📣รู้จัก "ไขมันดี"ที่ดีต่อสตรีอยากท้องแม่ๆที่บำรุงเตรียมตั้งครรภ์การทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการเป็น
- BabyAndMom.co.th
- 18 เม.ย. 2566
- ยาว 2 นาที

แม่ๆที่บำรุงเตรียมตั้งครรภ์การทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ค่ะ โดยการทานอาหารตามหลักโภชนาการของคนเตรียมท้อง 5+1 ที่ครูก้อยศึกษางานวิจัยและสรุปมาให้ดังนี้ค่ะ
(1) เพิ่มโปรตีน
(2) ลดคาร์บ
(3) งดหวาน
(4) ทานกรดไขมันดี
(5) เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนซ์
+1 เสริมวิตามินบำรุง
โดยในส่วนของ "ไขมันดี" นั้นยังมีแม่ๆทานไม่เพียงพอและยังขาดความรู้เรื่องการทานไขมันค่ะ
โดยการทานไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคือการทาน "ไขมันดี" ค่ะ ซึ่งไขมันเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง "เอสโตรเจน" ช่วยให้เซลล์ไข่เจริญเติบโตสมบูรณ์ บำรุงรังไข่ ชะลอรังไข่เสื่อม ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ดังนั้นๆแม่ๆที่อยากท้องต้องทานไขมันดีให้เพียงพอค่ะ
●แล้วเราจะเลือกทานไขมันดีได้จากไหน?
ในชีวิตประจำวัน อาหารที่เราทานส่วนใหญ่มักมีไขมันเลว ทั้งพวกเนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันทรานส์พบมากในมาการีน เนยขาว พวกขนมเบเกอรี่ โดนัท เค้ก พาย คุกกี้ และพวกอาหาร fast food เบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ ขนมกรุบกรอบ
.
👉แม่ๆ รู้ไหม? กินไขมันทรานส์ส่งผลให้ท้องยาก
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ได้ทำการศึกษาผู้ญิงที่สุขภาพดี ที่ต้องการมีบุตร โดยศึกษาพฤติกรรมการทานอาหาร พบว่า ทุก 2% จากการทานไขมันทรานส์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ท้องยากขึ้น 73% เพราะมีก่อให้เกิดความเสี่ยงภาวะไม่ตกไข่!
เนื่องจากไขมันทรานส์ส่งผลให้ร่างกายอักเสบ ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญของน้ำตาลกลูโคสทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ฮอร์โมนเพศผิดเพี้ยน เกิดภาวะ PCOS ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ประจำเดือนผิดปกติ
แม่ๆ จึงต้องเลือกทานไขมันดี ซึ่งมีในอาหารจำพวก ปลาแซลมอน ไข่แดง นมแพะ ถั่ว งาดำ แฟล็กซีด อะโวคาโด น้ำมันปลา เป็นต้น
และเพื่อง่ายต่อการบำรุง การทานน้ำมันสกัดจากพืชเป็นตัวช่วยที่ตอบโจทย์ในการบำรุง โดยมีงานวิจัยศึกษาถึงน้ำมัน 9 ชนิดและประโยชน์ที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ได้แก่
(1) น้ำมันกระเทียม
(2) น้ำมันดอกทานตะวัน
(3) น้ำมันอะโวคาโด
(4) น้ำมันเมล็ดแฟล็ก
(5) น้ำมันงาขาว
(6) น้ำมันงาขี้ม้อน
(7) น้ำมันฟักข้าว
(8) น้ำมันมะกอก
(9) น้ำมันสาหร่ายทะเล
โดย "น้ำมันดี" ทั้ง 9 ชนิดนี้มีสรรพคุณในการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ดังนี้ค่ะ
.
(1) กระตุ้นไข่ตก
แฟล็กซีด 100 กรัม ให้โอเมก้า 3,6 ถึง 28.73 กรัม
ยิ่งไปกว่านั้นแฟล็กซีดให้โอเมก้า 3 ชนิด Alpha-Linolenic Acic (ALA) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องรับประทานจากอาหารเข้าไปเท่านั้น
📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2016
ศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูงมีส่วนในการ " ช่วยลดภาวะไข่ไม่ตก"
นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการทำให้มดลูกหนาตัวเตรียมพร้อมรับการตั้งครรภ์
และอีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2011 พบว่า ผู้หญิงที่รับประทานโอเมก้า 3 มีความเสี่ยงเรื่องภาวะไข่ไม่ตกลดลง นอกจากนี้โอเมก้า 3 ยังช่วยเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้ผนังมดลูกฟอร์มตัวหนาขึ้น พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน
.
