📣 บำรุงให้ตรงจุด เป็นการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ แชร์ทริค 6 วิธีทานอย่างไรให้ติดลูกไวขึ้น
top of page
ค้นหา

📣 บำรุงให้ตรงจุด เป็นการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ แชร์ทริค 6 วิธีทานอย่างไรให้ติดลูกไวขึ้น



การบำรุงเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะผู้มีบุตรยาก ไม่ว่าจะเตรียมตัวทำ IUI, IVF, ICSI หรือวางแผนท้องธรรมชาติ หัวใจหลักคือต้องเตรียมตัว "บำรุงก่อนตั้งครรภ์" "ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน" ก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์



“ครูก้อย” ได้นำข้อสรุปจากการสืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับผู้มีบุตรยากจากทั่วโลก มาแบ่งปันให้ผู้หญิงที่มีผู้มีบุตรยากได้ศึกษา และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ เพื่อจะได้บำรุงได้อย่างตรงจุดเป็นการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์



โดยครูก้อยได้ศึกษาและรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับหลักโภชนาการในการรับประทานอาหารที่จะช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ช่วยบำรุงไข่ บำรุงมดลูกและปรับสมดุลฮอร์โมนเพื่อเตรียมพร้อมตั้งครรภ์และสรุปออกมาเป็น 5 Keys to Success ให้ผู้หญิงที่มีบุตรยากโดยเฉพาะ ซึ่งหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility Diet) หรือ เรียกว่า "คัมภีร์อาหารของครูก้อย" นั้น คือ การทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ ซึ่งประกอบไปด้วยอาการหมู่หลัก



(Macronutrients) และ วิตามินและแร่ธาตุ (Micronutrients) โดยมีหลักการดังนี้



1.เพิ่มโปรตีน


2.ลดคาร์บ


3.งดหวาน


4.ทานกรดไขมันดี


5.เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์



และ 6.เสริมวิตามินบำรุง



เนื่องจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ร่างกายเราได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน เพราะเรารับประทานในปริมาณน้อย และสารอาหาร หรือ วิตามินบางชนิดร่างกายสามารถดูดซึมได้น้อยในรูปแบบของอาหาร และเราไม่สามารถมั่นใจได้ว่าในอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อได้รับวิตามินที่เพียงพอตามปริมาณที่ร่างกายต้องการได้รับหรือไม่ อีกทั้งสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุบางชนิดร่างกายไม่สามารถเองได้ ต้องได้รับจากการกินเสริมเข้าไปเท่านั้น



ดังนั้น หลักในการบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ของครูก้อย คือ



อาหารหมู่หลัก Macronutrients 70% และเสริมวิตามินและแร่ธาตุ Micronutrients 30% ค่ะ



ครูก้อยจะเน้นเรื่องโภชนาการเป็นหลัก เพราะอาหารหมู่หลักสำคัญที่สุดค่ะ แต่ก็ไม่ขาดเรื่องวิตามินเสริมที่จะทำให้ร่างกายเราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและจำเป็นสำหรับคนที่เตรียมตัวเป็นคุณแม่ค่ะ



ครูก้อยใช้สูตรนี้ค่ะ อาหาร 70% วิตามิน 30%


"อาหารก็ต้องกิน วิตามินก็ห้ามขาด"



ครูก้อยได้สรุปเคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ 6 วิธีการทานอาหาร เพื่อเพิ่มโอกาสท้องมาฝากแม่ๆ ดังนี้ค่ะ



1. เพิ่มโปรตีน



โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ การบำรุงไข่ให้ได้ไข่โตสวยสมบูรณ์และผนังมดลูกที่แข็งแรงนั้น แม่ๆต้องทานโปรตีนให้เพียงพอต่อวัน (คือเพียงพอต่อน้ำหนักตัว ซึ่งคนบำรุงต้องทานโปรตีนอย่างน้อย 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 ก.ก.)



งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontier in Public Health เมื่อปี 2018



ศึกษาพบว่า อาหารที่ถูกหลักโภชนาการส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น (Influence of Diet on Fertility) โดย "โปรตีน" เป็นสารอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ ที่ช่วยบำรุงเซลล์ไข่ ช่วยให้ไข่ตกปกติ และสำหรับคนที่ทำเด็กหลอดแก้ว การทานโปรตีนเพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มอัตราความสำเสร็จในการตั้งครรภ์อีกด้วย



ที่สำคัญต้องเลือกทานโปรตีนจากแหล่งที่ให้โปรตีนชั้นดี ให้โปรตีนสูง และปลอดภัย คนบำรุงเตรียมท้องควรเลือกทานโปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) โดยมีงานวิจัยศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ทานโปรตีนจากพืช ไขมันดี และวิตามินแร่ธาตุครบถ้วนมีความเสี่ยงเรื่องภาวะไม่ตกไข่ลดลงถึง 66%



ยังมีการศึกษาจาก Harvard School of Public Health พบว่า การทานโปรตีนจากสัตว์ที่อาจมีฮอร์โมนเร่งเนื้อแดงตกค้างและมีไขมันสูงทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมีบุตรยากถึง 39%



ยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of obstetrics and gynocology เมื่อปี 2008



ศึกษาพบว่าผู้หญิงที่เปลี่ยนการรับประทานโปรตีนจากสัตว์มาเป็นโปรตีนจากพืชอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการมีบุตรยากเนื่องปัญหาเรื่องไข่ไม่ตกได้ถึง 50%



งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2012



ศึกษาพบว่า ผู้ที่จะเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ที่เปลี่ยนการรับประทานอาหารเป็นแบบลดคาร์โบไฮเดรต และ เน้นโปรตีนเพิ่มมากขึ้นก่อนที่จะเข้ากระบวนการทำ IVF


โดยเพิ่มโปรตีน 16.4%


ลดคาร์บ 22.3%



มีอัตราการเพิ่มจำนวนของบลาสโตซิสต์ (blastocyst) จาก18.9% เป็น 45.3%



ซึ่งการทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลสะสมในร่างกาย จากการศึกษาพบว่าการทานอาหารแบบลดคาร์บลงนี้ส่งผลอย่างมากต่ออัตราการตั้งครรภ์



โดยจะมีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก 16.6% เป็น



83% เลยทีเดียวค่ะ



ดังนั้นผู้หญิงที่วางแผนท้อง ไม่ว่าจะด้วยการทำเด็กหลอดแก้วหรือท้องธรรมชาติ การเตรียมตัวให้พร้อมเรื่องการทานอาหาร โภชนาการที่ถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญค่ะ ควรเน้นทานอาหารที่ให้โปรตีนสูง จากแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพ เช่น ไข่ เนื้อปลา นมแพะ อกไก่ โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง เป็นต้น เพื่อบำรุงเซลล์ไข่ให้แข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งนี้โปรตีนยังช่วยทำให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานอย่างสมดุลรวมไปถึงฮอร์โมนเพศที่เป็นสิ่งสำคัญในการตั้งครรภ์ ส่งผลต่อรอบเดือนที่สม่ำเสมอ วงจรการตกไข่ที่เป็นปกตินั่นเองค่ะ



การทานโปรตีนให้เพียงพอจึงส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว และ อัตราการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติยังไงล่ะคะ



สำหรับแม่ๆวางแผนท้องควรได้รับโปรตีน 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมค่ะ



.



2.ลดคาร์บ



ลดคาร์บในที่นี้คือคาร์บที่ไม่มีประโยชน์ คาร์บที่แม่ๆ ควรทานคือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carb) สำหรับคนไทยนั้นเราทานข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ถ้าเน้นข้าวขาวเยอะไปก็ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน หรือ โรคอ้วนตามมาได้ค่ะ



ข้าวให้สารอาหารคาร์โบไฮเดดรตซึ่งจำเป็นในการให้พลังงานแก่ร่างกาย การทานคาร์โบไฮเดรตจึงสำคัญ อย่างไรก็ตามเมื่อเราทานคาร์บเข้าไปแล้วร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน ซึ่ง โรคเหล่านี้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ยากทั้งสิ้น



แต่ถ้าเราเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carb) หรือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี เช่นพวกข้าวกล้อง ถั่ว ธัญพืช แฟล็กซีด งาดำ เมล็ดฟักทอง ขนมปังโฮลวีต อาหารเหล่านี้จะให้คาร์บเชิงซ้อนที่ร่างกายจะใช้เวลาย่อยนานกว่าพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ขัดสี (Refined Carb) เช่น ข้าวขาว แป้ง น้ำตาล ขนมปัง เบเกอรี่ เมื่อใช้เวลาย่อยนานกว่า จะให้พลังงานนานกว่า ไม่ทำให้หิวโหย ให้ไฟเบอร์สูง และไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว



