6 ความจริงเกี่ยวกับเซลล์ไข่ของผู้หญิง
รู้ก่อน วางแผนก่อน บำรุงไข่ให้ถูกวิธี มีสิทธิท้อง!
วันนี้ครูก้อยจะพาไปรู้จักน้องเซลล์ไข่ของคุณผู้หญิงที่รู้แล้วจะต้องทึ่งค่ะ เราจะพาไปสำรวจเจ้าเซลล์ไข่ที่มีความบอบบางนี้กันค่ะ ซึ่งความบอบบางของน้องไข่นี่แหละค่ะเป็นเหตุให้เราต้องรีบบำรุงและป้องกันความเสื่อมก่อนที่เราจะเข้าสู่ภาวะมีบุตรยากนะคะ
.
1. เซลล์ไข่เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย
เซลล์ส่วนใหญ่จะมองเห็นไม่ได้ด้วยตาเปล่าต้องใช้ไมโครสโคปขยายจึงจะมองเห็นค่ะ แต่เซลล์ไข่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น “เซลล์ไข่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย” และสามารถมองเห็นได้โดยไม่ต้องใช้ไมโครสโคป น่าทึ่งใช่มั้ยคะ
เมื่อเซลล์ไข่เป็นเซลล์ที่ใหญ่ที่สุด จึงต้องได้รับการบำรุงและป้องกันจากอนุมูลอิสระให้มากที่สุดค่ะ สำหรับแม่ๆ ที่วางแผนตั้งครรภ์จึงต้องบำรุงและดูแลเซลล์ไข่เป็นพิเศษ ด้วยการทานอาหารที่มี "โปรตีน" สูง เพราะ "โปรตีนจะช่วยบำรุงและซ่อมเซลล์เซลล์" นอกจากนั้นต้องทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงเพื่อป้องกันเซลล์ไข่จากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ
2. ผู้หญิงเกิดมาพร้อมกับเซลล์ไข่หลายล้านใบ
แม่ๆ รู้ไหม? แม่ๆ เกิดมาพร้อมกับเซลล์ไข่ที่มีอยู่แล้วในรังไข่ของเรา ผู้หญิงทุกคนมีไข่ของตนเองมาตั้งแต่เกิดเลยค่ะ โดยปกติเราจะมีไข่ในรังไข่ประมาณ 7
ล้านใบอยู่ในรังไข่ตอนที่เราอยู่ในท้องแม่ แต่เมื่อเรา "คลอดออกมา" เราจะเหลือเซลล์ไข่ติดตัวมา 1-2 ล้านใบ และจะปล่อยออกมา (ตกไข่) ทุกช่วงของการมีประจำเดือนตลอดชีวิตของเราเดือนละ 1 ใบ
นั่นหมายความว่าเรามีไข่ของเราเองตั้งแต่เรายังเป็นตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ของแม่ ความน่าทึ่งก็คือ จริงๆแล้วคุณแม่ของเราก็ให้ที่พำนักเจ้าไข่นี้อยู่ขณะที่เรายังอยู่ในครรภ์ของแม่ไงล่ะคะ เพื่อวันหนึ่งเซลล์ไข่นี้อาจจะเติบโตเป็นหลานในอนาคตได้นั่นเองค่ะ!
.
3. ไข่เสื่อมคุณภาพและลดจำนวนลงเมื่ออายุมากขึ้น
เมื่ออายุเราเพิ่มมากขึ้น เซลล์ทุกเซลล์ก็จะแก่ตามไปด้วย ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ กับเจ้าเซลล์ไข่ที่ก็แก่ไปตามอายุด้วยเช่นกันค่ะ ถึงแม้ว่าเราจะเกิดมาพร้อมเซลล์ไข่เป็นล้านๆ เซลล์ แต่คุณภาพของเซลล์ไข่เหล่านี้ก็ลดลงเรื่อยๆไปตามเวลาค่ะ "เซลล์ไข่จำนวนมากเสื่อมและตายลงไปก่อนที่เราจะเข้าสู่ภาวะเจริญพันธ์เสียด้วยซ้ำ"!
