📣 อายุน้อยแต่ประจำเดือนไม่มา ส่งผลให้ท้องยาก อาจเกิดจาก “ภาวะรังไข่รังเสื่อม”
top of page
ค้นหา

📣 อายุน้อยแต่ประจำเดือนไม่มา ส่งผลให้ท้องยาก อาจเกิดจาก “ภาวะรังไข่รังเสื่อม”



รังไข่เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงที่มีความสำคัญมาก รังไข่มีหน้าที่สำคัญในการ "สร้างฮอร์โมนเพศ" ส่งผลต่อรอบเดือน การตกไข่ และการตั้งครรภ์...หากรังไข่เสื่อม ปัญหาในการตั้งครรภ์ย่อมเกิดขึ้นแน่นอนค่ะ



.



วันนี้ครูก้อยสืบค้นเรื่อง ภาวะ POI มาฝาก ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ



.



Primary Ovarian Insufficiency (POI) หรือภาวะรังไข่ทำงานไม่เต็มที่ รังไข่ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพก่อนวัยอันควร!



ผู้หญิงในภาวะนี้ ไม่ได้มีรังไข่หยุดทำงาน แต่หมายถึง การที่รัง "ไข่ทำงานผิดปกติไปจากเดิม" โดยมี การทำงานของรังไข่เปลี่ยนแปลงและคาดเดาไม่ได้ ซึ่งอาจเกิดเพียงชั่วคราวและยัง สามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ถึง 5-10%



.



Primary Ovarian Insufficiency (POI) มีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย ดังนี้



-ประจำเดือนขาด อย่างน้อย 4 เดือน



-มีระดับฮอร์โมน FSH มากกว่า 40 IU/L (ตรวจ 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน)



ซึ่งฮอร์โใน FSH เป็นฮอร์โมนที่บอกถึงประสิมธิภาพการทำงานของรังไข่ ยิ่งมีค่าสูงเท่าไหร่ ยิ่งบอกถึงความเสื่อมของรังไข่มากขึ้นเท่านั้น



โดยค่า FSH ปกติ ไม่ควรต่ำกว่า 3 และไม่ควรเกิน 10 ถ้าสูงเกินไปแสดงว่ารังไข่เริ่มเสื่อม ถ้า FSH สูงกว่า 40 และประกอบกับค่าฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estradiol) ต่ำกว่า 5 แสดงว่ารังไข่เสื่อมแล้วค่ะ



-อายุน้อยกว่า 40 ปี



การที่ใช้อายุ 40 ปีนั้น มาจากการเกิดขึ้นโดยทั่วไปของภาวะ Ovarian Insufficiency โดยผู้หญิงทั่วไป จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนที่อายุเฉลี่ย 51 ปี (40-60 ปี)



อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Primary ovarian insufficiency คือ การที่รังไข่ทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยอาจมีไข่ตกได้ครั้งคราวถึง 50%



ดังนั้น อาจวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ป่วยรายที่อายุน้อยกว่า 40 ปี ที่มี FSH > 40 IU/L โดยที่ไม่จำเป็นต้องประจำเดือนขาดเกิน 4 เดือนก็ได้ (อาจมีแค่ประวัติประจำเดือนที่ผิดปกติเท่านั้น)



.



สาเหตุของภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย ?



- พฤติกรรมทำลายสมดุลฮอร์โมน


- ทานอาหารไร้ประโยชน์ ไขมันสูง ติดหวาน เน้นแป้ง ไม่กินผัก โปรตีนไม่เพียงพอ


- ความเครียด พักผ่อนไม่พอ กระตุ้นการอักเสบในร่างกาย ฮอร์โมนผิดเพี้ยน


- ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล


อาจเกิดในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกซึ่งอาจมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงรังไข่ไม่ดีพอจึงทำให้--- รังไข่เสียการทำงาน เช่น ผู้ป่วยโรคเนื้องอกมดลูก


- สตรีที่ได้รับยาเคมีบำบัดเช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง


- สตรีที่ได้รับการฉายแสง/รังสีรักษาจากที่เป็นโรคมะเร็งของอวัยวะที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน เช่น มะเร็งปากมดลูก



.


.



แม่ๆสามารถดูแลรังไข่ให้กลับมาทำงานเป็นปกติและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ ด้วยการปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งทำได้ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page