top of page
ค้นหา

6 โรคประจำตัวที่ควรคิดให้ดีก่อนมีลูกวางแผนท้องต้องรู้!!!



6 โรคประจำตัวที่ควรคิดให้ดีก่อนมีลูก วางแผนท้องต้องรู้!


รู้ไหมคะว่าโรคประจำตัวบางโรคที่คุณแม่เป็นอยู่ก็สามารถติดต่อไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ หรือส่งผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้เหมือนกัน


ดังนั้นว่าที่คุณแม่จึงควรตรวจสุขภาพของตัวเองให้ดีก่อนตัดสินใจมีลูก เพื่อจะได้วางแผนการมีลูกได้โดยไม่ต้องกังวลหรือส่งผลเสียตามมานั่นเอง สำหรับโรคประจำตัว ที่ว่าที่คุณแม่ควรคิดให้ดีก่อนมีลูก มี 6 โรค ดังนี้ค่ะ



1. โรคเบาหวาน


โรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ได้มาก ซึ่งอาจมีความอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์เลยทีเดียว โดยมีผลกระทบดังนี้


👉เสี่ยงต่อการแท้งบุตร และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะสูง และอาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้เลยทีเดียว


👉ทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความพิการ และอาจมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ


👉ทารกอาจเสียชีวิตทันทีหลังคลอดได้ไม่นาน แม้จะคลอดตามกำหนดก็ตาม


.



2. โรคไทรอยด์เป็นพิษ


ไทรอยด์เป็นพิษ โรคร้ายที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ ซึ่งโรคนี้ไม่สามารถทำการรักษาได้ในขณะตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้วิธีการกลืนแร่รังสีและการผ่าตัดในการรักษานั่นเอง ดังนั้นหากต้องการมีลูก ควรทำการรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษให้อยู่ในระยะที่สงบก่อนจะดีกว่า โดยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ มีดังนี้


👉เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และอาจแท้งได้


👉อาจเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอันตรายต่อเด็กมากทีเดียว


👉อาจทำให้ทารกในครรภ์ มีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ


.


3. โรคหัวใจ


โรคหัวใจ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ก็เป็นอันตรายต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และลูกน้อยในครรภ์ ไม่น้อยกว่าโรคอื่นๆ เลยทีเดียว โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากตั้งครรภ์ในขณะเป็นโรคหัวใจ


เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์ หัวใจจะต้องทำงานหนักขึ้นกว่าปกติ จึงอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิตได้ คุณแม่ต้องทานยาแก้โรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยาบางชนิดอาจส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ จนทำให้เสี่ยงต่อการพิการได้


.


4. โรคธาลัสซีเมีย


โรคติดต่อที่สามารถส่งผ่านโรคไปสู่ลูกได้ หากคุณพ่อมีเลือดที่เป็นพาหะด้วย ซึ่งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้แก่


เมื่อลูกน้อยคลอดออกมา อาจเสียชีวิตในทันที หรือมีอายุอยู่ได้เพียงไม่กี่วัน ก็เสียชีวิต ลูกที่คลอดออกมา อาจมีพาหะธาลัสซีเมีย หรือเป็นโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดที่สุด


.


5. โรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้า คือ ความเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งเกิดความผิดปกติของสมอง ส่งผลกระทบต่อความนึกคิดอารมณ์ ความรู้กสึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพร่างกาย คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคซึมเศร้าหายเองได้ แต่ความจริงต้องอาศัยการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างจริงจัง


ดังนั้นหากอยู่ในภาวะซึมเศร้าก็หนีไม่พ้น "ความเครียด" ซึ่งความเครียดนี่แหละค่ะที่ส่งผลให้ฮอร์โมนเพศในร่างกายไม่สมดุล อาจมีปัญหาเรื่องประจำเดือนผิดปกติ ไข่ไม่ตก นอนไม่หลับ ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงพร้อม ดังนั้นจึงอาจส่งผลให้ท้องยากได้


ส่วนยาที่ต้องกินนั้นต้องปรึกษาแพทย์ว่ากระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์หรือไม่ ซึ่งโดยปกติไม่เกี่ยวข้องกัน แต่จะเป็นเพราะสภาพจิตใจที่จะส่งผลต่อสภาพร่างกายเสียมากกว่า


