ท่อนำไข่ตัน เป็นอีกหนึ่งปัญหาของผู้ที่มีบุตรยากที่สามารถพบเจอได้บ่อยครั้งค่ะ โดยท่อนำไข่นั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญในฝ่ายหญิงที่เชื่อมระหว่างมดลูกกับรังไข่ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ให้สามารถเข้ามาปฏิสนธิกับอสุจิ จากนั้นจะเดินทางต่อเพื่อไปฝังตัวที่โพรงมดลูก หากเกิดความผิดปกติของท่อนำไข่ ก็อาจจะทำให้การปฎิสนธิเกิดขึ้นได้ยาก และในบางรายก็อาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าภาวะนี้กันค่ะว่าคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ท่อนำไข่ตัน คืออะไร ทำไมท่อตัน 1 ข้าง จึงท้องยากกว่า 2 ข้าง?
ภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง แต่อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงนั่นคือ ท่อนำไข่อุดตัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคู่รักที่ต้องการมีบุตรจำเป็นต้องมีการตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิง วันนี้เรามีข้อมูลเรื่องนี้มาบอกค่ะ
ท่อนำไข่ คือ...
มาทำความรู้จักท่อนำไข่กันก่อน “ท่อนำไข่” คือบริเวณที่รองรับไข่...ที่ตกออกมาจากรังไข่ ปกติผู้หญิงเราจะมีรังไข่ 2 ข้าง ทำหน้าที่ผลิตไข่ และไข่ก็จะตกเดือนละใบ ซ้าย ที ขวาที สลับกัน (แต่ก็มีบางคนที่ตกด้านเดิมซ้ำๆ)
โอกาสท้องธรรมชาติ "ท่อนำไข่ตัน" 1 ข้าง กับ 2 ข้าง ต่างกันอย่างไร?
เมื่อไข่ตกออกจากรังไข่ ก็จะมาอยู่ที่บริเวณท่อนำไข่ ซึ่งเป็นจุดนัดพบกับสเปิร์มนั่นเอง และเป็นจุดที่ใช้ในการปฏิสนธิหากผู้หญิงที่มีท่อนำไข่ตัน คือไม่สามารถนัดพบกับสเปิร์มได้ จึงหมดโอกาสที่จะท้องธรรมชาติ แต่ถ้าหากตันแค่ 1 ข้าง ก็ยังมีโอกาสท้องเองได้ แต่ต้องรอหน่อย รอให้ไข่มันตกด้านไม่ตัน แต่ถึงกระนั้น การตกไข่ก็ไม่ใช่ว่าจะท้องเสมอไป มันขึ้นอยู่กับคุณภาพของไข่ และความสมบูรณ์แข็งแรงของสเปิร์มในรอบนั้นด้วย ไข่ไม่สวยมันก็ไม่ปฏิสนธิค่ะ
แต่ถ้าตัน 2 ข้าง คือหมดโอกาสท้องธรรมชาติ แต่สามารถท้องได้ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI เพราะการทำเด็กหลอดแก้วนั้นไม่จำเป็นต้องอาศัยท่อนำไข่ เป็นการเก็บไข่ออกมาเลี้ยงภายนอก แล้วย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเลย
แนวทางการตั้งครรภ์ของผู้ที่มีปัญหาท่อนำไข่ตัน 1 ข้าง
สำหรับคนที่ท่อนำไข่ตันเพียงแค่หนึ่งข้าง ก็ยังเหลืออีกหนึ่งข้าง ดังนั้นจึงใช้เทคนิคเพิ่มโอกาสด้วยการทำ IUI ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกได้ ซึ่งวิธีการนี้ค่าใช้จ่ายไม่แพงเหมือน ICSI เป็นวิธีการที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด แต่สถิติความสำเร็จไม่สูงนะคะ ไม่หนีธรรมชาติเท่าไหร่นัก โอกาสติดอยู่แค่ 10% ต่อรอบ (ICSI 30-40% ต่อรอบ ถ้าคัดโครโมโซมร่วมด้วย โอกาสสำเร็จดีดขึ้นเป็น 70-75%)
EX หากสมเปริ์มสามีดี ผญ. อายุยังไม่เกิน 35 จะเริ่มทำ IUI ก่อนก็ไม่ว่ากันค่ะ ยังพอมีเวลา...โดยคุณหมอจะให้คุณแม่กินยากระตุ้นไข่ แล้วอันตราซาวด์ติดตามฟองไข่ ว่ามีไข่โตโดดเด่น สมบูรณ์ ขนาด 18-20 มิล พร้อมที่จะตกด้านไหน?
หากในรอบนั้นไข่ที่โตพร้อมที่จะตก อยู่ด้านที่ท่อนำไข่ไม่ตัน คุณหมอก็จะฉีดยาบังคับให้ไข่ตกตามเวลา แล้วนัดคุณแม่กับสามีมาฉีดเชื้อภายใน 36 ชม. โดยให้ฝ่ายชายหลังนำ้เชื้อออกมา เข้าห้องแลป ปั่นเอาแต่ตัวเป็น คัดตัวตายออก (เพราะสเปิร์มตัวตาย จะเพิ่มค่าการอักเสบให้สเปิร์มตัวเป็นอ่อนแอ) แล้วก็ฉีดเชื้อทั้งหมดนั้นใส่เข้าไปในหลอดยาวๆ แล้วฉีดเข้าไปในช่องคลอดคุณแม่ เพื่อย่นระยะทางที่สเปิร์มต้องว่ายไปหาไข่
เทคนิคทางการแพทย์คือช่วยให้สเปิร์มเจอกับไข่
แต่ถ้าไข่ของเราไม่สมบูรณ์ สเปิร์มไม่แข็งแรง เจอกันไปก็เท่านั้น จะไม่เกิดการปฏิสนธิ หรือถ้ารอบนั้น ผนังมดลูกไม่หนาตัวพร้อม ก็จะไม่เกิดการฝังตัวของตัวอ่อน และไม่เกิดการตั้งครรภ์นั่นเอง
ดังนั้นหากแม่ๆ ที่วางแผนกำลังทำ IVF หรือ ICSI แล้วอยากเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ครูก้อยแนะนำให้บำรุงร่างกายและไข่, เตรียมผนังมดลูก และบำรุงสเปิร์มคุณสามีให้พร้อม เตรียมตัวไปก่อนอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์
อย่างไรก็ดี การตรวจเบื้องต้นว่าท่อนำไข่มีอาการผิดปกติหรือไม่นั้น สามารถทำได้ตั้งแต่ฉีดสีร่วมกับ
เอกซ์เรย์ว่าผ่านเข้าไปในปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ได้หรือไม่ รวมถึงการผ่าตัดส่องกล้องซึ่งเป็นอีกวิธีที่ช่วยตรวจดูสภาพรังไข่และท่อนำไข่ว่ามีส่วนใดที่ผิดปกติ เพื่อนำมาพิจารณาแนวทางการรักษา แต่หากในกรณีภาวะมีลูกยากที่เกิดจากท่อนำไข่อุดตันนั้น การรักษาจะเลือกใช้วิธีผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการท่อนำไข่อุดตันหรือวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว
Comments