How to ปรับสมดุลฮอร์โมน
เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
แม่ๆรู้ไหม❓สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีบุตรยากเกิดจาก "ฮอร์โมนที่ไม่สมดุล" ผู้หญิงเราอาจพบเจอกับอาการต่างๆ มากมายที่กวนใจ เช่น ปวดท้องก่อนมีประจำเดือน ประจำเดือนขาดหาย สิวขึ้นตลอดเวลา อ่อนเพลียไม่มีสาเหตุ เป็นต้น แต่เราอาจไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วมันส่งผลมาจากฮอร์โมนที่ผิดปกติ เพราะฮอร์โมนนี่แหละที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ รวมไปถึงฮอร์โมนเพศที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์
.
ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อ (eEdocrine Gland) แล้วส่งไปตามกระแสเลือด ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อกระตุ้น หรือยับยั้งกระบวนการต่างๆ ในเซลล์ หรืออวัยวะเป้าหมาย (target cells หรือ target organs) ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่างๆในร่างกาย ได้แก่
- ช่วยในการเจริญเติบโต
- การอยากอาหาร
- การย่อยอาหาร
- การนอนหลับ
- รอบเดือน
- อุณหภูมิของร่างกาย
- อารมณ์ และ พฤติกรรมการเข้าสังคม
- ระบบภูมิคุ้มกัน
- กลไกการป้องกันสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
- รวมไปถึงการทำงานของระบบสืบพันธุ์
ฮอร์โมนไม่สมดุลเกิดขึ้นเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งไม่แปลกเลยหากเกิดฮอร์โมนไม่สมดุลขึ้น มันจะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆของร่างกายและสุขภาพโดยรวม เพราะฮอร์โมนคือน้ำหล่อเลี้ยงของทุกระบบที่กล่าวมา
และในเรื่องของ "การตั้งครรภ์" นั้น...แน่นอนว่าหากฮอร์โมนเพศไม่สมดุลจะส่งผลต่อ
✔ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่
✔ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
✔ไข่ไม่ตก
✔ไข่ด้อยคุณภาพ
✔รังไข่เสื่อมก่อนวัย
✔ผนังมดลูกไม่หนาตัวพร้อมรับการฝังตัว
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องยากนั่นเองค่ะ...
.
วันนี้เราไปศึกษาวิธีการปรับสมดุลฮอร์โมนกันค่ะ
ซึ่งทำได้ด้วย #วิธีธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ยา...ฝึกปฏิบัติ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลตัวเอง ก็สามารถปรับสมดุลฮอร์โมนได้ค่ะ
1. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
การนอนน้อยส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม เมื่อเครียดฮอร์โมนความเครียด หรือ ที่เรียกว่า "คอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมามากเกินไป และมันก็จะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเพศผิดเพี้ยน แปรปรวน
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep
Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย สมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอติซอล เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และ ฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับด้วย
โดยในผู้หญิงนั้น การนอนไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อ
การสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ มีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเองค่ะ
📚ส่วนในผู้ชายนั้น มีงานวิจัยของ Boston University School of Public Health เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าการนอนที่เพียงพอนั้นควรนอนหลับ 7-8 ชม.ต่อวัน ผู้ชายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม.หรือ นอนมากกว่า 9 ชม.ต่อวัน ส่งผลต่อโอกาสในการทำให้คู่ของตนเองตั้งครรภ์ลดลง 42% ในแต่ละรอบเดือน
💗ดังนั้นคู่ไหนอยากมีลูกต้องชวนกันนอนพักผ่อนให้เพียงพอนะคะ
.
2. ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก
น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดเพี้ยน ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ไข่ไม่ตกได้ค่ะ
สำหรับเคสที่อ้วน หรือ น้ำหนักเกิน มีข้อมูลทางการแพทย์เปิดเผยว่าคนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่และการมีประจำเดือน #ทำให้ท้องยากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ ถึง 2 เท่า‼
อ้วนไป❓คือ แค่ไหน วัดอย่างไร❓
ความอ้วนสามารถวัดได้ตามหลักของการวัดค่าดรรชนีมวลกายดังนี้
วิธีการหาค่าดัชนีความหนาของร่างกาย หรือที่เราเรียกว่า "ดัชนีมวลกาย" หรือ "บีเอ็มไอ" (BMI - Body Mass Index) มีสูตรคือ
"BMI = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม / ส่วนสูงเป็นเมตร x ส่วนสูงเป็นเมตร"
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 58 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 169 เซนติเมตร ต้องนำส่วนสูงมาคิดเป็นเมตรก่อน คือ 169 เซนติเมตร จะเท่ากับ 1.69 เมตร แล้วนำมาคูณด้วยส่วนสูงที่คิดเป็นเมตรอีกครั้ง คือ 1.69 x 1.69 = 2.856 จากนั้นให้เอาน้ำหนักคือ 58 กิโลกรัม เป็นตัวตั้ง แล้วจึงหารด้วยค่าส่วนสูงที่คำนวณได้คือ 2.856 ก็จะได้ค่า BMI เท่ากับ 20.308
ซึ่งผู้ที่มีค่า BMI อยู่ในระหว่าง 18.5-24.9 (มาตรฐานสากล) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
🔸️ถ้าน้อยกว่า 18.5 ก็ถือว่าผอมไป
🔸️ถ้ามากกว่า 24.9 คือมีค่า 25.0 ขึ้นไปก็จะถือว่าอ้วน
🔸️แต่สำหรับมาตรฐานคนเอเชียแล้วเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ 18.5-22.9
ความอ้วนทำให้ท้องยากได้อย่างไร❓
ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศ
หญิงอาจเกิดความผิดปกติ
🔸️ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่
🔸️ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริดกะปรอย
🔸️ประจำเดือนขาดหายไป
กรณีที่ผอมไปล่ะ❓
สังเกตุมั้ยคะ คนที่ผอมไป ลีนเกินไป หรือนักกีฬา เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่ำเกินไปจะท้องยาก เพราะไขมันเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศค่ะ (แต่เน้นไขมันดีนะ ไม่ใช่พวกทรานส์แฟท หรือ คอเลสเตอรอลที่สูงเกินไป) นายแพทย์ Robert จาก Corado for Reproductive Medicine เผยว่า ผู้หญิงที่สุขภาพดีและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่าหากมีค่า body fat อยู่ที่อย่างน้อย 17-19 อันนี้คือดูที่ body fat นะคะ ไม่ใช่ค่า BMI บางครั้งเราดูที่ค่า BMI โอเค แต่ body fat สูงหรือ ต่ำไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพค่ะ
.
