การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ICSI เป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์วิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก อย่างไรก็ตามการทำ ICSI ไม่ได้หมายความว่าจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ 100% เพราะปัจจัยหลักในการประสบความสำเร็จมาจาก "วัตถุดิบตั้งต้น" ซึ่งได้แก่ คุณภาพของเซลล์ไข่ และ คุณภาพของสเปิร์ม นอกจากนี้ความสมบูรณ์ของมดลูกก็เป็นปัจจัยหลักที่จะชี้ว่าตัวอ่อนจะฝังตัวได้หรือไม่ และยังประกอบกับอีกหลายปัจจัยค่ะ วันนี้ครูก้อยจะพาไปศึกษาปัจจัยเหล่านั้นกันค่ะ เพื่อแม่ๆจะได้เตรียมตัวให้พร้อมที่สุดก่อนเข้ากระบวนการทำ ICSI เป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ค่ะ🤰
🔴 1. อายุของฝ่ายหญิง
อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่ออัตราความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไข่ที่เพิ่มขึ้น เซลล์ไข่ที่มีความผิดปกติทางโครโมโซมส่งผลต่อการไม่ปฏิสนธิ หรือ อัตราปฏิสนธิลดลง หรือถ้า ปฏิสนธิก็อาจแบ่งเซลล์ไม่สมบูรณ์ ในกรณีทำ ICSI เมื่อเลี้ยงตัวอ่อน ตัวอ่อนก็จะตายก่อนถึงระยะ Day 5 หรือ ถ้าไม่ตายก็เป็นตัวอ่อนที่มีความผิดปกติทางโครโมโซม เมื่อย้ายกลับมาฝังที่โพรงมดลูกก็จะไม่ติด เกิดท้องลม
📚 โดยสถิติความผิดปกติของโครโซมของเซลล์ไข่ในแต่ละช่วงอายุปรากฏตามข้อมูล ดังนี้
🔹️อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%
🔹️อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%
🔹️อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%
📚 จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร ศรีนครินทร์เวชสาร เมื่อปี 2015 ได้ศึกษาอัตราการปฏิสนธิโดย
การทำ ICSI ในกลุ่มผู้หญิงอายุแตกต่างกัน พบว่า
กลุ่มอายุ 26-30 ปี มีอัตราปฏิสนธิ 87.3%
กลุ่มอายุ 36-40 ปี มีอัตราปฏิสนธิ 84.1%
กลุ่มอายุ 41-45 ปี มีอัตราปฏิสนธิ 71.6%
🔴 2. จำนวนไข่
ในการทำ ICSI ยิ่งเก็บไข่ได้มากเท่าไหร่ยิ่งดีเพราะมีโอกาสปฏิสนธิและเลี้ยงเป็นตัวอ่อนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามจำนวนไข่ที่เก็บได้ ไม่ได้นำไปปฏิสนธิได้ทุกใบ นักวิทย์จะคัด "ไข่สุก" เท่านั้นที่สามารถนำไปปฏิสนธิได้
โดยไข่สุกจะสังเกตุได้จากจุดเล็กๆที่งอกออกมาจากเซลล์ไข่ เรียกว่า Polar Body (PB)
PB ตัวนี้เป็นตัวที่บอกว่า..ไข่ใบนั้นสุกแล้ว ถ้าไข่อ่อนจะไม่มีจุดเล็กๆ จุดนี้ค่ะ นั่นก็คือไข่อ่อนจะไม่สามารถนำมาปฏิสนธิได้
👉 ดังนั้นไข่ที่เก็บออกมาจะใช้ได้กี่ใบต้องมาดูว่าใบไหนเป็น"ไข่สุก" ใบไหนเป็น "ไข่อ่อน" นั่นเองค่ะ
💗 อย่าลืมนะคะ จำนวนไข่ที่มาก ไม่สำคัญเท่าคุณภาพของเซลล์ไข่ ครูก้อยจึงเน้นย้ำเรื่องการบำรุงไข่ให้สมบูรณ์ก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์ บำรุงไปดีอย่างน้อยล่วงหน้า 3 เดือนก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ นำ "วัตถุดิบตั้งต้น" ที่ดีไปให้คุณหมอ ไม่ต้องใช้ดวง แต่ใช้ความพยาม อดทน มีวินัยตั้งใจของแม่ๆเองนี่แหละค่ะ และผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปสมดังใจหวังค่ะ