(glucose) ซึ่งการทำงานของร่างกายนั้นจะเปลี่ยนกลูโคสที่มีมากเกินไปให้กลายเป็นไขมัน ดังนั้นคนที่พยายามลดความอ้วน หากลดการทานคาร์บได้ก็จะส่งผลต่อน้ำหนักที่ลดลงได้นั่นเองค่ะ



สำหรับแม่ๆที่วางแผนท้อง


จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อปี 2017 ศึกษาพบว่าการทานอาหารแบบลดคาร์บประเภท Refined Carb ลง (Low Carbohydrate Diets) ช่วยลดระดับอินซูลิน ส่งผลต่อ ฮอร์โมนที่สมดุล วงจรการตกไข่เป็นปกติขึ้นทำให้มีอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่รับประทานอาหารตามปกติ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย



ยิ่งไปกว่านั้นจากงานวิจัยศึกษาพบว่าการลดคาร์บลงในการรับประทานอาหารต่อวันและเสริมโปรตีนเพิ่มขึ้นยังช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้วได้สูงถึง 83%



ครูก้อยจึงแนะนำให้แม่ๆ ทานคาร์บเชิงซ้อน ได้แก่ ธัญพืชเสริม Fertility ของครูก้อย



ธัญพืช Good Grain เป็นธัญพืชบดพร้อมชง



ประกอบไปด้วย อัลมอนด์ แฟล็กซีด และลูกเดือยให้คาร์บเชิงซ้อน และยังให้โปรตีนและกรดไขมันดี



งาดำแกนิกคั่วเตาถ่าน Pure Black เป็นงาดำเกรดออแกนิค คัดที่มีจมูกงา รักษาวิตามินไว้ครบถ้วน ในงาดำมีสาร "เซซามิน" สูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ให้สวยสมบูรณ์ ครูก้อยจะเช๊คโปรตีน Ferty กับนมแพะคัดเกรดและใส่ Good Grain + งาดำออแกนิค ดื่มแบบนี้เช้า-เย็น เป็นการทานโปรตีนและคาร์บที่ถูกหลักโภชนาการ ได้สารอาหารหลากหลายและครบถ้วน



และไม่ลืมที่จะทานเมล็ดฟักทองออแกนิก (Pure Seed) วันละ 1 กำมือ เพิ่ม Zinc บำรุงไข่ให้สุกและตกตามปกติ โปรตีนสูง ไฟเบอร์สูง ให้กรดไขมันดีและช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย



.



3.งดหวาน



น้ำตาล คือตัวร้ายทำลายเซลล์ รวมไปถึงเซลล์ไข่ของแม่ๆ การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป หรือ ทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่เป็นแป้งเชิงเดี่ยว พวกข้าว



ขาว ขนมเค้ก เบเกอรี่ต่างๆ ซึ่งท้ายที่สุดเมื่อผ่านกระบวนการย่อยร่างกายก็จะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ชอบทานแบบนี้ส่งผลให้เซลล์ไข่เสื่อม เสี่ยงเบาหวาน กระตุ้นอาการ PCOS ทำให้ร่างกายอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหุตของการมีบุตรยากทั้งสิ้น



มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2012 ศึกษาพบว่า


การทานอาหารแบบลดน้ำตาลลง ส่งผลอย่างมากต่ออัตราการตั้งครรภ์ ซึ่งผู้ที่ทานอาหารไม่หวาน จะมีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก 16.6% เป็น 83% เลยทีเดียว



นอกจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคเบาหวานตามมาได้แล้ว หากกินน้ำตาลมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินด้วย ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล เมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าปกติ



มีอีกงานวิจัยหนึ่งพบว่าการบริโภคน้ำตาลทุกๆ 150 แคลอรี่ อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นถึง 1.1 เปอร์เซ็นต์ โรคเบาหวานกับการมีบุตรยากเป็นเรื่องที่



แพทย์และนักวิจัยได้ศึกษาและมีผลวิจัยออกมาอย่างชัดเจนแล้ววาผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นมีระดับกลูโคสในเลือดสูง ซึ่งระดับกลูโคสในเลือดสูงนี้เป็นภัยต่อการพัฒนาของบลาสโตซิสต์ (Blastocyst)



