มีสาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้มีบุตรยาก ?
top of page

ตอบคำถามคาใจแม่

มีสาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้มีบุตรยาก ?

6 สาเหตุมีบุตรยาก!
ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

คู่สมรสที่มีบุตรยาก สาเหตุนั้นมีทั้งจากฝ่ายหญิง หรือ ฝ่ายชาย หรือจากทั้งสองฝ่าย

สาเหตุหลักจากฝ่ายหญิงมาจาก อายุมาก เซลล์ไข่ด้อยคุณภาพ ปัญหาจากมดลูก หรือฮอร์โมนเพศไม่สมดุล รังไข่เสื่อมหรือวัยทองก่อนวัย

สำหรับฝ่ายชายนั้นปัญหาหลักมาจากคุณภาพของอสุจิ เช่น หลั่งน้อย หรือ หลั่งมากแต่จำนวนตัวสเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่ว่าย หรือเรียกว่าเชื้อตาย หรือ รูปร่างของสเปิร์มผิดปกติ เป็นต้น

ปัญหาดังกล่าวข้างต้นจะทราบได้ต้องเข้าพบแพทย์และทำการตรวจอย่างละเอียด แต่ในบางกรณีคู่สมรสที่ไม่พบความผิดปกติดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ท้อง ซึ่ง "มีบุตรยากที่หาสาเหตุไม่ได้" วันนี้ครูก้อยสืบค้นปัจจัยที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คู่ของเราท้องยาก ซึ่งอาจไม่เคยตรวจมาก่อน หรือแม่ๆ อาจยังไม่ทราบว่ามันก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อการมีบุตรยากเช่นกัน มีสาเหตุอะไรบ้าง ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ

1. Autoimmune disorder

"โรคแพ้ภูมิตนเอง" หรือ "โรคภูมิต้านตนเอง"
โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานผิดพลาดและทำให้ร่างกายเริ่มโจมตีตนเอง

หน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกัน คือ การป้องกันร่างกายของคุณจากโรคภัยและการติดเชื้อ ในคนสุขภาพดี ระบบภูมิคุ้มกันจะจดจำเชื้อโรค เช่น แบคทีเรียและไวรัสว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกและโจมตีมัน แต่ในบางคนระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่ถูกต้องและจดจำผิดพลาดว่าเนื้อเยื่อที่ดีในร่างกายเป็นสิ่งแปลกปลอมภายนอกและโจมตีเนื้อเยื่อดีเหล่านั้น สิ่งนี้นำไปสู่สภาวะที่เรียกว่า โรคภูมิต้านตนเองที่อาจจะส่งผลต่อร่างกายคุณในหลายๆ ตำแหน่ง

โรคภูมิต้านตนเองนี้มีหลายชนิด เช่น โรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ โรค SLE โรคข้อออักเสบรูห์มาตอยด์ โรคเบาหวานประเภทที่ 1 เป็นต้น

ซึ่งโรคที่หลากหลายเหล่านี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย หลอดเลือดอุดตัน การแท้ง ร่างกายอักเสบ ซึ่งในบางกรณีโรค autoimmune disease ไม่แสดงอาการ ผู้หญิงเราจึงไม่รู้ว่ามันอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์

2. Thyroid Malfinction

ต่อมธัยรอยด์ทำงานผิดปกติ มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร international Journal of Endocrinology เมื่อปี 2014 พบว่า 47% ของผู้ป่วย
โรคต่อมธัยรอยด์อักเสบฮาชิโมโตประสบปัญหามีบุตรยาก

Hashimoto’s thyroiditis เป็นการอักเสบของต่อมธัยรอยด์ที่ทำให้มีภาวะธัยรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism คือ การที่ต่อมธัยรอยด์ทำงานลดลง) โรคต่อมธัยรอยด์อักเสบฮาชิโมโตเกิดเมื่อระบบภูมิคุ้มกันโจมตีต่อมธัยรอยด์ แม้ว่าบางครั้งอาจจะไม่มีอาการ แต่โรคต่อมธัยรอยด์อักเสบฮาชิโมโตมันทำให้คอพอก คือ ต่อมธัยรอยด์โตขึ้นจนเห็นเป็นก้อนที่คอ

ผู้หญิงที่มีภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานผิดปกติจะประสบกับปัญหา "ไข่ไม่ตก" ถึงแม้จะมีประจำเดือนมาปกติก็ตาม เมื่อระดับของฮอร์โมนธัยรอยด์ต่ำ
ส่งผลต่อความต้องการทางเพศลดลง "ฮอร์โมนเพศไม่ปกติ" ส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมน FSH ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของฟองไข่ และฮอร์โมน LH ที่ส่งผลต่อการตกไข่ ทำให้ไข่ไม่โตและไม่ตก

นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีปัญหาเรื่องต่อมธัยรอยด์ผิดปกติยังประสบกับ "อัตราการแท้งสูงกว่าผู้หญิงปกติ" ทั่วไป 2-3 เท่า

