"บริจาคไข่" ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จึงจะทำได้?
top of page
ค้นหา

"บริจาคไข่" ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จึงจะทำได้?



"บริจาคไข่" นับเป็นเรื่องปกติในปัจจุบันสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก การขอรับไข่เพื่อการตั้งครรภ์เป็นวิธีที่หลายๆ ครอบครัวเลือก เนื่องจากด้วยภาวะทางร่างกายของฝ่ายหญิงที่อาจไม่ค่อยเอื้ออำนวยสำหรับการตั้งครรภ์มากนัก จึงทำให้ต้องเลือกวิธีนี้มาเพื่อแก้ปัญหา อย่างไรก็ดีค่ะ การบริจาคไข่หรือรับไข่นั้น มิได้ทำกันได้ทั่วไป ต้องผ่านการคัดกรองและพิจารณาของแพทย์ทั้งผู้รับและผู้บริจาค อีกทั้งในเรื่องของกฏหมายที่ค่อนข้างเคร่งครัดในเรื่องน้มากทีเดียว ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาดูกันค่ะว่าการจะบริจาคไข่ได้นั้น ต้องมีขั้นตอน หรือ กฏระเบียบต่างๆ อย่างไรบ้างค่ะ


"บริจาคไข่" คืออะไร บริจาคได้ทุกคนไหม หากต้องการบริจาคต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?


สำหรับว่าที่คุณแม่ที่ไม่สามารถผลิตไข่ของตนเองได้ หรือผลิตได้ไม่ดี แล้วต้องการจะมีบุตรมีทางออกคือ การใช้ไขบริจาคจากสตรีอื่นมาผสมกับอสุจิของสามีตนเอง แล้วถ้าเราอยากเป็นผู้บริจาคไข่บ้าง ต้องทำอย่างไร แล้วต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้างมาเช็คกันเลยค่ะ


การบริจาคไข่ คือ..


ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คู่สมรสที่มีบุตรยาก มีสาเหตุหลายอย่าง บางอย่างจะต้องรักษาตามสาเหตุ เช่น ไข่ไม่ตกก็ต้องให้ยาตกไข่ คู่สมรสที่จำเป็นจะต้องมาขอไข่หรืออสุจิบริจาค ก็จะเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง อาทิ ผู้ชายเป็นหมันไม่มีตัวอสุจิออกมาเลย เวลาจะตั้งครรภ์ก็อาจจะต้องขออสุจิของคนอื่น ซึ่งก็เป็นเหตุที่มาของการบริจาคอสุจิ ส่วนในฝ่ายหญิง บางคนอาจจะหมดประจำเดือนเร็ว เช่น อายุยังไม่ถึง 40 ปี รังไข่ไม่ทำงาน หรือถูกตัดรังไข่ ก็จะไม่มีไข่ที่จะตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง กรณีนี้ก็จะต้องขอบริจาคไข่จากคนอื่นนั่นเองค่ะ


คุณบัติของผู้ที่สามารถบริจาคไข่ได้ มีอะไรบ้าง?


ก่อนการบริจาคไข่ แพทย์จะตรวจร่างกายของผู้บริจาคก่อน เพื่อตรวจดูว่าผู้บริจาคมีโรคหรือภาวะผิดปกติบางอย่างหรือไม่ อย่างโรคทางพันธุกรรม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความผิดปกติทางด้านจิตใจ รวมไปถึงการพิจารณาในด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริจาคอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการบริจาคไข่ เช่น


1. อายุระหว่าง 20-35 ปี และผ่านการตรวจประเมินความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ


2. มีหรือเคยมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายกรณีที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายต้องมีหนังสือยินยอมจากสามีที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร


3.ต้องมีสัญชาติเดียวกันกับผู้รับบริจาค


4.ห้ามผู้รับบริจาคไข่ใช้ไข่จากผู้บริจาคมากกว่า 1 คนในแต่ละรอบการรักษา


5. ผู้บริจาคไข่ให้บริจาคไข่ได้ไม่เกิน3ครั้ง


กระบวนการเก็บไข่บริจาค


ผู้บริจาคไข่จะได้รับการกระตุ้นรังไข่ด้วยยาที่กระตุ้นรังไข่ที่เหมาะสม และเมื่อถึงระยะเก็บไข่ ก็จะมีการเจาะดูดไข่ออกมาเหมือนการเจาะดูดไข่ทำเด็กหลอดแก้วทั่วๆ ไป จากนั้นก็ให้สามีของผู้รับบริจาคเก็บน้ำเชื้อออกมาเพื่อทำการผสมกับไข่ที่ได้ในห้องปฏิบัติการเด็กหลอดแก้ว ซึ่งจะเลี้ยงเป็นตัวอ่อนอีก 2-3 วัน จึงใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกของผู้รับ


ผลลัพธ์ด้านการตั้งครรภ์จากการรับไข่บริจาค


ทั้งนี้ ผลลัพธ์ด้านการตั้งครรภ์และสูติกรรม มีอัตราการตั้งครรภ์มีชีวิตในมดลูกสูงประมาณ 50-60% ต่อการย้ายตัวอ่อน 1 ครั้ง ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าหากใช้การย้ายตัวอ่อนหลายครั้งโอกาสประสบความสำเร็จประมาณ 75-90% ไม่มีภาวะแทรกซ้อนพิเศษสำหรับการตั้งครรภ์จากไข่บริจาคและมีผลลัพธ์ที่ดี


อย่างไรก็ตามผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่อายุ มากกว่า 35 ปีซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว นอกจากนี้การตั้งครรภ์แฝดพบบ่อยมากขึ้นประมาณ 25%ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ทำให้ความเสียงด้านสูติกรรมมากขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี ทารกโตช้าในครรภ์ ในที่สุดจากหลายเหตุผลทำให้มีอัตราการผ่าคลอดประมาณ 50-75%


บทความที่น่าสนใจ


ดู 4,746 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page