ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน คืออะไร ต้องรักษาอย่างไรให้ตัวอ่อนฝังง่ายขึ้น?
top of page
ค้นหา

ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน คืออะไร ต้องรักษาอย่างไรให้ตัวอ่อนฝังง่ายขึ้น?



ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน เป็นอีกหนึ่งภาวะที่คุณแม่ต้องคอยศึกษาและเฝ้าระวังไว้ค่ะ เนื่องจากในการทำ เด็กหลอดแก้ว IVF ICSI นั้น ย่อมเป็นที่ทราบกันดีว่า ช่วงการใส่ตัวอ่อนเป็นช่วงที่สำคัญมาก ซึ่งในคุณแม่บางท่านอาจมีปัญหาบางอย่างที่ไม่สามารถทำให้ตัวอ่อนฝังตัวในมดลูกได้ ซึ่งเกิดจากอะไรนั้น ในบทความนี้เราจะมาศึกษารายละเอียดกันค่ะ


ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน คืออะไร เกิดจากอะไร รักษาได้ไหม?


สำหรับผู้มีบุตรยากหลังจากที่รักษามีบุตรยากด้วยวิธี เด็กหลอดแก้ว IVF ICSI ไปแล้วขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการใส่ตัวอ่อน และเป็นการลุ้นว่าตัวอ่อนนั้นจะกลายเป็นทารกหรือไม่ ซึ่งผู้หญิงทุกคนไม่ได้โชคดีที่ตัวอ่อนจะสามารถเกาะติดมดลูกได้ในครั้งแรก ซึ่งในบางกรณี ก็เกิดภาวะที่ว่าจะฝังตัวอ่อนกี่ครั้ง ก็ไม่ยอมฝังตัวสักทีจนกลายเป็นภาวะที่ตัวอ่อนไม่ยอมฝังตัวแบบซ้ำซ้อน ดังนั้น ภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร รักษาได้หรือไม่ ส่งผลต่อการมีบุตรหรือเปล่า ครูก้อยจะมาเล่าให้ฟังค่ะ



ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน ( repeat implantation failure ) คือ การที่ผู้ป่วยไม่ตั้งครรภ์หลังจากการย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีหลายครั้ง ซึ่งเกณฑ์ในการวินิจฉัยมีหลายแบบ ยังไม่มีการกำหนดที่แน่ชัด เช่น


  • ไม่ตั้งครรภ์หลังจากมีการย้ายตัวอ่อนที่ดีเป็นจำนวนรวมกัน 12 ตัวอ่อนขึ้นไป

  • ไม่ตั้งครรภ์หลังจากย้ายตัวอ่อนคุณภาพดีรวมกันเกิน 10 ตัวอ่อน หรือย้ายทั้งหมด 4 ครั้งขึ้นไป

  • ไม่ตั้งครรภ์หลังจากย้ายตัวอ่อนตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป โดยแต่ละครั้งมีตัวอ่อนคุณภาพดีไม่น้อยกว่า 2 ตัวอ่อน

อย่างไรก็ดี ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความสงสัย คับข้องใจทั้งคู่สมรสที่อยากมีบุตรและแพทย์ที่ทำการรักษา ทั้งในเรื่องความคาดหวังในการตั้งครรภ์ ว่าเหตุใดใส่ตัวอ่อนหลายครั้งแล้วยังไม่ท้องซักที ในทางการแพทย์ก็ยังโต้เถียงกันอยู่ว่าเกณฑ์วินิจฉัยเป็นอย่างไร จำเป็นต้องสืบค้นหาสาเหตุหรือไม่ ต้องรักษาหรือไม่ และจะป้องกันได้อย่างไรบ้างค่ะ



repeat implantation failure ได้แก่อะไรบ้าง ลองมาศึกษาไปพร้อมๆ กันค่ะ



การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการซึ่งมีสภาวะแวดล้อมต่างจากธรรมชาติ อาจจะมีผล กระทบต่อตัวอ่อน ทำให้การพัฒนาของตัวอ่อนผิดปกติ หรือช้ากว่าปกติ นอกจากนั้นการเลี้ยงตัวอ่อนอาจทำให้ผนังเซลล์ของตัวอ่อนหนากว่าปกติ ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฟักตัวออกมาจากผนังเซลล์ได้ แต่ก็มีการแก้ไขได้ด้วยการยิง laser เพื่อฝานผนังของตัวอ่อนให้บางลงคือการทำ assist hatching

ในปัจจุบันการใส่ตัวอ่อนกลับมักจะใส่ตัวอ่อนไม่เกิน 3 ตัวอ่อน เป็นไปได้ว่าเราอาจจะเลือกชุดตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ เพราะการคัดเลือกตัวอ่อนเพื่อใส่กลับโพรงมดลูก ถ้าดูจากรูปร่าง หน้าตาของตัวอ่อน ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวอ่อนนั้น แข็งแรงสมบูรณ์หรือไม่ การที่มีตัวอ่อนที่สวยไม่ได้รับประกันว่าตัวอ่อนต้องฝังตัวเสมอไป ดังนั้น อาจจะต้องมีการศึกษาเพื่อหาวิธีการคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีกว่าวิธีการในปัจจุบัน เพื่อใส่กลับในโพรงมดลูกในอนาคตต่อไป