ระดับของกลูโคสส่งผลต่อภาวการณ์มีบุตรยากในประเด็นใดบ้าง



การมีระดับกลูโคสในเลือดสูงทำให้การหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขหรือ อะดรีนาลีนลดลง เมื่อร่างกายมีความเครียดจะมีผลให้ให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งจะส่งผลต่อการที่ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวงจรการมีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติส่งผลต่อการมีบุตรยากค่ะ



การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ไข่ใบเล็ก ด้อยคุณภาพ



น้ำตาลส่งผลต่อโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความเสื่อมของสเปิร์มและเซลล์ไข่ ก่อนวัยอันควร



โดยมีงานวิจัยศึกษาผู้หญิงที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน (BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25) ส่งผลให้ไข่ไม่ตก ประจำเดือนมาไม่ปกติ เซลล์ไข่ด้อยคุณภาพ ฮอร์โมนไม่สมดุล



หากใช้กระบวนการทางการแพทย์รักษาจะมีอัตราความสำเร็จต่ำกว่ากลุ่มที่น้ำหนักปกติ



ยิ่งถ้าค่า BMI แตะ 30 ส่งผลต่อการแท้งบุตรมากขึ้นด้วยค่ะ



โดยครูก้อยแนะนำคนวางแผนท้องที่อยู่ในช่วงบำรุงไข่ต้องงดหวานโดยเด็ดขาด โดยหากต้องการความหวานควรเลือกทาน "น้ำผึ้งชันโรง" และ "น้ำอินทผลัม” ค่ะ เพราะเป็นความหวานที่มีประโยชน์ ปลอดภัย มีงานวิจัยศึกษาพบว่าไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด



#น้ำผึ้งชันโรง เป็นน้ำหวานจากตัวชันโรง เป็นแมลงตัวเล็กๆทร่ไม่มีเหล็กใน (Stingless bee) ซึ่งตัวชันโรงจะกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้เท่านั้น ไม่เหมือนผึ้งเลี้ยงที่กินน้ำตาล จึงทำให้น้ำผึ้งที่ได้มีวิตามินและสารอาหารที่หลากหลาย และให้สารต้านอนุมูลอิสระ "ฟีนอลิก" (Phenolic) สูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป 5-10 เท่า ช่วย



ปกป้องเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์



จากงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Report เมื่อปี 2020 ศึกษาพบว่าเหตุผลที่น้ำผึ้งชันโรงส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานเพราะในน้ำผึ้งชันโรงนั้นมีน้ำตาลชนิดพิเศษที่ขณะนี้พบในน้ำผึ้งชันโรงเท่านั้น ยังไม่พบในอาหารชนิดอื่นชื่อว่า Trehalulose ที่ไม่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเฉียบพลันและยังเป็นน้ำตาลที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) และค่าดัชนีอินซูลินต่ำ ( Low Insulinemic Index) จึงเป็นน้ำตาลที่มีประโยชน์และปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นน้ำตาลที่ไม่ก่อให้เกิดฟันผุ (acariogenic) และยังให้สาร antioxidant สูงอีกด้วย



นอกจากนี้น้ำผึ้งชันโรงยังมี "โพรไบโอติกส์" (Probiotics) และ "พรีไบโอติกส์" (Prebiotics)


ลักษณะสีของน้ำผึ้งชันโรงและรสชาติเปรี้ยวอมหวานเกิดจากการหมักบ่มตามธรรมชาติจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้และมดลูก



น้ำผึ้งชันโรงยังมีฤทธิ์ต้านการการอักเสบ (Anti-inflammatoty) ช่วยปกป้องเซลล์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยง่าย



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Brazilian Journal of Phamacognosy เมื่อปี 2016 ศึกษาถึงสรรพคุณของน้ำผึ้งชันโรงต่อ fertility พบว่า น้ำผึ้งชันโรงช่วยลดความเครียดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการท้องยากเพราะเมื่อเราเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดที่ชื่อว่าคอร์ติซอลออกมาและจะขัดขวางสมดุลของฮอร์โมนเพศ



นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มโปรเจสเตอร์โรนหรือฮอร์โมนเพศหญิงและเพิ่มอัตราสำเร็จของการตั้งครรภ์อีกด้วย



น้ำผึ้งชันโรงยังส่งผลดีต่อภาวการณ์เจริญพันธุ์ในผู้ชายโดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับฮอร์โมนเพศชายที่เกี่ยวข้อง



