คุณแม่ติ๊ก
รีวิวท้องธรรมชาติ
🤱“สวัสดีค่าาา ผลผลิตครูก้อยคลอดแล้วค่ะ”👶 (แม่ติ๊กกล่าว)
จำแม่ติ๊กได้มั้ยค้าา...ตอนนี้คลอดน้องตฤณแล้วน้าา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2564 👶 สมบูรณ์สุดๆ น้ำหนักแรกคลอด 3040 g ยินดีด้วยค่าาา❤️❤️
👉เคสแม่ติ๊ก อายุ 30 ปี จากชลบุรี มีปัญหา “PCOS” (ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ) ส่งผลให้ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ประจำเดือนไม่ปกติ
👉และเคยท้องนอกมดลูก 1 ครั้ง ต้องใช้เคมียุติการตั้งครรภ์ แต่ไม่ท้อ ขอท้องใหม่ พักบำรุงตัวเอง 6 เดือน #ตามคัมภีร์ จน #เบบี๋มาแบบธรรมชาติ สมบูรณ์ แข็งแรง ออกมาเป็นลูกน้อยตัวแดงๆ แบบนี้ ☺️☺️
__________________________________
ครูก้อยขอใช้พื้นที่นี้ให้ความรู้กับแม่ๆ เกี่ยวกับการท้องนอกมดลูกนะคะ เพราะมันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างอันตรายสำหรับคนที่ตั้งครรภ์ แม่ๆ ที่เพิ่งตั้งครรภ์ใหม่ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ไว้ เพราะมันจัดเป็นโรคอันดับ 4 ที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต
โรคแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก คือการแท้งบุตร ผู้ป่วยที่เสียชีวิตมักเกิดจากการวินิจฉัยไม่ทัน ดังนั้นคุณแม่ที่เริ่มตั้งท้องอ่อนๆ ในช่วง 3 เดือนแรก จึงควรสังเกตอาการตนเอง และฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ที่สามารถช่วยตรวจสอบปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ได้เบื้องต้น
“ท้องนอกมดลูก” เกิดจากตัวอ่อนไปฝังในบริเวณอื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูก ตามปกติแล้วตัวอ่อนจะต้องเคลื่อนตัวไปฝังบริเวณโพรงมดลูก เพื่อสร้างรก และเติบโตอยู่ในช่องโพรงมดลูก แต่เมื่อใดที่ถุงตัวอ่อนไปฝังอยู่บริเวณอื่น จะทำให้คุณแม่ปวดท้อง และอาจเกิดอาการเลือดออกเมื่อมีชิ้นเนื้อหลุด จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้
บริเวณที่มักเกิดการท้องนอกมดลูก ได้แก่
- ร้อยละ 95 เกิดที่ท่อนำไข่
- ร้อยละ 5 เกิดที่รังไข่ เยื่อบุช่องท้อง ปากมดลูก หรือแผลผ่าตัด แผลผ่าคลอดเดิม
เมื่อคุณแม่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้องน้อยรุนแรง เมื่อสงสัยว่าเป็นอาการท้องนอกมดลูก แพทย์จะวินิจฉัยอาการว่าเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ท่อนำไข่หรือไม่ และหากมีอาการรุนแรงก็จะต้องผ่าตัดเพื่อนำท่อนำไข่ส่วนที่ตั้งครรภ์ออก
อาการที่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังท้องนอกมดลูกอยู่ ได้แก่
1. ประจำเดือนขาด
2. ปวดท้องน้อย
3. มีเลือดออกทางช่องคลอด
เมื่อคุณแม่มีอาการปวดท้องน้อย และเข้าข่าย 3 สัญญาณเตือนการท้องนอกมดลูกแล้ว คุณหมอจะตรวจสัญญาณชีพเบื้องต้น และตรวจหน้าท้อง และตรวจภายใน เมื่อคลำบริเวณหน้าท้องและตรวจภายในพบจุดที่ปวด ก็จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป เพื่อตรวจหาอายุครรภ์
นอกจากวิธีการตรวจสัญญาณชีพ การตรวจอัลตราซาวนด์หาถุงการตั้งครรภ์แล้ว การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน (β-hCG) ก็ถูกนำมาใช้เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ กรณีที่ไม่สามารถตรวจพบถุงตั้งครรภ์ในโพรงมดลูกได้ด้วยวิธีใช้คลื่นความถี่สูงอัลตราซาวด์
อาการท้องนอกมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ (หรือเรียกว่าไตรมาสแรก) ซึ่งมักเกิดถุงตั้งครรภ์ไปติดบริเวณรังไข่ หรือท่อนำไข่ ซึ่งพบว่าเป็นโรคอันดับ 4 ที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต
โรคแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก คือการแท้งบุตร ผู้ป่วยที่เสียชีวิตมักเกิดจากการวินิจฉัยไม่ทัน ดังนั้นคุณแม่ที่เริ่มตั้งท้องอ่อนๆ ในช่วง 3 เดือนแรก จึงควรสังเกตอาการตนเอง และฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ที่สามารถช่วยตรวจสอบปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ได้เบื้องต้น