top of page
ค้นหา

PCOS เมนส์ขาด ไข่ไม่ตก ปรับได้ด้วยการกินกินอย่างไร ให้ท้องง่ายขึ้น?





PCOS เมนส์ขาด ไข่ไม่ตก ปรับได้ด้วยการกิน

กินอย่างไร ให้ท้องง่ายขึ้น?


PCOS หรือ ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ Polycystic Ovary Syndrome เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก เพราะ ภาวะนี้ส่งผลให้....


✔ไข่ไม่ตกเรื้อรัง

✔ประจำเดือนขาดหาย

✔ฮอร์โมนไม่สมดุล ฮอร์โมนเพศชายสูง

✔อ้วน น้ำหนักเกิน

✔ร่างกายอักเสบ


สาเหตุหลักประการหนึ่งของ PCOS คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ และความเครียดสะสม ปัจจัยเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนได้นะคะ


วันนี้ครูก้อยนำหลักการทานอาหารของคนเป็น PCOS มาฝาก ปรับเปลี่ยนมาทานแบบนี้ควบคู่กับการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะเป็นการ


ปรับสมดุลฮอร์โมนให้ปกติ การทำงานของระบบสืบพันธุปกติขึ้น ประจำเดือนมา ไข่ตก โอกาสตั้งครรภ์ก็มีมากขึ้นค่ะ


รู้หรือไม่คะ? ว่าอาหารที่เรารับประทานนั้นเป็นตัวแปรสำคัญในการช่วยเยียวยาอาการ PCOS ได้ค่ะ


.


📚มีงานวิจัยเมื่อปี 2015 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Obesity & Weight Loss Therapy พบว่าการทานอาหารแบบลดแป้งและลดอาหารจากผลิตภัณฑ์จากนมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ส่งผลให้น้ำหนักลด ช่วยรักษาอาการดื้ออินซูลินและช่วยลดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิงที่อยู่ในภาวะ PCOS ได้


.


📚งานวิจัยอีกฉบับหนึ่งเรื่อง ที่ตีพิมพ์ใน Current Pharmaceutical Design พบว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไปทุกวันนั้นมีผลโดยตรงและเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่ออาการของผู้ที่อยู่ในภาวะ PCOS ค่ะ



แม่ที่อยู่ในภาวะ PCOS ให้กินแบบนี้นะคะ


.


1. #เน้นโปรตีนจากพืช


โปรตีนเป็นสารอาหารที่ทีความสำคัญมาก ช่วยในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ จากที่กล่าวข้างต้นน้ำหนักเกินหรืออ้วนส่งผลให้ PCOS แย่ลง แม่ๆควรเน้นรับประทานโปรตีนเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ เมื่อเรามีกล้ามเนื้อ ร่างกายจะเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้น เป็นการควบคุมน้ำหนัก


การเลือกรับประทานโปรตีน ต้องเลือกโปรตีนชั้นดี หากเป็นเนื้อสัตว์ ต้องเลือกที่ไม่ติดมัน เช่น ปลาแซลมอน อกไก่ ไข่ไก่ เน้นโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง งาดำ อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง ควินัว


📚มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการรับประทานโปรตีนจากพืชช่วยลดความเสี่ยงภาวะไข่ไม่ตกได้ถึง 50% และยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาพบว่าผู้หญิงกินโปรตีนจากสัตว์จำนวนถึง 39% จะประสบปัญหาภาวะที่มีบุตรยากมากกว่าผู้หญิงที่กินโปรตีนจากพืช



👉การทานเนื้อสัตว์ติดมัน อาจมีความเสี่ยงเรื่องสารเร่งเนื้อแดงที่ตกค้าง ทำให้ร่างกายอักเสบ ซึ่งการอักเสบในร่างกายส่งผลให้ภาวะ PCOS แย่ลงกว่าเดิมค่ะ เช่นเดียวกัน การทานอาหารพวกของมัน ของทอด ของหวาน น้ำตาล เหล่านี้ทำให้ร่างกายอักเสบทั้งสิ้น


.


