📣 ทำความรู้จักโครงสร้าง “เซลล์ไข่” วัตถุดิบตั้งต้นของลูกน้อย บำรุงเซลล์ไข่ไว เพิ่มโอกาสท้อง!
top of page
ค้นหา

📣 ทำความรู้จักโครงสร้าง “เซลล์ไข่” วัตถุดิบตั้งต้นของลูกน้อย บำรุงเซลล์ไข่ไว เพิ่มโอกาสท้อง!



การตั้งครรภ์เริ่มมาจากเซลล์ไข่และสเปิร์ม เมื่อไข่ตกมาที่ท่อนำไข่เจอกับเจ้าสเปิร์ม เกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อน แล้วเคลื่อนมาฝังตัวที่โพรงมดลูก หากเซลล์ไข่ที่ตกลงมานั้นเป็นเซลล์ไข่ที่ไม่มีคุณภาพ ฝ่อ หรือมีโครโมโซมที่ผิดปกติ ก็จะไม่เกิดการปฏิสนธิ หรือหากเกิดการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะไม่สมบูรณ์และแท้งในที่สุด นี่แหละจึงเป็นสาเหตุที่ว่าถึงแม้สเปิร์มจะเข้าเจาะไข่ได้ แต่หากปฏิสนธิแล้วไข่ไม่มีพลังงานในการแบ่งตัวไปต่อก็ไม่มีโอกาสท้องค่ะ



วันนี้เรามาดูส่วนประกอบโครงสร้างของเซลล์ไข่กันค่ะ ว่าเค้าหน้าตาเป็นยังไง ประกอบด้วยส่วนใดบ้าง ?



• เซลล์ไข่ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ?



เซลล์ไข่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด มีลักษณะเป็นฟองกลมๆ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญดังนี้ค่ะ



(1) นิวเคลียส (Nucleus)



นิวเคลียส เปรียบเหมือหัวใจของเซลล์ไข่ หากเซลล์ไข่ใดไม่มีนิวเคลียสก็จะเป็นเซลล์ไข่ที่ไม่สามารถปฏิสนธิได้ นิวเคลียสเป็นส่วนที่มีสารพันธุกรรมอยู่ เป็นส่วนที่สร้างโครโมโซม โดยเซลล์ไข่จะมีโครโมโซม 23 แท่ง สเปิร์มก็เช่นกัน เมื่อปฏิสนธิกันมนุษย์เราก็จะมีโครโมโซมรวม 46 แท่ง หรือหากนิวเคลียสมีพันธุกรรมที่ผิดปกติก็จะส่งผลให้ตัวอ่อนหรือลูกน้อยของเรานั้นมีความผิดปกติตามมาค่ะ



(2) ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm)



ไซโตพลาสซึม เป็นส่วนที่กิจกรรมต่างๆ ของเซลล์กำเนิดขึ้นเพื่อให้เซลล์มีชีวิตและอยู่รอด ในโซโตพลาสซึมมีขุมพลังงานที่เรียกว่าไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ที่ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่เซลล์ไข่



นอกจากนี้ไซโตพลาสซึมยังมีบทบาททางอ้อมในการป้องกันไม่ให้สเปิร์มมากกว่าหนึ่งตัวเขามาปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ โดยการปล่อยแคลเซียมที่สะสมไว้จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาในเยื่อหุ้มสมอง เม็ดเยื่อหุ้มสมองปล่อยสารเอนไซม์ออกมา ซึ่งปรับเปลี่ยนโซนา เพลูซิดา ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่สเปิร์มตัวต่อๆ มาจะเกาะติดกับเซลล์ไข่ได้



(3) ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)



ไมโตคอนเดรีย ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ไข่ โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ NAD+ (Nicotinamide Adenine Dinucleotide) และ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ ซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานไฟฟ้าที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น และทำให้เซลล์ไข่มีพลังในการแบ่งตัวได้อย่างเป็นปกตินั่นเอง