นั่นหมายความว่าเราจะมีเซลล์ไข่เหลืออยู่ประมาณ 7 แสนใบเมื่อถึงระยะเวลาที่เราเริ่มมีประจำเดือน!
แต่จะมีไข่ที่มีผลทำให้ตั้งครรภ์ได้เพียง 400-500 ฟองเท่านั้น เพราะการตกไข่แต่ละครั้งจะมีไข่เพียงฟองเดียวที่สมบูรณ์ พร้อมจะให้อสุจิเข้ามาผสมได้
.
เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป เซลล์ไข่ที่มีลดลงตามที่กล่าวมาข้างต้น ซ้ำร้ายคือเซลล์ไข่ของผู้หญิงในวัยนี้เป็นเซลล์ไข่ที่มีเปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของโครโมโซมสูงถึง 50% และยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นจนถึงวัย 40 ปี เซลล์ไข่จะมีเปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของโครโมโซมสูงถึง 80-90% เลยทีเดียว
ไข่ที่มีโครโมโซมปกติส่งผลต่ออัตราการปฏิสนธิที่ต่ำลง หรือถ้าใช้ไข่ทำด็กหลอดแก้ว อาจทำให้ได้ตัวอ่อนไม่มีคุณภาพ เลี้ยงไม่ถึงระยะบลาสต์ ตัวอ่อนตายหมด หรือไม่ฝังตัว มีโอกาสแท้งสูงนั่นเองค่ะ
ทุกๆ เดือนผู้หญิงจะสูญเสียเซลล์ไข่ไปตลอดค่ะ จนเมื่อเข้าสู่ภาวะวัยทองก็จะมีเซลล์ไข่เหลืออยู่น้อยกว่า 1 พันเซลล์ เรื่องนี้เป็นไปตามธรรมชาติที่เราไม่สามารถห้ามการสูญเสียเซลล์ไข่ได้
.
4. เซลล์ไข่จะตกออกมาทุกเดือน (การตกไข่)
โดยปกติแล้วไข่จะตกออกมาทุกรอบเดือน โดยจะตกครั้งละ 1 ใบ แต่ก็มีผู้หญิงบางส่วนที่ไข่ตก 2 ใบพร้อมกัน ซึ่งในกรณีนี้ว่าที่คุณแม่มีโอกาสได้ครรภ์แฝดนั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตามมีผู้หญิงจำนวนมากที่ไข่ไม่ตกเลย ซึ่งกรณีนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยากค่ะ
อย่างไรก็ตามภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS) สามารถเยียวยาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารด้วยค่ะ งดหวาน งดมัน เน้นโปรตีนจากพืช ทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เน้นผักผลไม้ค่ะ เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน
📚จากงานวิจัยศึกษาพบว่า "สารเควอซิทิน" ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเยียวยา PCOS ได้ โดยสาร
เควอซิทินพบมากใน "น้ำมะกรูดสด" ช่วยปรับสมดุลฺอร์โมน ลดฮอร์โมนเพศชาย ปรับให้ประจำเดือนมาตรง ส่งผลต่อการตกไข่ปกติ
.
5. หลังจากไข่ตกแล้วจะมีอายุอยู่ได้แค่ 24 ชั่วโมง
เซลล์ไข่มีอายุสั้นมากเลยค่ะ หลังจากที่ไข่ตกมันก็จะเสื่อมไปอย่างรวดเร็วและเวลาที่รอการปฏิสนธิก็เริ่มนับถอยหลังนับจากนั้นค่ะ หลังจากไข่ตกออกมาประมาณ 12-24 ชม. "เซลล์ไข่จะเริ่มฝ่อสลายไป" และจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหากไม่ได้รับการผสมจากอสุจิภายในระยะเวลานั้น ดังนั้นแม่ๆ ก็หมดโอกาสตั้งท้องค่ะ ต้องรอรอบประจำเดือนและไข่ตกรอบใหม่ค่ะ
ดังนั้นเวลาที่เราควรจะมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้ตั้งครรภ์คือ
ช่วงก่อนเวลาไข่ตกค่ะ เพราะสเปิร์มเมื่อถูกปล่อยเข้ามาในร่างกายผู้หญิงแล้วจะมีชีวิตอยู่ประมาณ 3-5 วัน ดังนั้นสเปิร์มจึงมารออยู่ก่อนได้ เมื่อไข่ตกเมื่อไหร่เจ้าสเปิร์มก็เข้าผสมได้นั่นเองค่ะ
อย่างไรก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะในร่างกายของผู้หหญิงที่ต้องมีสภาวะเป็นด่างที่เหมาะสม และความแข็งแรงของเจ้าสเปิร์มจากว่าที่คุณพ่อด้วยค่ะ
.
