
งานวิจัยเผย 6 ประโยชน์
สารต้านอนุมูลอิสระ "เควอซิทีน"
ต่อสตรีมีบุตรยาก"
"เควอซิทิน" (Quercetin) เป็นหนึ่งในสารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช สารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่นหรือรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว
เควอซิทีนเป็นรงควัตถุในกลุ่ม "ฟลาโวนอยด์" (Flavonoids) ที่พบในพืชผักผลไม้หลายชนิด เช่นหอมแดง แอปเปิ้ล เบอร์รี่ ผักเคล และพบสูงสุดในมะกรูดสดเมื่อเทียบกับผักผลไม้ชนิดอื่น โดยมีงานวิจัยศึกษาเปรียบเทียบปริมาณเควอซิทีนในผักผลไม้หลายชนิด พบว่า
🍋มะกรูดมีปริมาณสารเควอซิทีนสูงที่สุดถึง 44mg/มะกรูด 100 g เมื่อเทียบกับผลไม้เปรี้ยวชนิดอื่น
เควอซิทิน เป็นสารที่ให้ฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่นสูงที่สุด ให้ฤทธิ์ในการป้องกันดังนี้
- ป้องกันการอักเสบของเซลล์
- ป้องกันแบคทีเรียและไวรัส
- ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค
- ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน
- ช่วยป้องกันอาการแพ้
- ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
ป้องกันหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน ป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด
- มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง ยังยับยั้งวงจรชีวิตเซลล์ หยุดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
- ยับยั้งการเกิดเกิดอะพ็อพโทซิส (apoptosis) หรือการตายหรือเสื่อมของเซลล์
📚นอกจากนี้มีงานวิจัยหลายฉบับศึกษาถึงสรรพคุณของเควอซิทินที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ซึ่งส่งผลดีต่อผู้มีบุตรยาก ครูก้อยศึกษาและรวบรวมมาให้แม่ๆแล้ว ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ
1. ป้องกันไข่ฝ่อ
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Oncotarget เมื่อปี 2017
ศึกษาพบว่า...สารเควอซิทินช่วยลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ โดยปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระ “Quercetin” ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมาก
โดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมง
จะเห็นว่าหากไม่มี “สารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทิน” ไข่จะฝ่อเสียเกือบ 80% แต่ในกรณีที่มีเควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซีสต์ได้อีกเท่าตัว
📚อีกงานวิจัยหนึ่ง เป็นงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cell Death & Disease เมื่อปี 2020 ศึกษาสาเหตุการท้องยากอันเนื่องมาจากเซลล์ไข่ที่เสื่อม (impaired oocyte) เมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น เพื่อหาแนวทางในการชะลอเซลล์ไข่ไม่ให้ฝ่อเสียหายจากการเลี้ยงไข่ภายนอก (In Vitro Maturation: IVM)
โดยได้ศึกษาจากไข่ของหนูทดลองแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับสารเควอซิทีนกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสารเควอซิทิน พบว่า...
เควอซิทีนช่วยให้อัตราการเลี้ยงไข่สำเร็จ 19.6% และเพื่มอัตราตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซีสต์ 15.5% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้สารเควอซิทิน ดังนั้นเควอซิทินจึงอาจมีส่วนช่วยในการเพิ่มความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาผู้มีบุตรยากต่อไป
.
2. บำรุงรังไข่
📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research เมื่อปี 2018
ศึกษาถึงคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของสารเควอซิทินที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของรังไข่ (Ovary) จากงานวิจัยสรุปไว้ว่า "รังไข่" เป็นอวัยวะที่ sensitive ง่ายมากต่อการเสื่อมถอยของเซลล์
(aging) จากอนุมูลอิสระ หรือ ความแก่นั่นเอง ซึ่งรังไข่ที่แก่บอกได้จากการลดลงของฟองไข่และคุณภาพของเซลล์ไข่
รังไข่ของผู้หญิงวัยทอง หรือ ผู้หญิงที่มีภาวะวัยทองก่อนวัยจะทำงานด้อยประสิทธิภาพลง ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเซลล์ในรังไข่ก็ลดน้อยลง เมื่อสารต้านอนุมูลอิสระในรังไข่เพิ่มมากขึ้นก็จะทำลายโครงสร้างและระบบการทำงานของรังไข่ โดยอนุมูลอิสระจะเข้าไปทำลาย lipid และกรดไขมัน รวมไปถึงโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์
จากงานวิจัยศึกษาในหนูทดลองพบว่า วาารเควอซิทินช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของรังไข่ซึ่งอาจส่งผลต่อการช่วยชะลอความเสื่อมของรังไข่