(2) บรรเทาภาวะ PCOS
น้ำมันสาหร่ายทะเล (Algae oil) สาหร่ายทะเลสายพันธุ์ (SCHIZOCHYTRIUM SP.) เป็นสาหร่ายที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 หลักสองประเภท EPA และ DHA
📚มีรายงานวิจัยจาก Hum Reprod. เมื่อปี 2017 พบว่าระดับ DHA และ EPA ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ทางคลินิกและอัตราการเกิดเพิ่มขึ้นโดยโอกาสในการเกิดมีเพิ่มขึ้น 8% ของทุกๆ 1% ที่เพิ่มขึ้นของโอเมก้า 3 นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า DHA จากสาหร่าย มีผลในการเพิ่มขึ้นของ DHA ในฟอสโฟลิปิดในพลาสมาซึ่งช่วยให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นและในเม็ดเลือดแดงอีกด้วย
📚ผลการศึกษาจาก Fertility and Sterility เรื่อง Omega-3 fatty acid supplementation and fecundability ใน ปี 2019 ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 และความสามารถในการมีลูก โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากผู้หญิง 900 คน พบว่าผู้หญิงที่ทานอาหารเสริมโอเมก้า 3 มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ด้วยตัวเองมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ทานอาหารเสริมเกือบสองเท่า และมีรายงานวิจัยจาก Iran J Reprod Med เมื่อปี 2013 ศึกษาพบว่า ในสตรีที่มีนํ้าหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนที่มีภาวะ PCOS พบว่าการเสริมโอเมก้า 3 ช่วยปรับการมีประจําเดือนได้อย่างสมํ่าเสมอ และทําให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือ ฮอร์โมนเพศชายที่พบในผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะ PCOS ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ
.
(3) เพิ่มความแข็งแรงของเซลล์ไข่ พัฒนาเป็นตัวอ่อนที่แข็งแรง ลดการแท้ง
นํ้ามันมะกอก (Olive oil) อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและอุดมไปด้วยวิตามินอี นอกจากนี้ ยังมีไขมันโอเมก้า 3 มีสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบ
📚โดยมีรายงานวิจัยจาก Wiley Online Library เมื่อปี 2017 รายงานว่า อาหารประเภท 'ปลาและน้ำมันมะกอกสูง เนื้อสัตว์ต่ำ' ของมารดามีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของตัวอ่อนและอัตราการแท้งบุตรลดลง สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้ถึง 40%
.
(4) เพิ่มความหนาของผนังมดลูก
📚จากงานวิจัยเรื่อง The Role of Avocado in Maternal Diet during the Periconceptional Period, Pregnancy and Lactation ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่า น้ำมันอะโวคาโดอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น โอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนก็มีสูงขึ้นไปด้วย
.
(5) เสริมการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน
📚จากงานวิจัยเรื่อง Sesame Ingestion Affects Sex Hormones, Antioxidant Status, and Blood Lipids in Postmenopausal Women1 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Nutrition เมื่อปี 2006
ศึกษาพบว่า น้ำมันงาขาวมีไขมันดีต่อสุขภาพ วิตามิน E และลิกแนนสูง ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ และความเจริญพันธุ์ของเพศหญิง
.
(6) ชะลอรังไข่เสื่อม บรรเทาอาการวัยทอง
น้ำมันงาขาว (Sesame oil) อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินอี ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และลิกแนน มีทองแดงค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทําหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน และเป็น
แหล่งแคลเซียมที่ดี ซึ่งมีความสําคัญต่อการบํารุงรักษาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อการสืบพันธุ์ และมวลกระดูกของเพศหญิง ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ชะลอวัยทองก่อนวัย
.
(7) กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสืบพันธุ์
น้ำมันฟักข้าว (Gac oil) น้ำมันฟักข้าวอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีเบต้าแคโรทีนสูง วิตามินซีสูง ซีแซนทีน วิตามินอี วิตามินเอ กรดไขมันโอเมก้า3, 6 และ 9 ช่วยเสริมฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง และการไหลเวียนของเลือดดี ซึ่งเบต้าแคโรทีนในนํ้ามันน้ำมันฟักข้าว เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับระบบสืบพันธุ์ ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำอสุจิ และการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในอวัยวะสืบพันธุ์
.
(8) เสริมการสร้างสเปิร์ม
📚จากงานวิจัยเรื่อง Role of Garlic as Fertility Enhancer - A review จากประเทศอินเดีย ที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Research in Ayurveda and Medical slSciences เมื่อปี 2018 ศึกษาพบว่า กระเทียมอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มจำนวนสเปิร์มและปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้อย่างเพียงพอ และช่วยให้สเปิร์มเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นอีกด้วย
.
(9) ลดการอักเสบ
📚งานวิจัยเรื่อง Effect of Flaxseed Intervention on Inflammatory Marker C-Reactive Protein: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials ที่ตีพิมพ์ในวารสาร nutrients ปี 2016 พบว่า แฟล็กซีดมีผลต่อการลดลงของค่าการอักเสบในร่างกาย โดยหากในร่างกายมีค่าอักเสบต่ำจะช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ดีขึ้น
แม่ๆ ที่เตรียมตั้งครรภ์จึงควรหันมาทานไขมันดีกันนะคะ เพื่อบำรุงร่างกายให้พร้อม ปัจจุบันสามาถบำรุงง่ายๆด้วยน้ำมันจากพืชในรูปแบบเม็ด พกพาง่าย ปลอดภัย ได้ไขมันดีที่มีประโยชน์ค่ะ
Comments