ตอบคำถามคาใจแม่
ทำ ICSI ได้ไข่สวยคุณภาพดี แต่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว ใส่ตัวอ่อนหลายครั้งแต่ไม่ติด เพราะค่า ANA สูง!!!
ในการทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) ใครว่ามีเงินทำแล้วจบ ทำแล้วติดเลย...ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปค่ะ เพราะวามสำเร็จปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับคุณภาพของไข่ สเปิร์ม มดลูกและความสมดุลของฮอร์โมนของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายค่ะ
ดังนั้นการบำรุง เตรียมตัวล่วงหน้าก่อนทำ ICSI จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
นอกจากการบำรุงไข่และ มดลูกให้พร้อมแล้วสำหรับฝ่ายหญิง ดังนั้นการบำรุง เตรียมตัวล่วงหน้าก่อนทำ ICSI จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากการบำรุงไข่และ มดลูกให้พร้อมแล้วสำหรับฝ่ายหญิง ยังมีปัจจัยยิบย่อยที่ซ่อนอยู่ มีแม่ๆหลายเคสที่บำรุงจนได้ไข่สวยคุณภาพดี มดลูกหนาฟู ผ่านเกณฑ์ แต่กลับใส่ตัวอ่อน แล้วตัวอ่อนไม่ฝังตัวในโพรงมดลูกใส่หลายครั้งก็ยังไม่ติด ให้แม่ๆสงสัยไว้เลยค่ะ ว่าอาจจะเกิดจากการที่ค่า ANA สูง แล้วค่า ANA บ่งบอกถึงอะไร? ทำไมจึงเป็นสาเหตุให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัวในมดลูก ?
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการตรวจหาค่า ANA กันค่ะ
การตรวจค่า ANA (Antinuclear antibody) ในเลือดก่อนเป็นการตรวจพื้นฐานที่ช่วยประเมินโรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ทั้งร่างกาย
และเป็นหนึ่งในการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค Systemic lupus erythematosus (SLE) ซึ่ง SLE เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคพุ่มพวง ถือเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองโรคหนึ่งที่มีปัญหากับการตั้งครรภ์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย แทนที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา กลับทำลายเซลล์ของตัวเอง จนเกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินอาหาร กระดูกและข้อ ไต หัวใจ ปอด ระบบโลหิต และระบบประสาท เป็นต้น
ค่า ANA สูงส่งผลอย่างไรต่อคุณแม่ที่เตรียมตั้งครรภ์ ?
📚จากงานวิจัยเรื่อง Investigation of the impact of antinuclear antibody on the outcome of in vitro fertilization/intracytoplasmic sperm injection treatment ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Obstetrics and Gynecology เมื่อปี 2015 ศึกษาถึงผลกระทบของหญิงที่มีค่า ANA สูงต่อผลสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว พบว่า...
ค่า ANA พบในหญิงกลุ่มที่มีประวัติมีบุตรยาก เมื่อตรวจเลือดพบค่า ANA สูง โดยค่า ANA ที่สูงขึ้นส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ที่ลดลง และมีอัตราการแท้งในระยะเริ่มต้นสูงหลังจากมีการย้ายตัวอ่อน
และหากตรวจพบภาวะ SLE จะต้องไปต่ออย่างไร ?
ผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์ได้เหมือนคนปกติ แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาก่อนการตั้งครรภ์เสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์
การอนุญาตให้ตั้งครรภ์ แพทย์จะพิจารณาผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ขึ้นกับอาการความรุนแรงของโรค และระยะเวลาที่โรคสงบ เนื่องจากความผิดปกติของอวัยวะในมารดา บางระบบจะส่งให้เกิดการกำเริบของโรคในขณะตั้งครรภ์ได้ และยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษา อาจส่งผลให้เกิดความพิการในทารกได้ค่ะ
นอกจากจะต้องรักษาดูแลอาการตามที่แพทย์แนะนำแล้ว ตัวผู้ป่วยเองยังต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดูแลเรื่อง สุขภาพ และโภชนาการเป็นพิเศษ
เรื่องการทานอาหารเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อลดค่าการอักเสบในร่างกายและลดไขมันเลวที่ทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้ แม่ๆ จึงต้องเลือกทานไขมันดี
● ซึ่งน้ำมันดีจากพืชให้ MUFA สูง ช่วยเพิ่มกรดไขมันดี เสริมภาวะเจริญพันธุ์ ลดค่าการอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
การทานไขมันดีในรูปแบบของ "น้ำมันจากพืช" ที่มีไขมันชนิด MUFA สูง และมีไขมันชนิด DHA และ EPA
เช่น น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะกอก น้ำมันอโวคาโด ที่อยู่ในรูปแบบเม็ดซอฟท์เจลเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ เป็นตัวช่วยในการเสริมการได้รับไขมันดีให้เพียงพอสำหรับสตรีที่วางแผนท้อง ช่วยกระตุ้นการตกไข่ การไหลเวียนของเลือด บำรุงมดลูกและปรับสมดุลฮอร์โมน
รู้อย่างนี้แม่ๆเตรียมตัวท้องต้องทานน้ำมันดีเพื่อลดค่า ANA ในร่างกายใส่ตัวอ่อนรอบไหนก็ผ่านค่ะ