ท้องตอนอายุ 35+ ต้องตรวจอะไรบ้าง?
แม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุ 35 ขึ้นไป ในทางการแพทย์ถือเป็นการตั้งครรภ์ของผู้หญิงอายุมาก ซึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูงกว่าแม่ๆ ที่ตั้งครรภ์ในช่วงวัย 24-34 ปี ก่อนอื่นแม่ๆ ต้องทำความเข้าใจหลักการในทางการแพทย์และธรรมชาติของร่างกายผู้หญิงก่อนนะคะ ปัจจุบันเราแต่งงานช้าและคนอายุ 35 ก็ยังหนุ่มสาว แต่ในทางการแพทย์และธรรมชาติในเรื่องประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ์ คุณภาพเซลล์ไข่ หรือ ฮอร์โมนต่างๆ มันจะเริ่มถดถอยแล้วค่ะ
ดังนั้นผู้หญิงที่อายุมากจึงมีภาวะท้องยากและเสี่ยงแท้งง่ายนั่นเองค่ะ หากเราตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ไปพบแพทย์เพื่อตรวจตามกำหนด
วันนี้ครูก้อยนำความรู้เรื่องแม่ท้องอายุ 35+ต้องตรวจอะไรบ้างมาฝากกันค่ะ เป็นบทความของ รศ.ดร.นพ. บุญศรี จันทร์รัชชกูล อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลสมิติเวช เราไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ
1. #การตรวจคัดกรองโครโมโซม
สามารถทำได้โดยการตรวจเลือดของแม่ เพื่อคัดกรองภาวะผิดปกติของโครโมโซม โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ แต่หากตรวจพบความเสี่ยงอาจต้องมีการเจาะน้ำคร่ำเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล เนื่องจากการตรวจจน้ำคร่ำให้ผลแม่นยำกว่าแต่อาจมีความเสี่ยงแท้งจากการใช้เข็มเจาะดูดน้ำคร่ำออกมา
แม่ที่อายุ 35+ ในทางการแพทย์โครโมโซมของเซลล์ไข่จะผิดปกติไปแล้วถึง 50% ซึ่งไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติ ก็จะส่งผลต่อตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติด้วย
มีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ มีภาวะดาวน์ซินโดรม นอกจากนี้ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติยังมีอัตราฝังตัวไม่สมบูรณ์สูง เสี่ยงแท้งง่าย
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่แม่อายุมากต้องตรวจค่ะ
.
2. #ตรวจภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูง
จากการศึกษาพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มักมีภาวะความดันโลหิตสูงและเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าแม่ที่ตั้งครรภ์อายุน้อย
ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้ตรวจหาภาวะน้ำตาลในเลือดในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเพิ่มขึ้นมากกว่ามาตรฐาน
นอกจากนี้การตรวจเลือดยังช่วยตรวจหาโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี รวมถึงโรคซิฟิลิส ซึ่งเป็นโรคที่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างมาก
.
3. #การตรวจภาวะแทรกซ้อนด้วยอัลตร้าซาวด์
เป็นการตรวจขั้นพื้นฐานเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือน โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ตรวจดูโครงสร้างร่างกายทารกในครรภ์ สามารถเห็นความผิดปกติของทารกได้ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า รวมถึงความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งต้องทำโดยสูติแพทย์เฉพาะทาง ด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (Maternal Fetal Medicine – MFM) ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในการดูแลในดูแลในเชิงลึกเกี่ยวกับทางด้านทารกและมารดา ถ้าหากเกิดภาวะผิดปกติจะได้เตรียมทีมแพทย์เพื่อทำการรักษาทันทีหลังคลอด ทั้งนี้บางกรณียัง
สามารถรักษาได้ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์
.
4. #การตรวจคัดกรองภาวะคลอดก่อนกำหนด
ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากขึ้นยิ่งพบว่าอัตราการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น เนื่องจากอายุคุณแม่ขณะตั้งครรภ์มากส่งผลให้เกิดปัญหารกเกาะต่ำ หรือรกลอกก่อนคลอด รวมถึงทารกที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าทารกที่คลอดในคุณแม่ที่อายุน้อย การตรวจคัดกรองภาวะคลอดก่อนกำหนดสามารถทำได้โดยการวัดความยาวปากมดลูกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (Transvaginal Cervical Length Measurement) ซึ่งช่วยลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดได้ถึง 50%
.
5. #ตรวจภาวะครรภ์เป็นพิษ
โดยการตรวจปัสสาวะคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อดูโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ภาวะดังกล่าวถือเป็นอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ หากไม่มีการตรวจพบหรือได้รับการ
รักษาที่ไม่ดีพอ อาจส่งผลให้คุณแม่หรือทารกเสียชีวิตได้ ปัจจุบันสามารถตรวจภาวะครรภ์เป็นพิษได้ก่อนในช่วงอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ 6 วันซึ่งจะช่วยลดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ถึง 90% และยังสามารถป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษได้ถึง 70%
.
.
แม่ท้องอายุมากต้องรีบไปฝากครรภ์ เพราะความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ดูแลร่างกายและสุขภาพให้ดี ทานอาหารมีประโยชน์ เรียนรู้เพื่อรับมือกับภาวะที่อาจเกิดขึ้นอย่างเข้าใจ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ แม่ๆก็ไม่ต้องกังวลค่ะ
ครูก้อยขอให้แม่ๆทุกท่านมีครรภ์ที่แข็งแรงค่ะ
_____________________________________________
🤰ท้องแล้ว เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์บำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม
คลิกอ่านเลยค่ะ →
https://www.babyandmom.co.th/prenancy-
Comments