ความพร้อมของตัวเยื่อบุโพรงมดลูกก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ ในกรณีที่ใส่ตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีแล้วแต่ยังไม่มีการตั้งครรภ์ ในช่วงของการฝังตัวจะมีการหลั่งสารเคมีต่างๆ เพื่อเป็นการติดต่อกันระหว่างตัวอ่อนและโพรงมดลูก แต่ความรู้ในปัจจุบันเกี่ยวกับสารเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในการรักษาจริง


เนื่องจากการตรวจสารเคมีดังกล่าวค่อนข้างยาก ปัจจุบันจึงใช้การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก และพบว่าในรายที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาน้อยกว่า 9 มิลลิเมตร หรือมีลักษณะภายในขุ่น จะมีโอกาสในการตั้งครรภ์น้อยกว่า และถ้ามีการตรวจพบ ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เนื้องอกที่มีการเบียดเข้าในโพรงมดลูก ก็มีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนด้วย



ในสตรีบางรายจะมีสารบางตัวซึ่งมีผลต่อการสร้างผนังเซลล์ หรือมีสารบางตัวซึ่งมีผลทำให้เกิดการ แข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดได้ ทำให้การขนส่งเลือดไปยังโพรงมดลูกหรือตัวอ่อนลดลงได้ ปัจจัยนี้จึงทำให้เกิดภาวะแท้งหรือการไม่ฝังตัวของตัวอ่อนได้



เช่นโรคของต่อมไทรอยด์ ภาวะที่มีระดับโปรแลกตินในเลือดสูงกว่าปกติ กลุ่มเหล่านี้สามารถตรวจเลือดพบได้และควรหาสาเหตุและทำการรักษาก่อน



ปัญหาจากการย้ายตัวอ่อน เช่น การใส่ตัวอ่อนที่ยากเนื่องจากภาวะที่มีปากมดลูกตีบหรือคดงอ ทำให้เวลาในการใส่ตัวอ่อนนานกว่าปกติ มีผลต่ออุณหภูมิของตัวอ่อน ความเป็นกรดด่างที่เปลี่ยนแปลงไปของน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อน ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว ทางแก้ไขคือ การทดลองใส่สายส่งตัวอ่อนก่อนใส่จริง และการอัลตราซาวด์ควบคู่ในขณะที่ใส่ตัวอ่อน



สำหรับแนวทางการรักษาภาวะนี้ สามารถแบ่งออกได้หลายทางค่ะ เช่น


1. การเพิ่มจำนวนตัวอ่อนที่ย้าย


แต่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนคือ การตั้งครรภ์แฝด โดยทั่วไปมักจะใส่ไม่เกิน 3 ตัวอ่อน


2. การย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 5


หรือระยะบลาสโตซิสท์ ( blastocyst ) การใส่ตัวอ่อนระยะนี้จะทำให้ตัวอ่อนมีโอกาสการฝังตัวมากขึ้น กว่าการใส่ตัวอ่อนระยะ วันที่ 3


3. การให้ขนาดยาโปรเจสเตอโรนที่มากขึ้น


ซึ่งการให้ยาชนิดนี้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็เพื่อช่วยในการพยุงการตั้งครรภ์หลังการย้ายตัวอ่อนนั่นเองค่ะ


4. การให้ยา


เช่น แอสไพริน หรือ เฮปปาริน ในรายที่สงสัยว่าจะมีภาวะ auto-immune มีการศึกษาว่าช่วยให้การตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน


5. เปลี่ยนวิธีการกระตุ้นไข่ซึ่งมีผลต่อตัวมดลูก


ทำให้สารเคมีที่ตัวมดลูกผิดปกติไปมีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน แต่ในปัจจุบันมักจะหลีกเลี่ยงโดยการนำตัวอ่อนไปแช่แข็งไว้ก่อน แล้วค่อยใส่ตัวอ่อนใหม่ในรอบถัดไป เพื่อเลี่ยงยาฉีดกระตุ้นจำนวนมาก ซึ่งอาจมีผลต่อตัวรับที่มดลูก


6. การผ่าตัดผ่านกล้องในช่องท้อง และในโพรงมดลูก


เพื่อเป็นการหาสาเหตุที่การตรวจภายใน หรืออัลตราซาวด์ปกติตรวจไม่พบ การผ่าตัดผ่านกล้องอาจทำให้แพทย์พบพังผืดในช่องท้องหรือ เนื้องอก ติ่งเนื้อที่อาจมีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนได้ และจะได้ทำการแก้ไขในคราวเดียวกัน


ท้ายที่สุด การไม่ตั้งครรภ์หลังย้ายตัวอ่อนเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกัน อย่างไรก็ตามการดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ทานอาหารที่มีโภชนาการสูงเพื่อเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมก่อนใส่ตัวอ่อนเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามนะคะ ดูแลตัวเองให้ดีไว้ก่อนเพื่อช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสในการฝังตัวค่ะ


บทความที่น่าสนใจ

ดู 1,681 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page