพอและปรับการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามผ่อนคลายจัดการกับความเครียด และทานวิตามินเสริมฮอร์โมนเพศหญิง เพื่อปรับฮอร์โมนให้กลับมาสมดุล การทำงานของระบบสืบพันธุ์ก็จะกลับมาเป็นปกติก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วยค่ะ



อย่างไรก็ตาม หากมีปัญหาเรื่องรังไข่เสื่อม แม่ๆ ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาหตุอย่างละเอียดค่ะ เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติของมดลูก เนื้องอกมดลูก ซีสต์รังไข่ หรือ โรคภายในสตรีเพื่อจะได้ให้แพทย์ตรวจวินินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ

ดู 10 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page