ถุงไข่แดงทำหน้าที่อะไร ?
top of page

ตอบคำถามคาใจแม่

ถุงไข่แดงทำหน้าที่อะไร ?

#ถาม : ครูก้อยคะดิฉันแพ้ท้องหนักมากแทบจะทานอะไรไม่ได้เลย กังวลว่าลูกจะได้รับสารอาหารไหม?

#ตอบ : ในกรณีที่คุณแม่แพ้ท้องหนักมาก กลัวว่าสารอาหารที่กินเข้าไปจะไม่ถึงลูกน้อย ไม่ต้องกังวลค่ะ ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ลูกน้อยยังไม่ได้รับอาหารโดยตรงจากแม่นะคะ

ในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์จะใช้อาหารจาก “ถุงไข่แดง” ที่มีติดตัวเขามา และเมื่อใช้หมด ลูกก็จะใช้อาหารจากกระแสเลือดของแม่ จากนั้นค่อยใช้สารอาหารที่แม่เก็บสะสมเอาไว้ ไม่ได้ใช้อาหารที่แม่เพิ่งกินเข้าไป ไม่ว่าแม่จะกินหรือไม่ได้กิน ลูกก็จะดูดซึมอาหารมาจากแม่ด้วยอัตราคงที่

เพราะฉะนั้น คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลว่าลูกจะขาดสารอาหารนะคะ แต่กลับกัน...คุณแม่ต้องรักษาสุขภาพของตัวเอง เพราะหากลูกน้อยดึงสารอาหารของคุณแม่ไปใช้จะมีผลต่อสุขภาพคุณแม่เอง อย่าปล่อยให้ท้องว่าง เพราะเมื่อท้องว่าง จะยิ่งมีอาการแพ้ท้องมากขึ้น ให้ทานขนมปัง หรือจิบน้ำผลไม้ที่ชอบ..ก็จะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้บ้างค่ะ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ถุงไข่แดงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากสำหรับตัวอ่อนค่ะ เรามาทำความรู้จักถุงไข่แดงกันดีกว่าค่ะ

#ถุงไข่แดง (Yolk Sac) เป็นอวัยวะซึ่งมีสารอาหารสำหรับตัวอ่อน ถูกพัฒนาร่วมกับไข่

ประมาณ 1 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ เซลล์มวลภายใน สร้างเนื้อเยื่อ 2 ชนิด ที่เรียกว่า ไฮโปบลาส และ เอพิบลาส

ไฮโปบลาส จะสร้างถุงไข่แดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการส่งสารอาหารต่าง ๆ จากมารดาไปสู่ตัวอ่อนในระยะต้น

เอพิบาส จะสร้างเนื่อเยื่อที่เรียกว่า ถุงน้ำคร่ำ ซึ่งมีตัวอ่อนอยู่ข้างใน ซึ่งต่อมา คือ “ทารกในครรภ์” เจริญเติบโตไปจนกระทั่งคลอด

ถุงไข่แดงเป็นอวัยวะชั่วคราว ใช้งานได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 12-14 สัปดาห์เท่านั้น หลังจากผ่านไป 14 สัปดาห์ ก็จะค่อยๆลดขนาดลง และหายตัวไปอย่างสมบูรณ์

โดยปกติจะอัลตราซาวนด์ดูถุงไข่แดง จะทำในช่วงเวลาตั้งแต่ 6 ถึง 12 สัปดาห์
รูปร่างและขนาดของถุงไข่แดงเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดของการตั้งครรภ์

โดยในระยะแรกของการตั้งครรภ์ขนาดของถุงไข่แดงจะใหญ่กว่าขนาดของตัวอ่อน

ในสัปดาห์ที่ 5-6 เมื่อตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดสามารถพบถุงการตั้งครรภ์และถุงไข่แดงได้แล้ว

ถุงไข่แดงเป็นถุงที่ติดอยู่กับตัวอ่อน ประกอบไปด้วยเส้นเลือดเล็กๆ มากมาย โดยเลือดจะถูกลำเลียงไปยังผนังของถุงไข่แดง สารอาหารก็จะถูกดูดซึมจากถุงไข่แดงและลำเลียงไปยังตัวอ่อนในครรภ์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ก่อนที่รกจะถูกพัฒนาสมบูรณ์และมาทำหน้าที่ในการส่งอาหารไปยังตัวอ่อนแทนถุงไข่แดงในเวลาต่อมา

เมื่อตัวอ่อนมีการพัฒนาเพิ่มขนาดและอวัยวะขึ้น แต่ถุงไข่แดงยังคงขนาดเท่าเดิม อาหารจากถุงไข่แดงจึงไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนมาดูดซึมอาหารผ่านสายรกแทน และถุงนั้นก็จะสลายไป
ในปลายสัปดาห์ที่ 12 รกของทารกได้มีการพัฒนาจนสมบูรณ์แล้วและทำหน้าที่แทนถุงไข่แดง

การขาดไข่แดงเป็นสัญญาณที่ไม่เอื้ออำนวยต่อตัวอ่อน ทำให้ตัวอ่อนไม่ได้รับสารที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา การสังเคราะห์ฮอร์โมนและเอนไซม์ไม่สมบูรณ์ การผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงจะหยุดลง ด้วยการลดลงของถุงไข่แดงก่อนวัยอันควร ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณของการตั้งครรภ์ที่ถดถอย การแท้งบุตรอาจเกิดขึ้นเองได้ โดยไม่สามารถเก็บการตั้งครรภ์ไว้ได้ด้วยยากันแท้ง

ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page