(4) โซนา เพลลูซิดา (Zona pellucida) หรือเรียกว่าผนังของเซลล์ไข่ (Egg wall)



เป็นโครงสร้างภายนอกที่สเปิร์มต้องเจาะผ่านเข้ามา ประกอบด้วยไกลโคโปรตีนที่ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ไข่จนถึงปฏิกิริยาสนธิ และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิสนธิที่เกิดจากสเปิร์มมากกว่า 1 ตัว (Polyspermy)



โดยผนังของเซลล์ไข่จะหนาและแข็งขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ผู้หญิงอายุมากท้องยากขึ้น เพราะสเปิร์มเจาะไข่ได้ยากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้มีเทคโนโลยีการรักษาคือการใช้เลเซอร์เจาะ ผนังของเซลล์ไข่แล้วจับสเปิร์มเข้าไปเจาะไข่ได้โดยตรงนั่นเองค่ะ



(5) โคโรน่า เรดิเอต้า (Corona radiata) หรือ ฟอลลิคูล่าเซลล์ (Follicular cell) หรือ การ์นูโลซ่าเซลล์ (Granulosa cell) หรือเซลล์พี่เลี้ยงเซลล์ไข่



เป็นชั้นเมือกภายนอกห่อหุ้มเซลล์ไข่ อยู่ติดกับ Zona pellucida เป็นอีกชั้นหนึ่งที่ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ และมีหน้าที่สร้างโปรตีนให้กับเซลล์ไข่ และช่วยป้องกันการเกิดปฏิสนธิจากสเปิร์มมากกว่า 1 ตัว (Polyspermy)



(6) คอลติเคิ่ล การ์นูล (Cortical granule)



เป็นถุงที่ใช้ขนส่งสารคัดหลั่งของเซลล์ พบอยู่ใต้เยื่อหุ้มเซลล์และมีหน้าที่ในการปล่อยเอนไซม์ในระหว่างที่มีสเปิร์มเข้ามาทำการปฏิสนธิ ทำให้ Zona pellucida แข็งตัวขึ้น และเอนไซม์จะย่อยโปรตีนที่จับกับตัวอสุจิเพื่อป้องกันการเกิดปฏิสนธิที่เกิดจากสเปิร์มมากกว่า 1 ตัว (Polyspermy) หลังจากที่เซลล์สเปิร์มเข้าสู่เซลล์ไข่



(7) โพลาร์ บอดี้ (Polar body)



เป็นจุดเล็กๆ ที่งอกออกมาจากเซลล์ไข่ เป็นตัวบ่งชี้ว่าไข่ใบนี้เป็นไข่ที่สุก สมบูรณ์พร้อมปฏิสนธิ หากเซลล์ไข่ใดไม่มี Polar body จะเป็นไข่อ่อน ไม่สามารถปฏิสนธิได้



• หากโครงสร้างของเซลล์ไข่มีความผิดปกติจะส่งผลอย่างไร ?



1. สเปิร์มเจาะไม่เข้า



2. สเปิร์มอาจเจาะเข้าไปทำการปฏิสนธิมากกว่า 1 ตัว



3. โครโมโซมผิดปกติ



4. พลังงานไม่เพียงพอต่อการแบ่งตัวตั้งแต่เซลล์ไข่อ่อน หรือไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์



5. ไข่ใบเล็ก ไม่โตสมบูรณ์



6. กระตุ้นการเกิดภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS)



โดยความผิดปกติที่กล่าวมาจะนำไปสู่การภาวะมีบุตรยากเพราะไม่สามารถเกิดการปฏิสนธิได้ตามธรรมชาติ หรือไม่ได้ตัวอ่อนจากการทำเด็กหลอดแก้ว ตัวอ่อนมีความผิดปกติทางโครโมโซม นำไปสู่การแท้งซ้ำ แท้งบ่อย



จากงานวิจัยเรื่อง Impact of Oxidative Stress on Age-Associated Decline in Oocyte Developmental Competence. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in endocrinology ปี 2010



