ความหวานห้ามใจยาก แต่ถ้าอยากมีลูกต้องเลิก! เพราะน้ำตาลคือภัยร้ายที่สุดที่ทำให้ร่างกายอักเสบ เซลล์เสื่อม ฮอร์โมนเพี้ยน ไข่ไม่โต สเปิร์มด้อยคุณภาพ
หากยังไม่ปรับพฤติกรรมการกิน ผลที่ได้คือร่างกายที่แย่ๆ โอกาสเป็นแม่คงยากค่ะ คำกล่าวที่ว่า You are what you eat "กินอย่างไรได้อย่างนั้น" มันเป็นจริงค่ะ
.
น้ำตาลต่อสภาวะเจริญพันธุ์เพศหญิง
การรับประทานคาร์โบไฮเดรต หรือ น้ำตาล มากเกินไปจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงของภาวะมีบุตรยากค่ะ
งานวิจัยของ "The American Society of Reproductive Medicine" (ASRM) พบว่า ผู้ที่จะ
เข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่เปลี่ยนการรับประทานอาหารเป็นแบบลดคาร์โบไฮเดรต และ เน้นโปรตีนเพิ่มมากขึ้นก่อนที่จะเข้ากระบวนการ
มีอัตราการเพิ่มจำนวนของบลาสโตซิสต์ (blastocyst) จาก19% เป็น 45%
.
เพราะการทานคาร์โบไฮเดรต ท้ายที่สุดร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทานอาหารแบบลดน้ำตาลลงนี้ส่งผลอย่างมากต่ออัตราการตั้งครรภ์ ซึ่งผู้ที่ลดการทานคาร์บ และทานอาหารไม่หวาน จะมีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 83% เลยทีเดียวค่ะ
.
นอกจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคเบาหวานตามมาได้แล้ว หากกินน้ำตาลมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิด "ภาวะดื้อต่ออินซูลิน" ด้วย ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลใน
เลือดให้สมดุล เมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าปกติ โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าการบริโภคน้ำตาลทุก ๆ 150 แคลอรี่ อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นถึง 1.1 เปอร์เซ็นต์
#โรคเบาหวานกับการมีบุตรยาก เป็นเรื่องที่แพทย์และนักวิจัยได้ศึกษาและมีผลวิจัยออกมาอย่างชัดเจนแล้ววาผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นมีระดับกลูโคสในเลือดสูง ซึ่งระดับกลูโคสในเลือดสูงนี้เป็นภัยต่อการพัฒนาของบลาสโตซิสต์ (blastocyst)
.
●ระดับของกลูโคสส่งผลต่อภาวการณ์มีบุตรยากในประเด็นใดบ้าง?
การมีระดับกลูโคสในเลือดสูงทำให้การหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขหรือ อะดรีนาลีนลดลง เมื่อร่างกายมีความเครียดจะมีผลให้ให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งจะส่งผลต่อการที่ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวงจรการมีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติส่งผลต่อการมีบุตรยากค่ะ
การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ขึ้นและที่ร้ายไปกว่านั้นมันสามารถทำลายเซลล์ไข่ได้เลย
น้ำตาลส่งผลต่อโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความเสื่อมของเซลล์ไข่ก่อนวัยอันควร
ดังนั้นระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปจึงไม่ส่งผลดีต่อแม่ๆ ที่วางแผนตั้งครรภ์แน่นอนค่ะ เพราะจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ฮอร์โมนไม่สมดุลซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากทั้งสิ้นค่ะ
น้ำตาลต่อสภาวะเจริญพันธุ์เพศชาย
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Human Reproduction เมื่อ ปี 2014 ของ Department of Nutrition, Harvard School of Public Health ศึกษาพบว่า ผู้ชายที่ทานน้ำหวาน ของหวาน มีอัตราการวิ่งว่ายของสเปิร์มลดลง (Sperm Motility) เนื่องจากน้ำตาลจะไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งหากมีการหลั่งอินซูลินมากเกินไปจะส่งผลให้ร่างกายอักเสบ และสร้างอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ การหลั่งฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนที่ไม่สมดุล ส่งผลต่อการผลิตสเปิร์มที่ด้อยคุณภาพ อัตราการวิ่งว่ายต่ำ
.
บำรุงเตรียมมีเบบี๋ อยากทานหวานทำอย่างไร?
เลือกทานความหวานที่ Low GI คือ ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ได้แก่ น้ำผึ้งชันโรง น้ำอินทผลัม นอกจากน้ำตาลต่ำแล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินสูงช่วยบำรุงเซลล์ไข่และสเปิร์ม
ลดการทานแป้งขัดขาว ข้าวขาว ขนมปังขาว เบเกอรี่ เพราะคาร์บพวกนี้จะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลทันที ทำให้ร่างกายอักเสบ ฮอร์โมนเพี้ยน ให้เน้นทานคาร์บเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ธัญพืช เช่น งาดำ แฟล็ดซีด เมล็ดฟักทอง ถั่วต่างๆ
.
.
อยากมีเบบี๋ต้องหันมาปรับการกินแล้วนะคะ ครูก้อยรวบรวมคัมภีร์อาหารบำรุงไข่และสเปิร์มมาให้แล้ว ทักแอดมินขอสูตรได้เลยค่ะ
Kommentare