3. ทานอาหารบำรุงเลือด เพิ่ม blood flow
พฤติกรรมการทานอาหารของเราส่งผลต่อสุขภาพที่เรามีค่ะ อยากมีสุขภาพดีต้องทานอาหารดีๆ You are
what you eat เคยได้ยินกันใช่มั้ยคะแม่ๆ อาหารช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนได้ หากกินแต่อาหารไขมันสูง น้ำตาล ของหวาน แอลกอฮออล์ เหล่านี้ส่งผลต่อฮอร์โมนที่ผิดเพี้ยน ดังนั้นแม่ๆที่มีปัญหาเรื่องประจำเดือนต้องหันมาทานอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนกันค่ะ ได้แก่
🍋น้ำมะกรูด มี "ไบโอฟลาโวนอยด์" สูง ช่วยให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนดีมาก มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า "เควอซิทีน" สูง
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research ปี 2020 ศึกษาพบว่า
"เควอซิทีน"ช่วยลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย
และช่วยเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และ เอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญในการสืบพันธุ์ รอบเดือน และการตั้งครรภ์
4. ทานวิตามินช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน
ฮอร์โมนไม่สมดุลส่งผลให้ประจำเดือนผิดปกติ ไข่ไม่ตก เรียกว่าภาวะ PCOS ซึ่งผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะนี้กันมาก และมันเป็นสาหตุหลักที่ทำให้ท้องยาก
ปัจจุบันการรักษา เยียวยาภาวะนี้สามารถทานวิตามินที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ปรับวงจรการตกไข่ และไม่มีผลข้างเคียง ได้แก่ กรดโฟลิก + อิโนซิทอล ค่ะ
📚มีงานวิจัยศึกษาการรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับอิโนซิทอลที่เยียวยาภาวะ PCOS ได้ และเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง
นักวิจัยเสนอให้ใช้เป็นแนวทางการรักษาผู้มีบุตรยากอันเนื่องมาจากภาวะ PCOS โดยงานวิจัยฉบับนี้ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Endocrinology เมื่อปี 2016 ของประเทศ Germany ได้ทำการศึกษากับผู้หญิงที่มีบุตรยาก 3,602 คน โดยให้ทานกรดโฟลิกและอิโนซิทอลเป็นเวลา 2-3 เดือน
ปริมาณที่ให้ทานคือ โฟลิก 400 ไมโครกรัม + อิโนซิทอล 4 กรัม ต่อวัน
ผลการศึกษาพบว่า...
✔70% ของผู้หญิงที่ทำการทดลอง มีการตกไข่กลับมาเป็นปกติ 545 คนตั้งครรภ์ คิดเป็น 15.1%
✔ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนลดลง
✔ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนจำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ช่วยให้ผนังมดลูกฟอร์มตัวหนาขึ้น พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน
.
📚อีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Turkish-German Gynecological Association เมื่อปี 2018 ได้รวบรวมผลการศึกษาการเยียวยาผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS โดยการให้ทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมร่วมกับอิโนซิทอล
1. ทดลองกับผู้หญิง 92 คนที่มีปัญหาเรื่องประจำเดือนขาด ประจำเดือน มาน้อย หรือมาห่างกันเกิน 35 วัน (oligomenorrhea) และมีภาวะ PCOS
โดยให้ทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม + อิโนซิทอล 4 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12-16 สัปดาห์ พบว่า
✔มีอัตราไข่ตกเพิ่มขึ้น
✔น้ำหนักลดลง
✔ฟองไข่เจริญเติบโตดีขึ้น
✔ไขมันดี (HDL) เพิ่มขึ้น
2. ทดลองในผู้หญิง 25 คนที่มีภาวะประจำเดือนขาดหาย หรือ ขางรายไม่มีประจำเดือนเลยตั้งแต่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (amenorrhea) และมีภาวะ PCOS
โดยให้ทานโฟลิก + อิโนซิทอล อย่างละ 4 กรัม ต่อวันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า
✔รอบเดือนเริ่มกลับมาเป็นปกติขึ้น
✔สมรรถภาพของรังไข่ดีขึ้น
✔ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรนลดลง
3. ทดลองในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 42 คน (ช่วงอายุ 18-40 ปี) ที่มีภาวะ PCOS
โดยให้ทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม + อิโนซิทอล 4 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12-16 สัปดาห์ พบว่า
✔ระดับอินซูลินและฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนลดลง
✔ช่วยเพิ่มค่าความทนต่อน้ำตาล (glucose tolerance) ซึ่งส่งผลดีต่อการลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน
ดังนั้นในการปรับสมดุลฮอร์โมน แม่ๆ ต้องหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องหันมาออกกำลังกายควบคุมน้ำหนัก พักผ่อนให้เพียงพอและปรับการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามผ่อนคลายจัดการกับความเครียด เมื่อฮอร์โมนกลับมาสมดุล การทำงานของระบบสืบพันธุ์ปกติก็เป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ค่ะ
Bình luận