2. #กินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน


แม่ๆ ต้องเลือกทานคาร์บเชิงซ้อนนะคะ ไก้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว ธัญพืชถั่วต่างๆ งาดำ แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น


เพราะเมื่อเราทานคาร์บเข้าไปแล้วร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน ซึ่ง โรค


เหล่านี้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ยากทั้งสิ้น


แต่ถ้าเราเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carb) หรือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี ร่างกายจะใช้เวลาย่อยนานกว่าพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ขัดสี (Refined Carb) เช่น ข้าวขาว แป้ง น้ำตาล ขนมปัง เบเกอรี่ เมื่อใช้เวลาย่อยนานกว่า จะให้พลังงานนานกว่า ไม่ทำให้หิวโหย ให้ไฟเบอร์สูง และไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว (glucose) ซึ่งการ


ทำงานของร่างกายนั้นจะเปลี่ยนกลูโคสที่มีมากเกินไปให้กลายเป็นไขมัน ดังนั้นคนที่พยายามลดความอ้วน หากลดการทานคาร์บได้ก็จะส่งผลต่อน้ำหนักที่ลดลงได้นั่นเองค่ะ



📚มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการทานอาหารแบบลดคาร์บประเภท Refined Carb (คาร์โบไฮเดรตขักสี) ลง ช่วยลดระดับอินซูลิน ส่งผลต่อ ฮอร์โมนที่สมดุล วงจรการตกไข่เป็นปกติขึ้นทำให้มีอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ


คนที่รับประทานอาหารตามปกติ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย




น้ำตาลเป็นตัวร้ายต่อภาวะ PCOS เลยค่ะ

การมีระดับกลูโคสในเลือดสูงทำให้การหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขหรือ อะดรีนาลีนลดลง เมื่อร่างกายมีความเครียดจะมีผลให้ให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งจะส่งผลต่อการที่ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวงจรการมีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติส่งผลต่อการมีบุตรยากค่ะ


การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ขึ้นและที่ร้ายไปกว่านั้นมันสามารถทำลายเซลล์ไข่ได้เลย


น้ำตาลส่งผลต่อโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง


จะส่งผลต่อความเสื่อมของสเปิร์มและเซลล์ไข่ ก่อนวัยอันควร


.



ต้องทาน "ไขมันดี" ไม่ใช่เนื้อติดมัน อาหารฟาสต์ฟูดที่มีไขมันทรานส์ หรือของมัน ของทอด แต่เป็นไขมันดี (HDL) หรือ ไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) หรือ โอเมก้า 3 ที่มีในปลาทะเล Fish Oil อะโวคาโด ธัญพืชจำพวก งาดำออแกนิคคั่วเตาถ่าน (Pure Black) แฟล็กซีดและอัลมอนด์จากธัญพืชบด Good Grain เมล็ดฟักทองออแกนิค (Pure Seed) น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เป็นต้น


ไขมันดีมีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยร่างกายต้องใช้ไขมันในการผลิตฮอร์โมนเพศ หากร่างกายไม่ได้รับไขมันดีอย่างเพียงพอร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล


📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2016


ศึกษาพบว่าการรับประทานการรับประทานโอเมก้า 3 ช่วยให้ฮอร์โมนสมดุล การตกไข่เป็นปกติ และยังช่วยให้ไข่มีคุณภาพ


👉นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการทำให้มดลูกหนาตัวเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์อีกด้วย


👉ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับผู้หญิงที่ต้องใช้กระบวนการทางการแพทย์ในการทำด็กหลอดแก้ว การได้รับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ล่วงหน้าก่อนเข้าสู่กระบวนการส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์อีกด้วย


ครูก้อยแนะนำแม่ๆ ทานวิตามิน Fish oil เสริมจากการรับประทานอาหารเพื่อให้ได้กรดไขมันดีที่เพียงพอต่อความต้องการต่อวันค่ะ


.


5. #ทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ


การทานผักผลไม้สดเป็นการเพิ่มใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้


สมบูรณ์ ไฟเบอร์ยังช่วยดักจับคอเลสเตอรอลอีกด้วย นอกจากนี้ในผักผลไม้หลากสีนอกจากมีวิตามินหลากหลายแล้ว ยังให้สารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ทำให้ระบบสืบพันธุ์และสมดุลฮอร์โมนเป็นปกติ ทั้งนี้ให้หลีกเลี่ยงผักและผลไม้กระป๋องหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆนะคะ เพราะมีโซเดียมสูง


🍋นอกจากนี้สตรีที่มีภาวะ PCOS ควรดื่มน้ำมะกรูดคั้นสด เพราะในน้ำมะกรูดคั้นสดมีสารต้านอนุมูลอิสระเควอซิทีน (Quercetin) สูง


