top of page
ค้นหา

บลาสต์โตซีสต์ "คัดโครโมโซม" ผ่าน 2 ตัว เกรด AB

อัปเดตเมื่อ 18 ก.ค. 2565



🧬🧬ผลคัดโครโมโซมตัวอ่อนของครูก้อยออกแล้วนะ!!

👶👧🏻คัดผ่าน 2 ตัว 👉ชาย 1 / หญิง 1 เกรด AB ทั้งคู่ค่ะ

score = 1 เท่ากันทั้งคู่อีก 1 คือ คะแนนสูงสุดค่ะ มี 1-5 (คะแนนจากเครื่อง Eeva ) ใส่ตัวไหนก็ได้เลยค่ะ (คลิกอ่าน)


🧬🧬ผลคัดโครโมโซมตัวอ่อนของครูก้อยออกแล้วนะ!!

👶👧🏻คัดผ่าน 2 ตัว 👉ชาย 1 / หญิง 1 เกรด AB ทั้งคู่ค่ะ

score = 1 เท่ากันทั้งคู่อีก 1 คือ คะแนนสูงสุดค่ะ มี 1-5 (คะแนนจากเครื่อง Eeva ) ใส่ตัวไหนก็ได้เลยค่ะ

เพราะคะแนนเท่ากัน เอาไงดี? งานนี้ต้องให้คุณหมอฟันธง! เพราะใจแม่คือหญิงก็ชอบ อยากให้เป็นเพื่อนน้องเมดา ส่วนลูกชายก็ควรจะมี (แต่กฎหมายห้ามเลือกเพศค่ะ หมอจะเลือกตัวที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ดันเกรดเท่ากัน ต่างกันที่ระยะตัวอ่อน)


❤️ 7 เมษายน 64 #รายงานผลโครโมโซมตัวอ่อน


👉ได้ตัวอ่อนปกติ 2 ตัวนะคะ จากบลาสต์ 8 ตัว (2/8 = 25%) คือ เบอร์ #1 , #12


👉#1=เพศชาย XY 👶คะแนน = 1 เกรดAB ระยะ Extruded blast (กำลังฟักตัวออกมา)


👉#12 =เพศหญิง XX 👧🏻 คะแนน = 1 เกรด AB ระยะ Expanded blast (กำลังขยายตัว ก่อนฟักตัว )


👉ตัวอื่นๆมีความผิดปกติค่อนข้างหลากหลาย เดี๋ยวหมอจะอธิบายรายละเอียดอีกทีค่ะ บางตัวก็ผิดปกติแค่ไม่กี่ % บางตัวก็โครโมโซมขาด แหว่ง มีนัดพบคุณหมอช่วงมีรอบเดือนถัดไปค่ะ แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะคะ😊


👉นักวิทย์แจ้งว่า…โดยปกติผู้หญิงที่มีช่วงอายอายุ 37-39 ปี จะมีความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนประมาณ 60 ถึง 70% ของครูก้อยได้มา 2 ตัวเป๊ะ!!


👉ซึ่งเราจะใช้เทคนิค NGS ตรวจคัดกรองความผิดปกติของตัวอ่อนก่อนที่จะทำการย้ายกลับเข้าไปฝังที่โพรงมดลูก เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาส เพราะถ้าหากตัวอ่อนผิดปกติ ก็จะไม่เกิดการฝังตัว หรือถ้าฝังได้ ก็มักจะเกิดการแท้งในไตรมาสแรก


👉 Next-generation sequencing (NGS) คือ เทคโนโลยีการตรวจการเกินมาหรือขาดหายไปของจำนวนโครโมโซม ซึ่งเป็นการลดปัญหาที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว การแท้งในช่วง 3 เดือนแรก หรือการตั้งครรภ์ต่อด้วยโครโมโซมที่ผิดปกติทำให้ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด NGS สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโชมได้ครอบคลุมทั้ง 24 โครโมโซมได้ในครั้งเดียว ด้วยความแม่นยำสูง และมีอัตราการเกิดการผิดพลาด (False positive rate) ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับเทคนิคอื่นๆ และสามารถทราบผลตรวจได้ภายใน 7 วัน และความแม่นยำ 99%


🧬การตรวจโครโมโซมที่สำคัญ มีอะไรบ้าง?​

1. ตรวจคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรม​

2. ตรวจคัดกรองโรคธารัสสิเมีย​

3. ตรวจความสมบูรณ์ของโครโมโซมทั้ง 23 คู่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ​

🧬ผู้ที่เหมาะกับการตรวจโครโมโซม?​

1. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป​

2. ผู้หญิงที่มีประวัติการแท้งหลายครั้ง​

3. คนในครอบครัวมีประวัติการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม ​

4. ผู้ที่ได้เคยใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ


🔴ตอนนี้โฟกัสผนังมดลูกเลยจ้า เข้าสูตรเตรียมผนังกันต่อ



ดู 791 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page