
มนุษย์เมนส์ เหวี่ยงวีน ซึมเศร้า กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)...รับมืออย่างไร❓
🙎♀️ผู้หญิงหลายคนอาจประสบกับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็นอาการทางร่างกาย เช่น ปวดท้อง ตัวบวม คัดเต้านม หรืออาการแปรปรวนทางอารมณ์ เหวี่ยงวีน อาการเหล่านี้ปกติหรือไม่? เกิดจากสาเหตุใด และจะรับมืออย่างไร? ครูก้อยสืบค้นข้อมูลมาให้แล้ว ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ
#อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome) หรือที่เรียกว่า พีเอ็มเอส (PMS) คืออาการทางอารมณ์ ร่างกายและพฤติกรรม เช่น หงุดหงิด เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือเจ็บเต้านม พบว่าอาการต่าง ๆ ของอาการก่อนมีประจำเดือนนั้นเกิดกับสตรีวัยเจริญพันธ์ได้ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ โดยระดับความรุนแรงของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จะมีตั้งแต่ที่สามารถสังเกตได้เล็กน้อยไปจนถึงอาการที่รุนแรงมาก อาการต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนและมักจะ
หายไปเมื่อประจำเดือนมา
#อาการก่อนมีประจำเดือนเกิดขึ้นได้อย่างไร❓
ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิง คือ ฮอร์โมนโปรเจสเตโรน (Progesterone) และเอสโตรเจน (Estrogen) ในช่วงก่อนมีประจำเดือน รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง โดยมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีผลต่ออารมณ์และเป็นส่วนที่กระตุ้นอาการก่อนมีประจำเดือนได้ การขาดเซโรโทนิน อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือน ทำให้เกิดความอ่อนล้า มีความอยากอาหารมากขึ้นและทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับได้
นอกจากนั้น อาการก่อนมีประจำเดือนสามารถมี
ความรุนแรงขึ้นได้หากเกิดภาวะซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม ภาวะซึมเศร้าไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดอาการนี้
#อาการก่อนมีประจำเดือนเป็นอย่างไร ❓
มักจะเกิดขึ้น 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน โดยอาการและความรุนแรงของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป และอาจเกิดขึ้นไม่ซ้ำกันในแต่ละเดือน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดเพียงไม่กี่อาการดังต่อไปนี้
👉อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่
- มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
- มีความตึงเครียด วิตกกังวล และไม่มีสมาธิ
- มีอารมณ์เศร้า ร้องไห้บ่อย
- มีความต้องการหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ
- มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal)
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ (Insomnia)
👉อาการทางด้านร่างกาย ได้แก่
- เจ็บเต้านม
- ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- ปวดศีรษะ
- ปวดท้อง ท้องอืด
- ท้องผูกหรือท้องเสีย
- น้ำหนักตัวเพิ่ม
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- มีสิวขึ้น
อาการเจ็บปวดทางร่างกายหรือความเครียดที่เกิดขึ้นกับบางราย อาจมีความรุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่โดยปกติอาการต่าง ๆ จะหายไปภายใน 4 วัน ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน
หากอาการก่อนมีประจำเดือนเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถควบคุมอาการได้และยังคงอยู่หรือพัฒนาไปจนเกิดกลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder: PMDD) ซึ่งมีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากกว่าอาการก่อนมี