มีลูกยาก บำรุงอย่างไร ให้ท้องง่ายขึ้น
มาทางนี้ค่ะคนมีลูกยาก หลายคู่ยังไม่รู้ว่าเราเข้าข่ายมีลูกยากหรือไม่⁉️ ทำการบ้านไปเรื่อยๆเป็นเบบี๋ยังไม่มา ก็ยังนิ่งนอนใจ ขอบอกว่าแบบนี้มีแนวโน้มจะมีลูกยากมากขึ้นไปอีกค่ะ เพราะยิ่งอายุมากขึ้น เซลล์ไข่เสื่อมลง ไข่มีความผิดปกติทางโครโมโซโมโซมมากขึ้นส่งผลให้อัตราปฏิสนธิต่ำ หรือ ตัวอ่อนไม่สมบูรณ์ ไม่ฝังตัว
👉มาเช็คกันก่อนคู่เราเข้าข่ายมีบุตยากหรือไม่ ตามเกณฑ์ทางการแพทย์ให้พิจารณาดังนี้ค่ะ
✅มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ (2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
✅โดยไม่คุมกำเนิด
✅เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี แต่สำหรับฝ่ายหญิงที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป แค่ 6 เดือนพอค่ะ
ประเมินแบบนี้แล้ว พบว่าถูกทุกข้อแล้วยังไม่ท้อง ในทางการแพทย์คือ คู่ของคุณกำลังเข้าสู่ภาวะมีบุตรยากแล้วค่ะ
อยากมีลูกง่ายขึ้น บำรุงอย่างไร❓
ข่าวดีก็คือ....การบำรุงด้วยการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์และส่งผลให้แม่ๆ มีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นได้ สิ่งที่ต้องศึกษาและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่....ถูกหลักโภชนาการ และเสริมด้วยวิตามินบำงเตรีนมตั้งครรภ์
ซึ่งการบำรุงต้องให้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนอย่างจริงจัง เพื่อร่างกายจะได้ปรัยไปในทางที่สมบูรณ์แข็งแรงขึ้น ฮอร์โมนสมดุลขึ้น และมีสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆในร่างกายรวมถึงเซลล์ไข่ได้อย่างสมบูรณ์เพียงพอ
อยากเพิ่มโอกาสท้อง ต้องกินอย่างไร❓
ครูก้อยสืบค้นงานวิจัย สรุปมาให้เป็น 5 Keys to Success ยึดหลัก อาหารก็ต้องกิน...วิตามินก็ห้ามขาด อาหาร 70% วิตามิน 30% #โดยมีสูตรการทานอาหารตามคัมภีร์ ดังนี้ค่ะ
1. เพิ่มโปรตีน :
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน
วารสาร Frontier in Public Health เมื่อปี 2018
ศึกษาพบว่า..อาหารที่ถูกหลักโภชนาการส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น (Influence of Diet on Fertility) โดย "โปรตีน" เป็นสารอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ ที่ช่วยบำรุงเซลล์ไข่ ช่วยให้ไข่ตกปกติ และสำหรับคนที่ทำเด็กหลอดแก้ว การทานโปรตีนเพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มอัตราความสำเสร็จในการตั้งครรภ์อีกด้วย
ที่สำคัญต้องเลือกทานโปรตีนจากแหล่งที่ให้โปรตีนชั้นดี ให้โปรตีนสูง และปลอดภัย คนบำรุงเตรียมท้องควรเลือกทานโปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) โดยมีงานวิจัยศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ทานโปรตีนจากพืช ไขมันดี และวิตามินแร่ธาตุครบถ้วนมีความเสี่ยงเรื่องภาวะไม่ตกไข่ลดลงถึง 66%
📚ยังมีการศึกษาจาก Harvard School of Public health พบว่า การทานโปรตีนจากสัตว์ที่อาจมีฮอร์โมนเร่งเนื้อแดงตกค้างและมีไขมันสูงทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมีบุตรยากถึง 39%
📚 ยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งชื่อว่า ที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of obstetrics and gynocology เมื่อปี 2008
ศึกษาพบว่าผู้หญิงที่เปลี่ยนการรับประทานโปรตีนจากสัตว์มาเป็นโปรตีนจากพืชอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการมีบุตรยากเนื่องปัญหาเรื่องไข่ไม่ตกได้ถึง 50%
📚งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2012
ศึกษาพบว่า ผู้ที่จะเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ที่เปลี่ยนการรับประทานอาหารเป็นแบบเพิ่มโปรตีนและลดคาร์โบไฮเดรตลงก่อนที่จะเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้วโดย
➕เพิ่มโปรตีน 16.4%
➖ลดคาร์บ 22.3%
👉มีอัตราการเพิ่มจำนวนของบลาสโตซิสต์ (blastocyst) จาก18.9% เป็น 45.3%
👉โดยมีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก 16.6% เป็น 83% เลยทีเดียวค่ะ
ดังนั้นคนบำรุงเตรียมท้องต้องเน้นโปรตีนจากพืช ได้แก่ ถั่วต่างๆ ถั่วเหลือง ถั่วลูกไก่ งาดำ เมล็ดฟักทอง
หรือ ทานเนื้อสัตว์ เน้นปลา ไข่ไก่ นมแพะ (งดนมวัว เพราะแลคโตส หรือ น้ำตาลสูง)
2. ลดคาร์บ : ลดคาร์บในที่นี้คือ ลดคาร์บที่ขัดสี (Refined carb) เช่น ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว สปาก็ตตี้ ขนมปัง แป้งเบเกอรี่ เพราะทานเข้าไปจะย่อยเป็นน้ำตาลทันที อืนซูลินถูกกระตุ้นทันที เสี่ยงต่อภาวะดื้ออินซูลิน นำไปสู่ฮอร์โมนที่ผิดเพี้ยน ให้เน้นทานคาร์บเชิงซ้อน (Complexed carb) ได้แก่ ข้าวกล้อง ธัญพืช เช่น ลูกเดือย งาดำ แฟล็กซีด ควินัว เมล็ดฟักทอง ขนมปังโฮลวีท คาร์บเชิงซ้อนใช้เวลาย่อยนาน ไม่เพิ่มน้ำตาลเฉียบพลัน แถมยังมีวิตามินและกากไยไฟเบอร์สูง ดีต่อระบบเผาผลาญและระบบขับถ่าย