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Hindawi Advances in Pharmacological and Pharmaceutical Sciences เมื่อปี 2018 และจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Toxicology and Industrial Health เมื่อปี 2012 ได้มีงานวิจัยในหนูทดลองโดยให้ทานน้ำผึ้งชันโรงพบว่า น้ำผึ้งชันโรงช่วยปรับปรุงคุณภาพของสเปิร์มดังนี้


เพิ่มระยะเวลา (Intromission)



เพิ่มการหลั่ง (Ejaculation)


เพิ่มจำนวน (Count)


เพิ่มการเคลื่อนไหว(Motility) และ


เพิ่มคุณภาพ (Quality) ของสเปิร์ม




อืรทผลัมผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน ให้ความหวานที่มีประโยชน์



มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Journal เมื่อปี 2011 ศึกษาพบว่าความหวานของอินผลัมไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานก็ทานได้อย่างปลอดภัย และในอินทผลัมยังมีมีสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) สูงมาก ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยบำรุงไข่อีกด้วย



น้ำอินทผลัมยังมีธาตุเหล็กและไฟเบอร์สูง ผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรดื่มเพื่อเพิ่มธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ และยังเหมาะสำหรับผู้หญิงที่ใส่ตัวอ่อนเพราะช่วยลดอาการท้องผูก นอกจากนี้สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ควรดื่มก่อนคลอดเพราะน้ำอินทผลัมช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง คลอดง่าย และยังช่วยกระตุ้นน้ำนม เป็นการเตรียมน้ำนมให้พร้อมสำหรับลูกน้อย



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Recent Advance in Multidisciplinary Research เมื่อปี 2016 ได้สรุปประโยชน์ของอินผลัมต่อการบำรุงสเปิร์มของผู้ชาย ซึ่งงานวิจัยศึกษาพบว่าในอินทผลัมนั้นมีสารไฟโตเคมิคอล (phytochemical) จีนิสทีน (genistein) วิตามิน A ซีลีเนียม (Selenium) และฟีลกูลีน สูง



ช่วยพัฒนากระบวนการสร้างสเปิร์ม (spermatogenesis)


ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศของผู้ชาย (Improve the concentration of Testosterone)


และช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย โดยช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชายอีกด้วย



.



4. ทานกรดไขมันดี



หากบำรุงเตรียมท้องสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ "ไขมัน"


ค่ะ แต่แม่ๆต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าต้องทาน "ไขมันดี" ไม่ใช่เนื้อติดมัน อาหารฟาสต์ฟูดที่มีไขมันทรานส์ หรือของมัน ของทอด แต่เป็นไขมันดี (HDL) หรือ ไขมันไม่



อิ่มตัว (unsaturated fat) หรือ โอเมก้า 3 ที่มีในปลาทะเล Fish Oil อะโวคาโด ธัญพืชจำพวก งาดำออแกนิคคั่วเตาถ่าน (Pure Black) แฟล็กซีดและอัลมอนด์จากธัญพืชบด Good Grain เมล็ดฟักทองออแกนิค (Pure Seed) น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เป็นต้น



ไขมันดีมีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยร่างกายต้องใช้ไขมันในการผลิตฮอร์โมนเพศ หากร่างกายไม่ได้รับไขมันดีอย่างเพียงพอร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2016


ศึกษาพบว่าการรับประทานการรับประทานโอเมก้า 3 ช่วยให้ฮอร์โมนสมดุล การตกไข่เป็นปกติ และยังช่วยให้ไข่มีคุณภาพ



นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการทำให้มดลูกหนาตัวเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์อีกด้วย



ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับผู้หญิงที่ต้องใช้กระบวนการ



ทางการแพทย์ในการทำด็กหลอดแก้ว การได้รับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ล่วงหน้าก่อนเข้าสู่กระบวนการส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์อีกด้วย



.



