เยื่อบุโพรงมดลูกหนา อาการเป็นอย่างไร ทำให้มีลูกยากหรือไม่?
top of page
ค้นหา

เยื่อบุโพรงมดลูกหนา อาการเป็นอย่างไร ทำให้มีลูกยากหรือไม่?




เยื่อบุโพรงมดลูกหนา อาการ เป็นยังไง? เป็นคำถามที่ทำให้แม่ ๆ หลายคนกังวลใจเพราะส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการหรือผลข้างเคียงมากพอ จึงอาจคิดว่าไม่มีอันตรายอะไร อีกทั้งการที่โพรงมดลูกมีความหนาถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับการตั้งครรภ์อีกด้วยนั่นเอง แต่คุณแม่อาจยังไม่รู้ว่าการที่หนาเกินไปก็ทำให้เกิดผลร้ายได้เช่นกันค่ะ


เยื่อบุโพรงมดลูกหนา อาการเป็นยังไง มีผลต่อการมีบุตรอย่างไร?


เยื่อบุโพรงมดลูกคือ เยื่อบุผิวของผนังด้านในของมดลูก ทำหน้าที่ในการรับการฝังตัวของตัวอ่อน และเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในแต่ละช่วงเวลาใน 1 รอบเดือนจะมีความหนาไม่เท่ากัน กล่าวคือ ในช่วงมีประจำเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะบางที่สุด เพราะเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวมาเป็นประจำเดือนและหนาตัวขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะมีความสัมพันธ์กับการโตของฟองไข่ในเดือนนั้น ซึ่งจะหนาตัวมากที่สุดในช่วงการตกไข่ หลังจากนั้นความหนาอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเล็กน้อยเพื่อรอให้ตัวอ่อนมาฝังตัว หากไม่มีการฝังตัวก็จะบางลงอีกครั้งเมื่อมีประจำเดือน


ซึ่งที่จริงแล้ว ยิ่งเยื่อบุโพรงมดลูกหนาก็ยิ่งทำให้ท้องง่ายค่ะ เพราะเป็นจุดที่ตัวอ่อนต้องทำการฝังตัว แต่ความหนาที่เหมาะสมคือ 8-14 มิลลิเมตร ซึ่งหากหนากว่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายได้ค่ะ


เยื่อบุโพรงมดลูกหนา เกิดจาก?


เกิดจากการเพิ่มปริมาณของต่อมเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เกิดต่อมที่มีขนาดและรูปร่างผิดปกติไป มีการเพิ่มของอัตราส่วนของต่อมในโพรงมดลูกต่อสโตรมา (stroma) ซึ่งการได้รับเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวและเป็นเวลานานทำให้เกิดการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติได้ (Endometrial hyperplasia) ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจกลายเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้


เยื่อบุโพรงมดลูกหนา มีอาการอย่างไร?


ผู้ป่วยที่มีอาการเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ มักมาพบแพทย์ด้วยอาการเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก อาจจะมีปริมาณมาก บางครั้งอาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย ลักษณะประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเหมือนคนไม่ตกไข่ หรืออาจพบความผิดปกติจากการตรวจแปปสเมียร์ (PAP smear)แต่อาจไม่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดก็ได้


โพรงมดลูกหนาเกินไป อันตรายไหม


การที่เยื่อบุโพรงมดลูกหนามากเกินไป อาจจะพบร่วมกับความผิดปกติของประจำเดือน เช่น มาช้ากว่าปกติมาก หรือ 2-3 เดือนมาครั้ง เป็นต้น หรืออาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอยทางช่องคลอดได้ค่ะ ดังนั้นไม่ควรปล่อยไว้เรื้อรัง ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันโรคร้ายอื่น ๆ ด้วยค่ะ


แนวทางการรักษา


สำหรับแนวทางการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของแต่ละคนค่ะ เช่น สำหรับในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกสูง แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดมดลูกเลยเพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ค่ะ หรือในบางกรณีแพทย์จะรักษาโดยการให้รับประทานยาโปรเจสโตเจน (Progestogen) เพื่อให้ไปเปลี่ยนแปลงการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูก หลังจากนั้นแพทย์จะนัดมาทำการดูดเยื่อบุโพรงมดลูกหรือขูดมดลูกอีกครั้ง เพื่อดูว่ามีการตอบสนองต่อการรักษาดีหรือไม่ เพื่อพิจารณาว่าจะให้หยุดยาหรือให้ยาต่อ หรือเปลี่ยนวิธีการรักษา หรือพิจารณาผ่าตัดมดลูกกรณีที่การรักษาด้วยฮอร์โมนไม่ได้ผล ยังจำเป็นต้องมีการสุ่มดูดเยื่อบุโพรงมดลูกไปตรวจทางพยาธิวิทยาทุก 6 - 12 เดือนค่ะ


อย่างไรก็ดี หากคุณแม่เริ่มสังเกตตนเองและเริ่มสงสัยว่าตนเองมีอาการที่ไม่น่าไว้ใจเกี่ยวกับโพรงมดลูกหนา ควรรีบเข้าพบแพทย์ก่อนจะสายไปนะคะ เพราะคงไม่มีใครอยากต้องมาประสบปัญหาสุขภาพอย่างแน่นอน โดยเฉพาะผู้ที่อยากมีบุตร อยากตั้งครรภ์ ปัจจัยเหล่านี้สำคัญมากค่ะ ครูก้อยแนะนำให้เข้าพบแพทย์จะดีกว่านะคะ เพื่อความปลอดภัยค่ะ


บทความที่น่าสนใจ






ดู 2,921 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page