👩🦰 ศึกษาการบำรุงไข่ล่วงหน้า 3 เดือนก่อนไปทำ IUI,IVF,ICSI
👇👇👇👇 (คลิกอ่านเลยค่ะ)
📱 ชมครูก้อย Live เตรียมตัวอย่างไรก่อนเก็บไข่ทำ ICSI? 👇👇👇👇 (คลิกชมเลยค่ะ)
🔴 3.คุณภาพของเซลล์ไข่
เซลล์ไข่ที่อยู่ในรังไข่ของแม่ๆ เราจะไม่มีทางประเมินคุณภาพได้เลย จนกว่าจะเก็บออกมาแล้ว ซึ่งคุณภาพของเซลล์ไข่นี้ #ต้องบำรุงเตรียมมาให้พร้อมก่อนเก็บไข่ เมื่อเก็บไข่ออกมาแล้วไม่สามารถมาปรับปรุงคุณภาพได้แล้วค่ะ เทคโนโลยีที่ช่วยตรงนี้คือการคัดเลือกไข่ที่สุก และประเมินคุณภาพเบื้องต้นว่าดีแล้วนำมาปฏิสนธิ ซึ่งเราก็ไม่สามารถรู้ได้อีกว่าเซลล์ไข่ที่สุก รูปร่างดีนั้นโครโมโซมปกติหรือไม่ จนกว่าจะเลี้ยงเป็นตัวอ่อนถึงระยะ Day5 แล้วมาคัดโครโมโซมเพื่อเช็คความผิดปกติกครั้งค่ะ
📚 จากการศึกษาเรื่อง Intracytoplasmic Sperm Injection Factors Affecting Fertilization
ได้สรุปสาเหตุที่มาจากคุณภาพของเซลล์ไข่ต่ออัตราการปฏิสนธิในการทำ ICSI ดังนี้
✔ Oocyte Maturity (ความสมบูรณ์ เติบโตพร้อมที่จะปฏิสนธิ) คือ ไข่สุก นั่นเอง หากไข่ที่เก็บได้เป็นไข่ที่ยังไม่สุก ไข่สุกสังเกตได้จาก Polar Body ซึ่งจะเป็นจุดเล็กๆยื่นออกมาจากเซลล์ไข่ หากไข่ไม่สุกอัตราปฏิสนธิก็จะลดลง
✔ Oocyte Morphology (รูปร่าง ลักษณะของ
เซลล์ไข่) ที่สามารถบ่งชี้คุณภาพของเซลล์ไข่ได้
👉 ความเรียบเนียนเนื้อไข่
👉 ความยืดหยุ่นขณะทำ ICSI
👉 รูปร่างทั่วไป สีไม่คล้ำ ไม่มีขยะเซลล์
👉 มี 1 polar body และจุดไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป
👉 ไซโตพลาสซึมมีลักษณะไม่หยาบ สีไม่คล้ำ
👉 เซลล์ไข่ที่ดี ไม่ควรมีช่องว่างระหว่างไซโตพลาสซึม กับ zona pellucida (perivitelline space) มากเกินไป
🔴 4.คุณภาพของสเปิร์ม
📚จากการศึกษาเรื่อง Intracytoplasmic Sperm Injection Factors Affecting Fertilization
ได้สรุปสาเหตุจากความผิดปกติของสเปิร์มที่ส่งผลต่ออัตราปฏิสนธิในการทำ ICSI ได้แก่
✔ Sperm Structural Defect
โครงสร้างของสเปิร์มผิดปกติ เช่น อาจมี vacuole ในส่วนหัว ซึ่งเป็นลักษณะที่บ่งชี้ว่า อสุจิตัวดังกล่าวอาจมีชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมที่แตกหัก (DNA fragmentation)
✔ Sperm DNA damage
DNA (Deoxyribonucleic acid) คือสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลขนาดใหญ่ ที่บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นหาก DNA มีการแตกหักหรือเสียหาย จะส่งผลให้เซลล์มีการทำงานที่ผิดปกติ เมื่อมีการแบ่งเซลล์ ลักษณะที่ผิดปกตินี้จะถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดการกลายพันธุ์
อสุจิเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายที่มีหน้าที่ในการปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสู่รุ่นลูก ดังนั้นระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นใน DNA ของอสุจิ (Sperm DNA damage)
🔸️ #ก็จะส่งผลทำให้อัตราการปฎิสนธิลดลง
🔸️ #อัตราการฝังตัวของตัวอ่อนลดลง
🔸️ และมีอัตราการแท้งสูงขึ้นด้วย
🟠 DNA ในอสุจิแตกหักได้อย่างไร?
