
มาดู 4 ข้อบ่งชี้ ที่ควร "คัดโครโมโซมตัวอ่อน" กันค่ะ
ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วหรือ ICSI นั้นเมื่อแม่ๆได้ตัวอ่อนแล้ว ก่อนจะทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก คุณหมออาจแนะนำให้ "คัดโครโมโซมตัวอ่อน" ก่อน เพื่อเป็นการคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนนั้น เนื่องจากว่า
ความผิดปกติทางพันธุกรรมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการฝังตัวของตัวอ่อนซึ่งอาจทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดลงค่ะ
จากข้อมูลทางการแพทย์แม่ที่มีการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้นจะยิ่งเสี่ยงที่จะมีตัวอ่อนผิดปกติในลักษณะการกลายพันธุ์ของโครโมโซมสูงทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ต่ำ หรือ บางรายพบปัญหาการแท้งซ้ำซากซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนเองค่ะ
ดังนั้นการคัดโครโมโซมตัวอ่อนจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ เพราะตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติจะมีโอกาสฝังตัวที่มดลูกได้อย่างสมบูรณ์ เพิ่มโอกาสท้องมากขึ้น และลดความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรมค่ะ
#ข้อบ่งชี้ในการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน
(1) สตรีที่มีอายุมาก ( อายุกว่า 35 ปี )
เนื่องจากอายุที่มากขึ้นส่งผลต่อความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไข่ ซึ่งไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติก็จะส่งผลต่อตัวอ่อนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
โดยสตรีที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ในสถิติทางการแพทย์นั้นเซลล์ไข่จะมีโครโมโซมไปแล้วถึง 50% ดังนั้นแม่อายุมากจึงควรตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้ายตัวอ่อนค่ะ
.
(2) สตรีที่มีประวัติการแท้งบุตรหลายครั้ง โดยไม่ทราบสาเหตุ
ตัวอ่อนที่โครโมโซมผิดปกติส่งผลต่อการไม่ฝังตัว หรือแท้งง่าย หรือ อาจเกิดท้องลม ดังนั้นหากมีประวัติแท้งบ่อนโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนค่ะ เพราะมันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้แท้งซ้ำซาก ใส่ทีไรไม่ติด หรือ แท้งไปทุกครั้ง
.
(3) สตรีที่เคยมีประวัติแท้งบุตรที่โครโมโมโซมผิดปกติ
ข้อนี้หากแม่ๆคนใดเคยตรวจและทราบแล้ว หากจะทำการน้ายตัวอ่อนอีกครั้ง ควรตรวจคัดกรองเลยค่ะ เพราะเคยมีประวัติมาแล้ว โอกาสที่อาจจะเกิดได้อีกมีสูง
.
(4) คู่แต่งงานที่เคยทำเด็กหลอดแก้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป
หากทำ ICSI ล้มเหลว โดยยังไม่เคยตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้าย ถึงเวลาครั้งใหม่ต้องตรวจแล้วค่ะ เพราะตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติ ใส่ไปก็ไม่ฝังตัว กลายเป็นท้องลม หรือ แท้งง่าย จึงอาจเป็นสาหตุที่ทำกี่ครั้งก็ไม่สำเร็จ
.
กลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงข้างต้นควรตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน รวมถึงกลุ่มผู้ที่มีโรคพันธุกรรมในครอบครัวที่อาจถ่ายทอดโรคดังกล่าวไปยังรุ่นลูก เป็นการลดความเสี่ยงให้กับครอบครัวที่จะมีบุตรเกิดมาพร้อมกับโรคทางพันธุกรรม
.
.
#วิธีการคัดโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว
•ตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีจะได้รับการแยกเซลล์ออกมา 1-2 เซลล์ ด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษโดยใช้เลเซอร์หรือกรด
•เซลล์ที่ได้จะถูกนำมาตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยว่าเซลล์นั้นมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ต้องการตรวจหาหรือไม่
•ตัวอ่อนเฉพาะที่มีเซลล์ที่ตรวจพบว่ามีความปกติเท่านั้นที่จะได้ย้ายเข้าโพรงมดลูกตามขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกต่อไป
.
.
อย่างไรก็ตามการตรวจโครโมโซมไม่สามารถดึงเอาทุกเซลล์มาตรวจได้ จะดึงแค่เซลล์บางส่วนมาตรวจ ดังนั้นจึงยังมีข้อจำกัดตรงนี้อยู่ แม่ๆ จึงต้องเผื่อใจไว้บ้างค่ะ ถึงแม้การแปรผลจากการตรวจโครโมโซมคือผ่านก็จริง แต่ก็ยังมีเซลล์ที่ไม่ได้ตรวจ มันก็อาจเป็นเซลล์เหล่านั้นก็ได้ที่ผิดปกติและส่งผลต่อการฝังตัว ประกอบ
กับยังมีปัจจัยอื่นอีกได้แก่ ความแข็งแรงของผนังมดลูก การดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อน หรือ การได้รับสารเคมีบางชนิดอาจส่งผลต่อการฝังตัวได้ค่ะ
.
.
ท้ายที่สุดนี้การดูแลร่างกายให้แข็งแรง เตรียมบำรุงผนังมดลูกให้พร้อมก่อนใส่ตัวอ่อน และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อนก็จะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการฝังตัวได้ค่ะ