6. โภชนาการที่ถูกต้องช่วยบำรุงเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพได้
เห็นมั้ยคะว่าผู้หญิงเรานั้นถึงจะเกิดมาพร้อมเซลล์ไข่จำนวนมาก แต่มันก็ลดลงและเสื่อมคุณภาพไปตามเวลา เรื่องนี้เป็นไปตามธรรมชาติที่เราไม่สามารถห้ามการสูญเสียเซลล์ไข่ได้ อย่างไรก็ตามเราสามารถบำรุงเซลล์ไข่ที่มีเหลืออยู่ให้มีคุณภาพได้ ด้วยหลักโภชนาการค่ะ
📚มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธุ์ของการทานอาหารและภาวะเจริญพันธุ์ (The influence of diet on fertility) หลายฉบับ ศึกษาพบว่า...การ
ทาน "อาหารที่มีโปรตีนสูง" โดยเน้นโปรตีนจากพืชและ อาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจะช่วยบำรุง ซ่อมแซมเซลล์และปกป้องเซลล์ไข่จากการถูกทำให้เสียหายจากอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์ไข่สมบูรณ์ขึ้น เป็นการเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้
โดยเน้นการรับประทานโปรตีนจากพืช ลดคาร์โบไฮเดรตขัดสีลง เน้นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนทานไขมันดี และผักผลไม้ การทานอาหารแบบนี้จะส่งผลต่อเซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ขึ้น และส่งผลต่อวงจรการตกไข่ที่เป็นปกติอีกด้วยค่ะ
.
.
ครูก้อยจึงย้ำอยู่ตลอดว่า #เรื่องบำรุงไข่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับแม่ๆที่วางแผนตั้งครรภ์
ต้องบำรุงและดูแลเซลล์ไข่เป็นพิเศษ ด้วยการทาน "อาหารที่มีโปรตีนสูง"
.
.
โดยตามหลักโภชนาการนั้นมนุษย์ทุกคนในแต่ละช่วงวัยต้องทานโปรตีนให้เพียงพอต่อน้ำหนักตัวต่อวัน
สำหรับผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ต้องได้รับโปรตีนอย่างน้อย 1 กรัมต่อนน.ตัว 1 กก. แต่สำหรับผู้หญิงบำรุงไข่ "เตรียมตั้งครรภ์" ต้องได้รับโปรตีนเพิ่มมากขึ้นเป็น 1.5 กรัมต่อนน.ตัว 1 กก. เช่น น้ำหนัก 50 กก. ต้องทานโปรตีนต่อวันให้ได้ 75 กรัม
เพราะโปรตีนจะช่วยบำรุงและซ่อมเซลล์เซลล์ไข่ของเราให้สมบูรณ์ ซ่อมแซมไม่ให้เกิดความเสียหาย นอกจากนั้นต้องทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงเพื่อป้องกันเซลล์ไข่จากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระค่ะ ครูก้อยจึงใส่ใจเรื่อง บำรุงไข่ เป็นพิเศษไงล่ะคะ เพราะไข่ที่สมบูรณ์ มีคุณภาพ "นำไปสู่ตัวอ่อนที่สมบูรณ์" และ "การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ" ค่ะ
Comments