5. เสริมสารแอนตี้ออกซิแดนท์



แม่ๆรู้ไหม เซลล์ไข่ ของแม่ๆจะเสื่อมลงทุกวันตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น ประกอบกับเซลล์ไข่สามารถถูกทำลายจาก "อนุมูลอิสระ" (Free Radicals) ได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงต้องทานอาหารที่มี "สารต้านอนุมูลอิสระ" (Antioxidants) สูงที่จะเข้าไปช่วยปกป้องน้องเซลล์ไข่ยังไงล่ะคะ



สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร



สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) หมายถึงสารที่ช่วยต่อต้านหรือกำจัดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาออกซิเดชันภายในร่างกาย ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถพบได้จากหลากหลายรูปแบบตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนออกซิเดชั่นที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม น้ำมันพืชที่มีกลิ่นเหม็นหืน ผลแอปเปิลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล



แต่หากเป็นในร่างกายเราจะพบได้จากกระบวนการการย่อยสลายโปรตีนและไขมัน ซึ่งมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป การรับเอามลพิษทางอาการ ควันบุหรี่ เชื้อโรค ฝุ่นละออง การรับเอารังสียูวีจากแสงแดด



หรือแม้กระทั่งการหายใจก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ กลายเป็นสารอนุมูลอิสระล่องลอยอยู่ภายในร่างกายและสร้างความเสียหายให้กับเซลล์ต่างๆ การมีสารอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากในร่างกายจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยและโรคภัยที่เราเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับแข็ง และโรคเบาหวาน เป็นต้น



สารต้านอนุมูลอิสระทำงานอย่างไร



หน้าที่ของสารต้านอนุมูลอิสระ ก็คือการเข้ากำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย และยังทำหน้าที่ชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ทำหน้าที่คงความอ่อนเยาว์ให้กับผิวและอวัยวะภายใน ดังนั้นบทบาทหลักของสารต้านอนุมูลอิสระ คือทำหน้าที่ "ลดการสร้าง" อนุมูลอิสระภายในร่างกาย และ "ลดอันตราย" ที่เกิดขึ้น



การเข้าไปทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ จะเข้าไปจับกับตัวรับที่สามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน สารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยาต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระจะตรงเข้าขัดขวางปฏิกิริยาดังกล่าว เข้าจับกับสารอนุมูลอิสระ ยับยั้งไม่ให้เกิดการทำลายเซลล์ในปฏิกิริยาออกซิเดชัน และถูกออกซิไดซ์ โดยมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นตัวรีดิวซ์



มีงานวิจัยศึกษาถึงประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธ์ พบว่า



การทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกายที่จะมาทำลายเซลล์ไข่ของแม่ๆค่ะ



ยังช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ จึงช่วยลดความเสื่อมสภาพของร่างกาย ช่วยคงความอ่อนเยาว์ และมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น



ดังนั้น เมื่อแม่ๆ วางแผนตั้งครรภ์จึงต้องบำรุงเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อจะได้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพ แม่ๆ ก็จะมีโอกาสท้องธรรมชาติได้ค่ะ



ยังมีงานวิจัยศึกษาพบว่า สำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว สาเหตุหลักของการทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่ประสบความสำเร็จมาจากตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ (รองลงมาคือปัญหาเรื่องผนังมดลูก) ซึ่ง ตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์อาจมาจากโครโมโซมผิดปกติ สืบเนื่องมาจากเซลล์ไข่มีความเสื่อมจากอนุมูลอิสระ หรือไข่ที่ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นนั่นเอง เมื่อเกิดการรวมตัวกับ DNA แล้วทำให้โมเลกุลของ DNA เปลี่ยนไป ส่งผลให้โครโมโซมเสียหาย หรือเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ชั้น lipid ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ทำให้เซลล์ไข่เสื่อมสภาพ (Oocyte aging)



นอกจากนี้อนุมูลอิสระจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ไข่ได้มากยิ่งขึ้นในกระบวนการ “ทำเด็กหลอดแก้ว” เนื่องจากเซลล์ไข่ที่เก็บออกมา จะไม่มีของเหลวที่เรียกว่า “follicular fluid” ป้องกันอยู่เหมือนในร่างกายมนุษย์ ทำให้เซลล์ไข่ถูกทำลายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้นไปอีก



ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด และถูกทำลายน้อยที่สุดก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์ด้วยการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระค่ะ



อาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว มะกรูด ผักผลไม้ เช่น ผักเคล ผักโขม กะหล่ำม่วง มะเขือเทศ บีทรูท แครอท ทับทิม ธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ งาดำ ควินัว แฟล็กซีด



แม่รู้ไหม ในน้ำมะกรูดคั้นสดอุดมไปด้วยวิตามินซีสด "ไบโอฟลาโวนอยด์" และสารต้านอนุมูลอิสระ "เควอซิทีน"



