top of page
ค้นหา

ติดหวาน งานงอก กินหวานไป ไข่พัง ฮอร์โมนเพี้ยน ท้องยากค่ะ จำให้ขึ้นใจอยากท้อง ต้องงดหวาน


แม่ๆ ที่ติดหวานมาตลอด ชาเย็นวันละ 2 แก้ว วายเคเฟ่ เค้ก คุกกี้ ไม่ขาด ระวังท้องยากนะคะ มาดูค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) กันค่ะ ทานแบบไหนน้ำตาลพุ่งปรี๊ด ทานแบบไหนคุมระดับน้ำตาลได้


●Glycemic Index (GI) หรือค่าดัชนีน้ำตาลคืออะไร?


#เป็นค่าบ่งชี้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หากรับประทานอาหารที่มีค่า Glycemic Index สูงก็จะยิ่งส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงเร็ว ซึ่งการอ่านค่าดัชนีน้ำตาลอาจเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาล โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้หญิงที่ป่วยภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS)


.


●ค่า Glycemic Index แบ่งออกเป็นกี่ระดับ?


แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ สูง กลาง และต่ำ โดยผู้ที่ใช้ค่าดัชนีน้ำตาลมาเป็นเกณฑ์ในการรับประทานมักมุ่งเน้นไปที่อาหารที่มีค่า GI ต่ำ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และไม่เป็นอันตราย ขณะที่อาหารที่มีค่า GI สูง จะทำให้น้ำตาลพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการรับประทานจนอาจเป็นอันตรายได้


ค่าดัชนีน้ำตาลนั้นจะช่วยให้เราคาดคะเนได้ว่าหลังจากรับประทานอาหารชนิดนี้เข้าไป ระดับน้ำตาลในเลือดจะค่อย ๆ ดูดซึม หรือจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจึงสามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้ระดับน้ำตาลสูงเกินพอดี เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะที่เป็นอันตรายได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน อย่างยาที่ใช้หรือปัญหาสุขภาพในด้านอื่น ๆ


.


●ระดับของ Glycemic Index


#ระดับต่ำ (0-55)


Glycemic Index ระดับต่ำมักปลอดภัยสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยอาหารที่มีค่า GI ต่ำ เช่น นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ น้ำมันมะกอก ข้าวกล้อง สตรอว์เบอร์รี แอปเปิล ชมพู่ แก้วมังกร แครอท มะเขือเทศ ข้าวโพด บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ มันหวานต้ม ควินัว ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆ เป็นต้น


#ระดับกลาง (56-69)


ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคหัวใจ ควรรับประทานแต่พอดี อีกทั้งการบริโภคอาหารที่มีค่าในระดับกลางมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ โดยตัวอย่างของอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลระดับกลาง เช่น กล้วย สับปะรด ลูกเกด น้ำส้ม เป็นต้น


#ระดับสูง (70 ขึ้นไป)


อาหารในกลุ่มนี้ ควรรับประทานอย่างจำกัด เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจาก


ร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลจากอาหารประเภทนี้ได้อย่างรวดเร็ว โดยตัวอย่างของอาหาร GI สูง เช่น ข้าวขัดสี ขนมปังขาว น้ำนมข้าว แตงโม มันฝรั่ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เค้ก คุ้กกี้ ของหวาน ลูกอม และน้ำหวาน เป็นต้น


.


●ค่าดัชนีน้ำตาลสำคัญต่อคนวางแผนท้องอย่างไร?


สำหรับผูหญิงที่วางแผนตั้งครรภ์การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด


การรับประทานคาร์โบไฮเดรต หรือ น้ำตาล มากเกินไปจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงของภาวะมีบุตรยากค่ะ


📚งานวิจัยของ "The American Society of Reproductive Medicine" (ASRM) พบว่า ผู้ที่จะเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่เปลี่ยนการรับประทานอาหารเป็นแบบลดคาร์โบไฮเดรต และ เน้นโปรตีนเพิ่มมากขึ้นก่อนที่จะเข้ากระบวนการ

มีอัตราการเพิ่มจำนวนของบลาสโตซิสต์


(blastocyst) จาก19% เป็น 45%


.


👉เพราะการทานคาร์โบไฮเดรต ท้ายที่สุดร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทานอาหารแบบลดน้ำตาลลงนี้ส่งผลอย่างมากต่ออัตราการตั้งครรภ์ ซึ่งผู้ที่ลดการทานคาร์บ และทานอาหารไม่หวาน จะมีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 83% เลยทีเดียวค่ะ


.


👉นอกจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคเบาหวานตามมาได้แล้ว หากกินน้ำตาลมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิด "ภาวะดื้อต่ออินซูลิน" ด้วย ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล เมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าปกติ โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าการบริโภคน้ำตาลทุก ๆ 150 แคลอรี่ อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นถึง 1.1 เปอร์เซ็นต์




#โรคเบาหวานกับการมีบุตรยาก เป็นเรื่องที่แพทย์และนักวิจัยได้ศึกษาและมีผลวิจัยออกมาอย่างชัดเจนแล้ววาผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นมีระดับกลูโคสในเลือดสูง ซึ่งระดับกลูโคสในเลือดสูงนี้เป็นภัยต่อการพัฒนาของบลาสโตซิสต์ (blastocyst)


.


●ระดับของกลูโคสส่งผลต่อภาวการณ์มีบุตรยากในประเด็นใดบ้าง?


➡️การมีระดับกลูโคสในเลือดสูงทำให้การหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขหรือ อะดรีนาลีนลดลง เมื่อร่างกายมีความเครียดจะมีผลให้ให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งจะส่งผลต่อการที่ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวงจรการมีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติส่งผลต่อการมีบุตรยากค่ะ


➡️การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิด


ภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ขึ้นและที่ร้ายไปกว่านั้นมันสามารถทำลายเซลล์ไข่ได้เลย


➡️น้ำตาลส่งผลต่อโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความเสื่อมของสเปิร์มและเซลล์ไข่ ก่อนวัยอันควร


.

.


ดังนั้นระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปจึงไม่ส่งผลดีต่อแม่ๆ ที่วางแผนตั้งครรภ์แน่นอนค่ะ เพราะจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ฮอร์โมนไม่สมดุลซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากทั้งสิ้นค่ะ


แม่ๆ ที่วางแผนท้อง การให้ความสำคัญกับโภชนาการจึงสำคัญที่สุดค่ะ #เน้นทานโปรตีน เน้นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด งดหวานเด็ดขาด ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ ครูก้อยรวบรวมคัมภีร์อาหารสำหรับคนวางแผนท้องมาให้แล้ว ศึกษาและทำตามนะคะ ครูก้อยขอให้แม่ๆ มีเบบี๋ในเร็ววันค่ะ



ดู 181 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page