สาเหตุที่ทำให้ DNA ในอสุจิแตกหัก (Sperm DNA Fragmentation) มีหลายประการด้วยกัน เช่น การเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) ซึ่งเป็นภาวะที่อสุจิมีสารอนุมูลอิสระมากเกินไป นำ
ไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการทำงานของอสุจิ จนเกิดการแตกหักของ DNA ในที่สุด
นอกจากนี้อายุที่เพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ และมลพิษในสิ่งแวดล้อม ก็สามารถทำให้ DNA เกิดความเสียหายและแตกหักได้
💗 ดังนั้นการทำ ICSI จะใช้เทคโนโลยีในการเลือกสเปิร์มตัวที่ดีที่สุดแล้วจับเจาะกับเนื้อไข่โดยตรง เมื่อเก็บเชื้อมาแล้ว ไม่สามารถมาปรับปรุงคุณภาพของสเปิร์มได้ แต่ทำการคัดตัวที่ดีที่สุดได้ ดังนั้นต้องเตรียมบำรุงวัตถุดิบตั้งต้นให้มีของดีไปให้แพทย์ด้วย การบำรุงสเปิร์มล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเก็บเชื้อจึงเป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่งในการเพิ่มโอกาสสำเร็จ
👱♂️ ศึกษาอาหารบำรุงสเปิร์ม
👇👇👇👇 (คลิกอ่านเลยค่ะ)
🔴 5. ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก
หลังจากเลี้ยงตัวอ่อนได้ในระยะที่เหมาะสมแล้ว ก็จะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก การเตรียมมดลูกให้พร้อมจึงสิ่งที่สำคัญมาก เพราะตัวอ่อนจะฝังตัวหรือไม่มดลูกที่แข็วแรงพร้อมเท่านั้นที่จะโอบอุ้มตัวอ่อนไว้ได้ มดลูกที่พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนนั้น ผนังมดลูกต้องหนาพอ ใสเป็นสุ้น เรียงสวยสามชั้น (Triple lines) และมดลูกต้องอุ่น ไม่เย็น
ผนังมดลูกที่พร้อมในการฝังตัวต้องไม่หนาทึบอันเกิดจากการทับถมของประจำเดือนเก่าที่คั่งค้าง ซึ่งส่งผลให้เลือดไม่ไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้อย่างเพียงพอ ฝังตัวได้ยากและเยื่อบุโพรงมดลูกต้องไม่บางเกินไป โดยควรมีความหนาอยู่ที่ 8-10 มิล ในวันนัดใส่ตัวอ่อน และไม่ควรหนาเกิน 14 มิล ยิ่งไปกว่านั้นมดลูกต้องมีตัวรับฮอร์โมนยาที่ดี คือ มีตัว Receptorในมดลูกที่ตอบสนองฮอร์โมนยาโปร
เจสเตอโรนหรือเอสโตรเจน ที่หมอให้ได้ดี ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถเทสตรงนี้ได้ว่าใครมีตัว Receptor ดีหรือไม่ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนหมอให้ยา 10 ก็ตอบสนองรับได้ 10 บางคนรับได้ 5 โอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนก็จะแตกต่างกันไป ในเรื่องของมดลูกนั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ได้แก่
👉 5.1 เนื้องอกในโพรงมดลูก
หากมีเนื้องอกในโพรงมดลูกขนาดใหญ่ และเนื้องอกนั้นอยู่ในตำแหน่งที่อาจจะขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้ ก่อนเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว จะต้องมีการตรวจภายในให้เรียบร้อยก่อน หากพบเนื้องอกในโพรงมดลูก แพทย์จะได้รักษาหรือผ่าตัดออกก่อนจะเข้ากระบวนการต่อไป
👉 5.2 ผนังมดลูกพริ้ว
เกิดจากการเคลื่อนตัว หรือเกร็งตัวของมดลูก ซึ่งเกิดขึ้นได้เองตลอดเวลา ไม่สามารถบังคับหรือห้ามได้ ทำให้มดลูกมีการบีบตัว และอาจส่งผลต่อการ
ฝังตัวของตัวอ่อนได้ ในกรณีที่มีการเคลื่อนตัวมากผิดปกติ แพทย์อาจพิจารณาให้ทานยาคลายกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อรักษาก่อนใส่ตัวอ่อนค่ะ
👉 5.3 มีภาวะความบกพร่องของการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Luteal phase defect)
ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์ต่ำเกินไป ทำให้ผนังมดลูกไม่ฟอร์มตัวหนาขึ้นพร้อมที่จะรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือแท้งในระยะเริ่มต้น
ในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีผนังมดลูกไม่พร้อมเพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ แพทย์อาจต้องให้ยาฮอร์โมนเสริมให้มดลูกพร้อมก่อน การย้ายตัวอ่อนก็อาจต้องเลื่อนระยะเวลาออกไปอีกค่ะ
👉 5.4 อุ้งเชิงกรานอักเสบ
ซึ่งเป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ได้แก่ มดลูก ปีกมดลูกและท่อนำไข่ ซึ่งหากมีการติดเชื้อที่มดลูกจะส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน หรือ การแท้งในระยะเริ่มต้น
💗 ดังนั้นช่วงที่มีการฟรีชตัวอ่อนไว้รอใส่กลับ แม่ๆมีเวลาเตรียมผนังมดลูกอย่างน้อย 1-2 รอบเดือน จึงควรให้ความสำคัญให้มากที่สุด ทานอาหารเน้นโปรตีนเพื่อสร้างผนังมดลูกให้หนา แข็งแรง ทานอาหารมีฤทธิ์อุ่นและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้อย่างเพียงพอ สร้างสภาวะมดลูกอุ่น ไม่อักเสบติดเชื้อ
❤ ศึกษาขั้นตอนเตรียมผนังมดลูก
(ก่อนใส่ตัวอ่อน) คลิกอ่านเลยค่ะ
👇👇👇👇
📱 ชมครูก้อย Live เตรียมผนังมดลูกอย่างไรให้รอบเดียวผ่าน?!