วิตามินซี จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ไม่ให้ถูกทำลาย สมบูรณ์พร้อมรับการปฏิสนธิ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน



มีการศึกษาพบว่าในน้ำมะกรูดไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonid) สูงถึง 1,104±74 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม ไบโอฟลาโวนอยด์หรือวิตามินพีเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินซี และยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และเส้นเลือดฝอย โดยเฉพาะบริเวณมดลูกที่มีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ทำให้มดลลูกแข็งแรง เพราะมีเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวง่ายขึ้น



ไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการ



อักเสบ และการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะที่มดลูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแท้งในระยะเริ่มต้น และ ไบโอฟลาโวนอยด์ยังไปเสริมการทำงานของวิตามินซีที่ช่วยเรื่องการเพิ่มระดับฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการตั้งครรภ์



มีงานวิจัยจาก The University of Texas ศึกษาพบว่าผู้หญิง 53% ที่ทานอาหารวิตามินซี และไบโอฟลาโวนอยด์สูงจะมีช่วงลูเตียลเฟส (Luteal Phase) ยาวขึ้น



ลูเตียลเฟส คือระยะหลังการตกไข่ที่ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น ร่างกายจะสร้างมดลูกให้หนาขึ้นพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน หากช่วงระยะเวลานี้สั้นโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนก็ลดลง



ในน้ำมะกรูดคั้นสดมีสารต้านอนุมูลอิสระ "เควอซิทีน" สูงที่สุด



โดยการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณ “สารเควอซิทิน”ในผักผลไม้รสเปรี้ยวชนิดต่างๆ พบว่าในมะกรูดมีสารเควอซิทินสูงที่สุดถึง 43±9 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม



ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเควอซิทีนมีสรรพคุณในการ



ช่วยบำรุงเซลล์ไข่ ป้องกันเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ทำให้ไข่สวยสมบูรณ์ เพื่มโอกาสตั้งครรภ์



จากงานวิจัย ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Oncotarget เมื่อปี 2017 ศึกษาพบว่า สารเควอซิทินช่วยลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ โดยปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระ “Quercetin” ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมาก



โดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมง จะเห็นว่าหากไม่มี “สารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทิน” ไข่จะฝ่อเสียหายเกือบ 80% แต่ในกรณีที่มีเควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซีสต์ได้อีกเท่าตัว



เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์น้ำมะกรูด SHOT by ครูก้อย “สูตรผู้มีบุตรยาก” บำรุงไข่ บำรุงมดลูก เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ คลิกลิ้งค์นี้เลยค่ะ→




.



6.วิตามินบำรุงห้ามขาด



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Medicine Insight Womens Health เมื่อปี 2019


ได้รวบรวมผลการศึกษา ถึงความสำคัญของ micronutrients ซึ่งได้แก่ "วิตามินและแร่ธาตุ" ที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์



งานวิจัยศึกษาพบว่าสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนอกจากการทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการแล้ว การขาดวิตามินและแร่ธาตุก็เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่ง เพราะวิตามินและแร่ธาตุมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างปกติและสมบูรณ์ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ด้วย



การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอนอกจากจะส่งผลให้ผู้หญิงมีลูกง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด



ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation)



การปฏิสนธิ ( fertilization)


การฝังตัวของตัวอ่อน (implantation)


การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo development)


ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย



เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ OvaAll วิตามิน​ตัวจบ สยบ​ทุก​ปั​ญหาท้องยาก​ วิตามิน​บำรุงไข่​ที่ครบที่สุด เพื่อผู้​มีบุตรยาก​


คลิกลิ้งค์นี้ค่ะ →




และนี่คือ 6 วิธีเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากจากครูก้อยค่ะ กินแบบนี้ เพิ่มโอกาสมีเบบี๋นะคะ



บำรุงเตรียมท้อง "อาหารก็ต้องกิน วิตามินก็ห้ามขาด" ต้องเน้นอาหาร 70% วิตามิน 30% บำรุงก่อนท้องล่วงหน้า 3 เดือน ยิ่งบำรุงอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และต่อเนื่อง โอกาสประสบความสำเร็จก็จะมีมากขึ้นเท่านั้นค่ะ เมื่อ



บำรุงร่างกายได้อย่างสมบูรณ์พร้อมที่สุด ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์และเป็นครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงค่ะ

ดู 18 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page