อายุมาก... ไข่เหลือน้อย... ท้องได้ไหม ?
top of page

ตอบคำถามคาใจแม่

อายุมาก... ไข่เหลือน้อย... ท้องได้ไหม ?

ผู้หญิงวัย 35 up ต้องอ่าน!

แม่ๆ รู้ไหมเซลล์ไข่ของผู้หญิงเราไม่ได้มีเหลือเฟือพร้อมใช้เสมอไป...ในช่วงวัยที่เราพร้อมจะมีลูก..มันอาจสายไปเพราะไข่ลดลงและเสื่อมคุณภาพไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น

#อายุมากขึ้น --> #ไข่น้อยลง --> #ไข่ด้อยคุณภาพ

ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เรามีเซลล์ไข่ติดตัวมาแล้ว 6-7 ล้านใบ

เมื่อคลอดออกมาไข่จะลดลงเหลือแค่ 1-2 ล้านใบ

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เราจะมีไข่เหลืออยู่ประมาณ แค่ 7 แสนใบ

แต่จะมีไข่ที่มีผลทำให้ตั้งครรภ์ได้เพียงแค่ 400-500 ใบเท่านั้น เพราะการตกไข่แต่ละครั้งจะมีไข่เพียงใบเดียวที่สมบูรณ์

เซลล์ไข่จะลดจำนวนลง และเสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จนเข้าสู่วัยทอง หมดประจำเดือน ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ต่อไป
.
.

#ในด้านคุณภาพของเซลล์ไข่นั้น เซลล์ไข่จะมีความผิดปกติทางโครโมโซมสูงขึ้น

ซึ่งอัตราความคลาดเคลื่อนของโครโมโซมในไข่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นในแต่ละปี จึงทำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากตั้งครรภ์ยากและมีโอกาสแท้งบุตรสูงขึ้น

.
.

อัตราความผิดปกติของโครโมโซมในเซลล์ไข่สัมพันธุ์กับอายุที่เพิ่มขึ้นดังนี้

อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%

อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%

อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%

.
.

เราสามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ไข่ได้หรือไม่

จำนวนเซลล์ไข่ หรือ ฟองไข่ตั้งต้น เป็นเซลล์ไข่ที่ติดตัวแม่ๆมาตั้งแต่ต้น ในทางหลักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ แม่ๆที่วางแผนตั้งครรภ์สามารถตรวจฮอร์โมนเพื่อ" ประเมินจำนวนฟองไข่ตั้งต้น" ได้ ด้วยการตรวจฮอร์โมน AMH

AMH หรือ Anti-Mullerian Hormone เป็นฮอร์โมนหนึ่งของผู้หญิง จะมีปริมาณสัมพันธ์กับจำนวนไข่ใบเล็ก ๆ (antral follicles) ในรังไข่ แพทย์จึงใช้ฮอร์โมนนี้ในการตรวจวัดปริมาณของไข่ในรังไข่ได้

การรู้ผลจำนวนฟองไข่ตั้งต้นจะช่วยในการทำนายการตอบสนองของรังไข่ว่าจะตอบสนองมากน้อยเพียงใดหากเข้ารับการกระตุ้นรังไข่เพื่อมำเด็กหลอดแก้ว และใช้ทำนายการตอบสนองรังไข่ว่าจะมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปหรือไม่ได้อีกด้วย

โดยการทำเด็กหลอดแก้วนั้น จำนวนของไข่มีผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยไข่ตั้งต้นควรมีจำนวนพอสมควร เนื่องจากโดยกระบวนการการรักษานั้นทำให้เหลือตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีพอจะตั้งครรภ์ได้ไม่มาก ซึ่งอาจจะเหลือเพียงน้อยกว่า 30% ของไข่ที่กระตุ้นได้

แม่ๆ จึงควรรีบมาตรวจประเมินฟองไข่ตั้งต้น หรือ การตรวจฮอร์โมน AMH เพื่อเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ต่อไปค่ะ
.
.

กล่าวโดยสรุป "จำนวนฟองไข่" ไม่สามารถเพิ่มได้ค่ะ แต่สามารถบำรุงเซลล์ไข่ที่มีให้ "มีคุณภาพ" ได้

.
.