หากวางแผนมีบุตรต้องพิจารณาว่าเรมีภาวะซึมเศร้าในระยะไหน รุนแรงหรือไม่ ต้องปรึกษาแพทย์ถึงระยะเวลาในการรักษา เพราะหากเป็นรุนแรง ต้องรักษาต่อเนื่อง แนะนำว่ายังไม่ควรตั้งครรภ์ระหว่างรักษาค่ะ เพราะหากสภาพจิตใจยังไม่แข็งแรงพอ จะส่งผลเสียต่อร่างกายของแม่และทารก และสภาพจิตใจอาจย่ำแย่ไปอีก


ยิ่งไปกว่านั้นหากต้องทานยาต่อเนื่อง ต้องปรึกษาแพทย์ว่ายาที่ทานจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ หรือ หากวางแผนจะมีลูกหากอาการซึมเศร้าดีขึ้นต้องหยุดยาก่อนปล่อยมีลูกเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ เป็นต้น


แม่ๆ ที่รักษาอาการโรคซึมเศร้าอยู่ มีโอกาสมีลูกนะคะ แต่ให้พิจารณาอาการและความพร้อมของร่างกายและสภาพจิตใจเป็นหลัก ทางที่ดีที่สุดควรรักษาอย่างต่อเนื่องให้หาย หรือ จนอยู่ในภาวะที่ปกติที่อาจไม่ต้องใช้ยา เพื่อให้การตั้งครรภ์นั้นสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุด ที่สำคัญคือให้ปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์นะคะ


.


6. โรคแพ้ภูมิตัวเอง


ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE (Systemic Lupus Erythematosus ) คือ ภาวะที่เม็ดเลือดขาวทำงานผิดปกติ โดยปกติเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรค แต่ในคนไข้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิในเม็ดเลือดขาวกลับไปทำลายเซลล์ร่างกายตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ที่มันไปทำลาย ดังนั้น อาการที่เกิดขึ้นก็เกิดจากเม็ดเลือดขาวไปโจมตีอวัยวะต่างๆ เหล่านั้น


ผู้หญิงที่เตรียมตัวจะเป็นคุณแม่ แล้วมีโรคประจำตัวเป็นโรค SLE ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษมากขึ้น เพื่อควบคุมโรคให้สงบก่อนตั้งครรภ์ อย่างน้อย 6 เดือน และคุณหมอจะดูแลใกล้ชิดมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ปกติค่ะ


ซึ่งการตั้งครรภ์ก็อาจไปกระตุ้นให้อาการกำเริบขึ้นมาได้ แต่ไม่รุนแรง ดังนั้น ช่วงระหว่างตั้งครรภ์จึงต้องให้ยาควบคู่ไปด้วย โดยเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ขนาดต่ำ เพื่อควบคุมโรคให้สงบตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ


ในช่วงตั้งครรภ์ แม้โรคจะสงบแล้ว และกินยาควบคุมโรคอยู่ แต่อาการของโรค SLE ไม่แน่นอน อาจจะขึ้นๆ ลงๆ ได้ และทำให้มีอาการต่างๆ เกิดขึ้นกับคุณแม่ ซึ่งอาจส่งผลสู่ทารกในครรภ์ค่ะ


อาการที่อาจเกิดขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้


👉เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์


เนื่องด้วยยากลุ่มสเตียรอยด์มีผลข้างเคียงคือ ทำให้การคุมโรคเบาหวานยากขึ้น ซึ่งคุณแม่ท้องมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานอยู่แล้ว จึงอาจจะส่งผลให้คุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้



👉เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด


เพราะโรคนี้จะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาใหม่ ทำให้เลือดเกิดการแข็งตัว และเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด ส่งผลให้ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้า คุณหมอจึงต้องให้ยาด้านเกร็ดเลือดขนาดต่ำ โดยเริ่มให้หลังจากสิ้นสุดไตรมาสแรก เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด



👉ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด


เพราะอาจจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เมื่อเกิดภาวะติดเชื้อจะทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกได้ง่ายถ้ารุนแรงทารกอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์



👉ครรภ์เป็นพิษ


เกิดอาการความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์มีการเสื่อมสภาพของรก จนเกิดการแท้งได้


.

.


และนี่ก็คือ 6 โรคประจำตัว ที่ว่าที่คุณแม่ควรคิดให้ดี

ก่อนตัดสินใจมีลูก เพื่อจะได้ไม่มีปัญหายุ่งยากและน่าเสียใจตามมาทีหลัง อย่างไรก็ตามหากควบคุมโรคไม่ให้กำเริบได้ แม่ๆ ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยให้ปรึกษาแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ


ดู 382 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page