ศึกษาพบว่า กลไกที่เป็นไปได้ของการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่โดยสะสมความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จากอนุมูลอิสระ (ROS) ภายนอก อายุ และการสะสมของ ROS ภายในจากไมโตคอนเดรียกำลังสร้างปัญหาให้กับเซลล์ไข่ เนื่องจากความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้เกิดการเสื่อมของไมโตคอนเดรีย ความยาวของเทโลเมียร์สั้นลง เกิดข้อผิดพลาดในการสร้างแกนหมุนของโครโมโซม ความเสียหายของ DNA การย่อยสลายโปรตีน และลดความสามารถในการพัฒนาของเซลล์ไข่ที่มีอายุมาก



และอีกงานวิจัยหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าอนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์พี่เลี้ยงของเซลล์ไข่ ทำให้เซลล์ไข่ขาดสารอาหาร ไข่ไม่โต ไข่ไม่ตก



จากงานวิจัยเรื่อง NAD+ deficiency and mitochondrial dysfunction in granulosa cells of women with polycystic ovary syndrome. ตีพิมพ์ในวารสาร Biology of Reproduction ปี 2021



ทำการศึกษาเกี่ยวกับ การขาด NAD+ และความผิดปกติของไมโตคอนเดรียใน Granulosa cells ที่มีบทบาทในการพัฒนาของฟองไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ของผู้หญิงที่เป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)



ศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS จะมีระดับ NAD+ ใน Granulosa cells ลดลง ซึ่งเชื่อมโยงกับความผิดปกติของไมโตคอนเดรีย นำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น การสร้างพลังงานที่ลดลง (ATP) และการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของเยื่อหุ้มไมโตคอนเดรีย



แต่เมื่อมีการเพิ่ม Nicotinamide ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของ NAD+ ลงในเซลล์เหล่านี้ มีการปรับปรุงที่ดีขึ้นโดยระดับ NAD+ ในเซลล์เพิ่มขึ้น ช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน และปรับปรุงการทำงานของไมโตคอนเดรีย นอกจากนี้ Nicotinamide ที่เป็นสารตั้งต้นของ NAD+ ช่วยลดการอักเสบในผู้หญิงที่เป็น PCOS อีกด้วย



แม่ๆ เห็นแล้วใช่ไหมคะว่า เซลล์ไข่มีความซับซ้อนและองค์ประกอบหลายอย่างที่จะต้องทำงานอย่างปกติ ถึงจะส่งผลให้เป็นเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพ ดังนั้นแม่ๆ ที่เตรียมตั้งครรภ์จึงต้องบำรุงเซลล์ไข่ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้ได้เซลล์ไข่ที่มีความสมบูรณ์ สุก พร้อมปฏิสนธิ



ปัจจุบันครูก้อยได้คิดค้นและพัฒนาวิตามินเพื่อบำรุงให้เซลล์ไข่ปลอดภัยจากอนุมูลอิสระ ซึ่งสารสกัดที่ครูก้อยเลือกใช้ในวิตามินอาหารเสริม A.O.S By KruKoy เป็นสารสกัดที่มีงานวิจัยรองรับว่าปลอดภัยและมีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระจากเซลล์ไข่โดยตรงเพื่อเป็นตัวช่วยให้เซลล์ไข่แม่ๆ ปลอดภัยจากอนุมูลอิสระค่ะ



อย่าลืมนะคะ บำรุงเซลล์ไข่ต้องปรับโภชนาการ งดหวาน ทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ลดอาหารแปรรูป ออกกำลังกาย นอนพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงทาน A.O.S By KruKoy วันละ 2 แคปซูล ก่อนที่จะสายเกินไปนะคะ เริ่มบำรุงวันนี้ เพื่อวัตถุดิบที่ดีในการเพิ่มโอกาสการมีเบบี๋ในวันหน้าค่ะ


ดู 55 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page