👇👇👇👇 (คลิกชมเลยค่ะ)
🔴 6. การดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อน
แม่ๆที่ใส่ตัวอ่อนนั้นใน 7 วันแรกเป็นช่วงเวลาที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัว แม่ๆ ควรงดการเคลื่อนไหวเร็ว ไม่ยกของหนัก งดการออกกำลังกาย ระมัดระวังเรื่องอาหารการกินเพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องเสีย และท้องผูก พยายามดื่มน้ำเยอะๆ ทานอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูงเพื่อป้องกันการท้องผูกเพราะถ้าเราต้องเบ่งแรงๆตอนขับถ่ายจะส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวได้ ให้คิดว่า "มากไปดีกว่าน้อยไป" ดูแลตัวเองให้ดีที่สุดค่ะ เราเสียเวลาและเสียเงินทำแล้ว อย่ามาตกม้าตายข้อนี้
ที่สำคัญพยายามผ่อนคลายให้มากที่สุด อย่าเครียด อย่ากังวล หากเครียดจะส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียด "คอร์ติซอล"ออกมา ฮอร์โมนตัวนี้จะไปทำให้ฮอร์โมนเพศผิดเพี้ยน ส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน
นอกจากนี้ต้องใช้ยาตามหมอสั่งอย่างเคร่งครัด และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย อย่าสัมผัสกับสารเคมี การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี เช่น ยารักษาสิว การใช้ยารุนแรงหรือสารเสพติดควรงดทั้งหมด
📱 ชมครูก้อย Live ดูแลตัวเองอย่างไรหลังใส่ตัวอ่อนให้ติด! (คลิกชมเลยค่ะ)👇👇👇👇
📱 ชมครูก้อย Live ครูก้อยอธิบายสาเหตุที่ใส่ตัวอ่อนไม่ติดและวิธีบำรุงอย่างละเอียด
(คลิกชมเลยค่ะ)👇👇👇👇
💗 เห็นแล้วนะคะแม่ๆ อัตราการประสบความสำเร็จของการทำ ICSI ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไข่ สเปิร์ม ความแข็งแรงของมดลูก และการดูแลตัวเองซึ่งมันเป็นสิ่งที่เริ่มจากตัวเราเองทั้งนั้นค่ะ
ครูก้อยจึงเน้นย้ำเสมอว่าก่อนเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว การบำรุงไข่และสเปิร์มให้แข็งแรง มีคุณภาพล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน เป็น key หลัก
ประการหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในความสำเร็จ เพราะการทำ ICSI ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่และสเปิร์มได้ แต่สามารถคัดเลือกไข่ที่ดีและสเปิร์มที่ดีได้ หากนำวัตถุดิบที่ไร้คุณภาพไปให้แพทย์ ผลที่ออกมาอาจต้องผิดหวังค่ะ ดูแลร่างกายให้แข็งแรง มีวินัย ตั้งใจบำรุงตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อไข่และสเปิร์มที่สมบูรณ์ บำรุงสร้างมดลูกให้พร้อม เพื่อกลายเป็นตัวอ่อนน้อยๆที่แข็งแรงฝังตัวได้อย่างสมบูรณ์ในครรภ์ของแม่ๆต่อไปค่ะ
▶️ 🆔 ปรึกษา/สั่งผลิตภัณฑ์บำรุงแบบครูก้อย ที่ Line Official
คลิกลิ้งค์นี้เลย 👉 https://lin.ee/fBa4xkz
📞 Call Center : 083-4395882 (ในวัน-เวลาทำการค่ะ)
#ครูก้อยBabyandMom
ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของบทความไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต
Comments