3.Food Sensitivities/Intolerance

"การแพ้อาหารแบบแฝง" เกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีเอ็นไซม์บางชนิดที่จำเป็นไม่เพียงพอในการย่อยอาหารบางประเภท เช่น แลคโตสในนม หรือ กลูเต็นในข้าวสาลี เมื่อรับประทานอาหารเหล่านี้เข้าไปเพียงเล็กน้อย อาจก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้ ซึ่งอาจไม่แสดงอาการแพ้อาหารอย่างเฉียบพลันแบบ Food allergy เช่น ผื่นขึ้น ตาบวม อาเจียน ท้องเสีย

แต่การแพ้แบบแฝงจะใช้เวลานานในการแสดงอาการ มักแสดงอาการหลากหลาย แต่ไม่รุนแรง มีอาการเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการนั้นๆ แม้อาการแพ้ไม่รุนแรง แต่ก็อาจเป็นเบื้องหลังของอาการน่ากวนใจบางอย่าง เช่น ท้องอืด มีผื่นคัน ปวดหัว ไมเกรน เป็นต้น

ซึ่งส่งผลให้ร่างกายไม่ปกติ "อักเสบ" เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของระบบสืบพันธุ์ด้วย

4.Toxic Exposure

"การได้รับสารเคมี" การใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ ต้องทำงานสัมผัสกับสารเคมีเป็นประจำ การใช้สิ่งของเครื่องใช้ อุปโภค บริโภคที่มีสารพิษปนเปื้อน เช่น ซีโนเอสโตรเจน (Xenoestrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์คล้ายกับฮอรโมนเอสโตรเจนของเพศหญิง แต่ถ้าได้รับเข้าไปมันจะไปรบกวนการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนตามธรรมชาติ

ซึ่ง Xenoestrogen พบในพวกอาหารแปรรูป ไขมันทรานส์ อาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน ขวดน้ำพลาสติกที่มีสาร BPA สกินแคร์หรือเครื่องสำอางที่มี Parabens

5.Chronic Stress

"ความเครียดสะสมเรื้อรัง" ความเครียดส่งผลให้ร่างกายอักเสบ และรบกวนการผลิตฮอร์โมนเพศที่สมดุล เมื่อเราเครียดร่างกายจะผลิตฮอร์โมนความเครียดออกมา หรือที่เรียกว่า "คอร์ติซอล" เจ้าฮอร์โมนความเครียดนี้เองจะส่งผลต่อการเพิ่มระดับกลูโคสในเลือด ส่งผลให่เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะ PCOS (ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง)

นอกจากนี้หากเครียดมาก เครียดสะสม คอร์ติซอลจะผลิตออกมามาก มันจะไปส่งผลต่อการลดลงของ "ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน" ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญต่อการตั้งครรภ์ที่ช่วยให้มดลูกหนาตัวพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน ยิ่งเครียด ยิ่งส่งผลต่อการทำงานของต่อมธัยรอยด์ นำไปสู่ภาวะไม่ตกไข่ หรือ ไข่ตกผิดปกติ

6. Vitamin insufficiency

"ขาดวิตามินและแร่ธาตุ"

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Medicine Insight Womens Health เมื่อปี 2019
ได้รวบรวมผลการศึกษา ถึงความสำคัญของ micronutrients ซึ่งได้แก่ "วิตามินและแร่ธาตุ" ที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์

งานวิจัยศึกษาพบว่าสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนอกจากการทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการแล้ว การขาดวิตามินและแร่ธาตุก็เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่ง เพราะวิตามินและแร่ธาตุมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างปกติและสมบูรณ์ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ด้วย

วิตามินและแร่ธาตุมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อภาวะเจริญพันธุ์ และการได้รับวิตามินและแร่ธาตุ "ไม่เพียงพอ" เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้มีบุตรยาก

ดังนั้นการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุบำรุง "ก่อนการตั้งครรภ์" จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอและช่วยส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นค่ะ

ช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด

ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation)

การปฏิสนธิ ( fertilization)

การฝังตัวของตัวอ่อน (implantation)

การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo development)

ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย

โดยหัวใจสำคัญคือ ต้องทานอย่างต่อเนื่องล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ค่ะ เป็น "prenatal vitamins" หรือ "วิตามินเตรียมตั้งครรภ์" ที่จะเสริมสารอาหารให้กับร่างกายแม่ๆเตรียมพร้อมก่อนเกิดการปฏิสนธิและการแบ่งตัวของตัวอ่อน

จะเห็นได้ว่าสาเหตุข้างต้น เป็นสาเหตุลึกๆ ที่เราอาจจะยังไม่ทราบเพราะอาจไม่มีอาการบ่งบอก แต่สิ่งที่สังเกตุได้คือเรา "ท้องยาก" ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่อาจช่วยบรรเทาได้ เช่น

ทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อไม่ไปกระตุ้นให้ร่างกายอักเสบ
ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เสริมวิตามินและแร่ธาตุให้เพียงพอ
งดของหวาน ของมัน ของทอด เน้นโปรตีน ผักผลไม้
ออกกำลังกาย
จัดการกับความเครียด
และที่สำคัญควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไปค่ะ

ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page