ท้องยาก อย่ารอ ไปหาหมอค่ะ! จะได้รู้สาเหตุเพื่อรักษา และบำรุงให้ตรงจุดถ้ายังไม่ท้อง! ลองเจาะเลือดเช็ค 2 ฮอร์โมนนี้
top of page
ค้นหา

ท้องยาก อย่ารอ ไปหาหมอค่ะ! จะได้รู้สาเหตุเพื่อรักษา และบำรุงให้ตรงจุดถ้ายังไม่ท้อง! ลองเจาะเลือดเช็ค 2 ฮอร์โมนนี้



แม่ๆที่อยากท้องแต่เบบี๋ก็ไม่มาสักที ทั้งที่ร่างกายก็แข็งแรงดี ทำไมยังไม่ท้องนะ? หากลองมาเป็นปีแล้วยังไม่ท้องควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุค่ะ โดยปกติที่เราคิดว่าเราแข็งแรงดีแต่ฮอร์โมนภายในนั้นเราไม่อาจทราบได้ เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อเช็คฮอร์โมน 2 ตัวนี้เป็นเบื้องต้นเพื่อคัดกรองว่าแม่ๆเป็นผู้มีบุตรยากหรือไม่? ได้แก่ฮอร์โมนตัวไหนบ้างนั้น ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ



1. ฮอร์โมนไทรอยด์ Thyroid-stimulating hormone (TSH)



แพทย์จะตรวจเลือดหาค่าฮอร์โมน TSH เพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งหากมีภาวะต่อม



ไทรอยด์ทำงานเกิน (Overactive thyroid หรือ Hyperthyroidism) อาจส่งผลให้กิดภาวะไข่ไม่ตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก หรือ ทำให้ไม่เกิดการฝังตัวของทารกหรือการแท้ง



TSH เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (Triiodothyronine) และ T4 (Thyroxine)



หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้ตามปกติค่า TSH จะต่ำ



หากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน หรือสังเคราะห์ได้น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น ในกรณีที่มีการขาดสารไอโอดีน ต่อมใต้สมองจะหลั่ง TSH ออกมามากขึ้น เพื่อกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ค่า TSH สูง



ค่าปกติอยู่ที่ 0.4-4.0 mU/L



หากระดับ TSH มีค่าอยู่ระหว่าง 15-20 mU/L จะต้องติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด



ถ้าระดับ TSH มากกว่า 20 mU/L แสดงว่าต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้อย่างเพียงพอ



ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน คือ ภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีมากเกินไป ทำให้ร่างกายมีกระบวนการเผาผลาญที่มากขึ้น และทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น เช่น ตื่นเต้นและวิตกกังวล อยู่ไม่สุข น้ำหนักลด และต่อมไทรอยด์บวมโต



ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินมากกว่าผู้ชาย 10 เท่า ส่วนมากผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการครั้งแรกในอายุระหว่าง 20-40 ปี แต่ก็อาจพบได้ในทุกช่วงอายุ



อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินคือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนขาด ส่งผลให้ไข่ไม่ตกทำให้มีบุตรยากนั่นเองค่ะ



.



2. ฮอร์โมนโปรแลคติน Prolactin (PRL)



โปรแลคติน (Prolactin)เป็นฮอร์โมนผลิตออกมาจากสมองส่วนหน้าเช่นเดียวกับ FSH และ LH มีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก ระดับโปรแลคตินจะสูงในสตรีขณะตั้งครรภ์และขณะให้นมบุตร จึงเรียกว่าเป็น "ฮอร์โมนน้ำนม" ฮอร์โมนตัวนี้จะกดวงจรการตกไข่ เพราะมันมีอำนาจยับยั้งการหลั่งของ FSH และ LH ซึ่งเป็นฮอร์โมนรังไข่และฮอร์โมนตกไข่ เมื่อ FSH และ LH ลดลง การกระตุ้นการทำงานของรังไข่ก็ลดลง ทำให้การผลิตฮอร์โมนจากรังไข่ลดลง และไข่ไม่ตก



ระดับโปรแลคตินมีค่าปกติอยู่ที่ไม่เกิน 25 mcg/L



หากมีภาวะโปรแลคตินสูงในสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ และไม่ได้ให้นมบุตร จะมีผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ด้วย มีความรุนแรงต่างกันแล้วแต่ระดับของฮอร์โมนที่ผิดปกติและปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย ส่งผลให้



มีการตกไข่ปกติ



มีการตกไข่แต่ระดับโปรเจสเตอโรนต่ำ


การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ตกไข่เลย ทำให้บางครั้งประจำเดือนไม่สม่ำเสมอหรือขาดประจำเดือน



.


.



ดังนั้นแม่ๆ ควรมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อคัดกรองผู้มีบุตรยากในเบื้องต้น เพื่อทำการรักษาปรับฮอร์โมนดังกล่าวให้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนอีกหลายตัวที่แพทย์จะตรวจหากต้องเข้าทำการรักษาภาวะมีบุตรยสกด้วยการทำเด็กหลอดแก้วเพื่อประเมินแนวทางการรักษา ได้แก่ การประเมินจำนวนฟองไข่ตั้งต้น (AMH) การประเมินการทำงานของรังไข่ (FSH) ประเมินการตกไข่ (LH) เป็นต้น ซึ่งครูก้อยจะนำข้อมูลดีๆ มาฝากต่อไปค่ะ

ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page