เราสามารถลดความเสื่อม หรือ เพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ได้หรือไม่

แม่ๆรู้ไหม#อนุมูลอิสระ ส่งผลต่อความเสื่อมของเซลล์ไข่ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้โครโมโซมเซลล์ไข่ผิดปกติ

โดยทั่วไปแล้วในร่างกายมีการสร้างอนุมูลอิสระออกมาตลอดเวลาจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร อนุมูลอิสระส่วนใหญ่มีอะตอมของออกซิเจนที่ไวต่อการทำปฏิกริยาออกซิเดชัน หรือเรียกว่า Reactive Oxygen Species (ROS) ซึ่งสร้างความเสียหายแก่เซลล์ หากร่างกายเรามีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ที่จะมาจัดการกับ ROS ไม่เพียงพอจะทำให้เซลล์ต่างๆถูกทำลายจนเสื่อมไปเรื่อยๆ รวมถึงเซลล์ไข่ของผู้หญิงด้วย

มีงานวิจัยศึกษาพบว่า สาเหตุหลักของการทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่ประสบความสำเร็จมาจากตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ (รองลงมาคือปัญหาเรื่องผนังมดลูก) ซึ่งตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์อาจมาจากโครโมโซมผิดปกติ สืบเนื่องมาจากเซลล์ไข่มีความเสื่อมจากอนุมูลอิสระ หรือไข่ที่ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นนั่นเอง เมื่อเกิดการรวมตัวกับ DNA แล้วทำให้โมเลกุลของ DNA เปลี่ยนไป ส่งผลให้โครโมโซมเสียหาย หรือเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ชั้น lipid ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ทำให้เซลล์ไข่เสื่อมสภาพ (Oocyte aging)

นอกจากนี้อนุมูลอิสระจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ไข่ได้มากยิ่งขึ้นในกระบวนการ “ทำเด็กหลอดแก้ว” เนื่องจากเซลล์ไข่ที่เก็บออกมา จะไม่มีของเหลวที่เรียกว่า “follicular fluid” ป้องกันอยู่เหมือนในร่างกายมนุษย์ ทำให้เซลล์ไข่ถูกทำลายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้นไปอีก
.
.

เราจะลดความเสื่อมของเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระได้อย่างไร

สำหรับผู้หญิงที่มีบุตรยาก ที่ต้องใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) การมีเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ส่งผลต่อโอกาสในความสำเร็จ อย่างไรก็ตามการทำเด็กหลอดแก้วเป็นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการคัดเลือกไข่และอสุจิตัวที่ดีที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีช่วยในการคัดเลือก ไข่ที่ดีได้ แต่ ไม่สามารถทำให้ไข่มีคุณภาพได้

"คุณภาพของไข่" นั้นอยู่ที่การบำรุงและสภาพความสมบูรณ์ของร่างกายของแม่ๆ เอง ที่ต้องเตรียมบำรุง "วัตถุดิบตั้งต้น" ไปให้พร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด และถูกทำลายน้อยที่สุดก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์ด้วยการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระให้เพียงพอค่ะ เน้นอาหารที่ให้สารอนุมูลอิสระสูง เช่นผลไม้รสเปรี้ยวตระกูลเบอร์รี่ มะนาวและมะกรูดของไทย

โดยเฉพาะน้ำมะกรูดมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ทั้งวิตามินซี ไบโอฟลาโวนอยด์ และ เควอซิทีน ซึ่งมีงานวิจัยศึกษาพบว่า ช่วยลดอัตราไข่ฝ่อได้ถึง 80% และเพิ่มอัตราตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซิสต์ได้อีกเท่าตัว

.
.

อย่างไรก็ตาม ในการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติต้องการไข่ที่สมบูรณ์เพียง 1 ใบเท่านั้น (หรือ 2 ใบการณีแฝด) ดังนั้นถึงแม้ไข่จะลดจำนวนลงเรื่อยๆตามเวลา ซึ่งไม่มีอะไรสามารถเพิ่มจำนวนฟองไข่ได้....แต่เราสามารถทำให้ไข่ที่เรามี "มีคุณภาพ" ได้ และไข่ใบนั้นก็อาจจะเป็นไข่ทองคำ ที่ทำให้เรามีโอกาสตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ

"บำรุงดี มีชัยไปกว่าครึ่ง"

ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page