📚จากงานวิจัยเรื่อง Quercetin and polycystic ovary syndrome, current evidence and future directions: a systematic review


ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research ปี 2020



ทำการศึกษาโดยการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวกับ ประโยชน์ของ Quercetin ต่อผู้หญิงที่เป็น PCOS

พบว่า...สารเควอซิทีน" ส่งผลดีต่อสตรีที่มีภาวะ PCOS เนื่องจากช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดฮอร์โมนเพศชายและระดับฮอร์โมน LH ที่มากเกินไป รวมถึงช่วยลดการอักเสบของเซลล์อีกด้วย


🍋ดังนั้นสตรีที่มีภาวะ PCOS ควรได้รับ "สารเควอซิทีน" จากการดื่มน้ำมะกรูดคั้นสดเพื่อเยียวยาอาการและปรับสมดุลฮอร์โมนให้กลับมาเป็นปกติ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ปรับวงจรไข่ตกปกติ มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ค่ะ


.



6. #ทานวิตามินช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน


คนเป็น PCOS แนะนำให้ทาน Inositol + Folic นะคะ

แม่ๆรู้ไหม❓วิตามินที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและเป็นวิตามินที่คลินิกผู้มีบุตรยากใช้ในการรักษา PCOS คือ


"อิโนซิทอล" และ "โฟลิก" อิโนซิทอล มีสรรพคุณโดดเด่นในการบำรุงไข่ ทำให้ไข่มีคุณภาพ ตัวอ่อนเติบโตเป็นปกติ คลินิกผู้มีบุตรยากจะแนะนำให้ทาน อิโนซิทอล ก่อนเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว


นอกจากนี้อิโนซิทอล ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ไข่ตกสม่ำเสมอ เป็นการเยียวยาภาวะ PCOS เพิ่มโอกาสท้องธรรมชาติอีกด้วย

ส่วน "โฟลิก" นั้นแม่ๆต้องได้รับก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือนเพื่อให้ตัวอ่อนเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ป้องกันทารกพิการ


📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Turkish-German Gynecological Association เมื่อปี 2018 ได้รวบรวมผลการศึกษาการเยียวยาผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS โดยการให้ทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมร่วมกับอิโนซิทอล


1. ทดลองกับผู้หญิง 92 คนที่มีปัญหาเรื่องประจำเดือนขาด ประจำเดือน มาน้อย หรือมาห่างกันเกิน 35 วัน (oligomenorrhea) และมีภาวะ PCOS


โดยให้ทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม + อิโนซิทอล 4 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12-16 สัปดาห์ พบว่า



✔มีอัตราไข่ตกเพิ่มขึ้น

✔น้ำหนักลดลง

✔ฟองไข่เจริญเติบโตดีขึ้น

✔ไขมันดี (HDL) เพิ่มขึ้น


2. ทดลองในผู้หญิง 25 คนที่มีภาวะประจำเดือนขาดหาย หรือ ขางรายไม่มีประจำเดือนเลยตั้งแต่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (amenorrhea) และมีภาวะ PCOS


โดยให้ทานโฟลิก + อิโนซิทอล อย่างละ 4 กรัม ต่อวันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า


✔รอบเดือนเริ่มกลับมาเป็นปกติขึ้น

✔สมรรถภาพของรังไข่ดีขึ้น

✔ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรนลดลง


3. ทดลองในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 42 คน (ช่วงอายุ 18-40 ปี) ที่มีภาวะ PCOS


โดยให้ทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม + อิโนซิทอล 4 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12-16 สัปดาห์ พบว่า


✔ระดับอินซูลินและฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนลด


ลง

✔ช่วยเพิ่มค่าความทนต่อน้ำตาล (glucose tolerance) ซึ่งส่งผลดีต่อการลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน



.

.

นี่คือหลักโภชนาการในการบำรุงสำหรับคนเป็น PCOS ค่ะ เน้นโปรตีน กินคาร์บเชิงซ้อน งดหวาน งดของมัน ทานผักผลไม้สด เสริมวิตามินและหมั่นออกกำลังกาย ร่างกายจะได้กลับมาทำงานเป็นปกติ ปรับฮอร์โมนให้สมดุล เป็นการเยียวยาภาวะ PCOS เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่ง่ายขึ้นค่ะ




ใครปรับการกินตามสูตรครูก้อยอยู่บ้างคะ ได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง แชร์กันหน่อยค่าาา...

ดู 4,289 ครั้ง0 ความคิดเห็น

留言


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page