3. งดหวาน : ความหวานจากน้ำตาลคือภัยร้ายที่สุดที่ทำลายเซลล์ รวมไปถึงเซลล์ไข่ ทำให้เราแก่ ไข่แก่ เพราะน้ำตาลคืออนุมูลอิสระ ต้องงดหวานไปเลนค่ะ ความหวานที่ทานได้ ได้แก่ น้ำผึ่งชันโรง หรือ น้ำอินทผลัมที่มีค่าดัชนี้น้ำตาลต่ำ (Low GI) แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน ถ้าอยาดหวานก็ให้เปลี่ยนมาทานน้ำผึ้ง
ชันโรง หรือ น้ำอินทผลัมแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม ชานมต่างๆนะคะ
4. ทานกรดไขมันดี
หากบำรุงเตรียมท้องสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ "ไขมัน"
ค่ะ แต่แม่ๆต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าต้องทาน "ไขมันดี" ไม่ใช่เนื้อติดมัน อาหารฟาสต์ฟูดที่มีไขมันทรานส์ หรือของมัน ของทอด แต่เป็นไขมันดี (HDL) หรือ ไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) หรือ โอเมก้า 3 ที่มีในปลาทะเล Fish Oil อะโวคา
โด ธัญพืชจำพวก งาดำออแกนิคคั่วเตาถ่าน (Pure Black) แฟล็กซีดและอัลมอนด์จากธัญพืชบด Good Grain เมล็ดฟักทองออแกนิค (Pure Seed) น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เป็นต้น
ไขมันดีมีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยร่างกายต้องใช้ไขมันในการผลิตฮอร์โมนเพศ หากร่างกายไม่ได้รับไขมันดีอย่างเพียงพอร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล
5. เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์
สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) หมายถึงสารที่ช่วยต่อต้านหรือกำจัดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ในร่างกาย มีงานวิจัยศึกษาถึงประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ พบว่า การทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระ ยังช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ จึงช่วยลดความเสื่อมสภาพของร่างกาย ช่วยคงความอ่อนเยาว์ และมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น โดยอาหารที่ให้
สารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว มะกรูด ผักผลไม้ เช่น ผักเคล ผักโขม กะหล่ำม่วง มะเขือเทศ บีทรูท แครอท ทับทิม
📚จากการศึกษาพบกว่า น้ำมะกรูดคั้นสด อุดมไปด้วย มีวิตามินซีสูง ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) และสารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทีน (Quercetin) สูงที่สุด
“ไบโอฟลาโวนอยด์” หรือ “วิตามินพี” เป็นวิตามินที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินซี และยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และเส้นเลือดฝอย โดยเฉพาะบริเวณมดลูกที่มีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ทำให้มดลูกแข็งแรง เพราะมีเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวง่ายขึ้น และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะที่มดลูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแท้งในระยะเริ่มต้น และ “ไบโอฟลาโวนอยด์” ยังไปเสริมการทำงานของวิตามินซีที่ช่วยเรื่องการเพิ่มระดับฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการตั้งครรภ์
📚สอดคล้องกับงานวิจัยจาก The University of Texas ที่ศึกษาพบว่าผู้หญิง 53% ที่ทานอาหารวิตามินซี และไบโอฟลาโวนอยด์สูงจะมีช่วงลูเตียลเฟส (Luteal Phase) ยาวขึ้น ลูเตียลเฟส คือระยะหลังการตกไข่ที่ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น ร่างกายจะสร้างมดลูกให้หนาขึ้นพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน หากช่วงระยะเวลานี้สั้นโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนก็ลดลง
อีกทั้งในน้ำมะกรูดคั้นสดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ "เควอซิทีน" สูงที่สุด โดยการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณ “สารเควอซิทิน”ในผักผลไม้รสเปรี้ยวชนิดต่างๆ พบว่าในมะกรูดมีสารเควอซิทินสูงที่สุดถึง 43±9 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเควอซิทีนมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงเซลล์ไข่ ป้องกันเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ทำให้ไข่สวยสมบูรณ์ เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
📚ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Oncotarget เมื่อปี 2017 ศึกษาพบว่า สารเควอซิทินช่วยลดการ
เสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ โดยปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระ “Quercetin” ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมง จะเห็นว่าหากไม่มี “สารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทิน” ไข่จะฝ่อเสียเกือบ 80% แต่ในกรณีที่มีเควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซีสต์ได้อีกเท่าตัว
นอกจากนี้อนุมูลอิสระจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ไข่ได้มากยิ่งขึ้นในกระบวนการ “ทำเด็กหลอดแก้ว” เนื่องจากเซลล์ไข่ที่เก็บออกมา จะไม่มีของเหลวที่เรียกว่า “follicular fluid” ป้องกันอยู่เหมือนในร่างกายมนุษย์ ทำให้เซลล์ไข่ถูกทำลายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้น ผู้หญิงที่มีบุตรยากนอกจากจะบำรุงเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อจะได้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพแล้ว ต้องป้องกันเซลล์ไข่ให้ถูกทำลายน้อยที่สุดก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์ด้วยการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
➕เสริมวิตามินบำรุง
เหตุใดต้องทานวิตามินบำรุง❓
อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เราได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน เพราะเรารับประทานในปริมาณน้อย และสารอาหาร หรือ วิตามินบางชนิดร่างกายสามารถดูดซึมได้น้อยในรูปแบบของ
อาหาร และเราไม่สามารถมั่นใจได้ว่าในอาหารแต่ละมื้อเราได้รับวิตามินที่เพียงพอตามปริมาณที่ร่างกายต้องการได้รับหรือไม่
ดังนั้น หลักในการบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ของคือ ทานวิตามิน 30% ค่ะ ครูก้อยจะเน้นเรื่องโภชนาการเป็นหลัก เพราะอาหารสำคัญที่สุดค่ะ แต่ก็ไม่ขาดเรื่องวิตามินเสริมที่จะทำให้ร่างกายเราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและจำเป็นสำหรับคนที่เตรียมตัวเป็นคุณแม่ค่ะ
ครูก้อยใช้สูตรนี้ค่ะ อาหาร 70% วิตามิน 30%
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Medicine Insight Womens Health เมื่อปี 2019
ได้รวบรวมผลการศึกษา ถึงความสำคัญของ micronutrients ซึ่งได้แก่ "วิตามินและแร่ธาตุ" ที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์
งานวิจัยศึกษาพบว่าสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
นอกจากการทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการแล้ว การขาดวิตามินและแร่ธาตุก็เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่ง เพราะวิตามินและแร่ธาตุมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างปกติและสมบูรณ์ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ด้วย
การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอนอกจากจะส่งผลให้ผู้หญิงมีลูกง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด
✔ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation)
✔การปฏิสนธิ ( fertilization)
✔การฝังตัวของตัวอ่อน (implantation)
✔การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo development)
✔ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย
โดยหัวใจสำคัญคือ ต้องทานอย่างต่อเนื่องล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ค่ะ เป็น
"prenatal vitamins" หรือ "วิตามินเตรียมตั้งครรภ์" ที่จะเสริมสารอาหารให้กับร่างกายแม่ๆเตรียมพร้อมก่อนเกิดการปฏิสนธิและการแบ่งตัวของตัวอ่อน พูดง่ายๆคือ เราต้องมีวิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารที่เพียงพอในร่างกายพร้อมอยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์ จึงจะช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการ และช่วยให้ตัวอ่อนพัฒนาไปได้อย่างสมบูรณ์ค่ะ
และนี่คือ สูตรสำเร็จของคนท้องยาก
อยากบำรุงให้มีโอกาสท้องง่ายขึ้นให้นำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัดบำรุงล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนทั้งกรณีปล่อยธรรมชาติหรือก่อนเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว
อย่าลืมนะคะบำรุงเตรียมท้อง "อาหารก็ต้องกิน วิตามินก็ห้ามขาด"
ต้องเน้นอาหาร 70% วิตามิน 30% บำรุงก่อนท้องล่วงหน้า 3 เดือน ยิ่งบำรุงอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และต่อเนื่อง โอกาสประสบความสำเร็จก็จะมีมากขึ้นเท่านั้นค่ะ เมื่อแม่ๆบำรุงร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ แข็งแรงและพร้อมที่สุด ครูก้อยเชื่อเหลือเกินว่า เบบี๋ต้องมาอยู่กับเราค่ะ
Comments