top of page
ค้นหา

แม่ท้อง ท้องอืด ในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ แก้อย่างไรดี?



แม่ท้อง ท้องอืด เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เลยก็ว่าได้ค่ะ สำหรับอาการแน่นท้อง อึดอัด จนทำให้ไม่สบายตัวและไม่สามารถทำกิจกรรมในระหว่างวันได้สะดวก อีกทั้งยังสร้างความกังวลให้กับคุณแม่หลายๆ คนด้วยว่าอาการท้องอืดเช่นนี้จะส่งผลเสียต่อลูกของเราหรือไม่ ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกับครูก้อยกันค่ะว่าอาการเช่นนี้เกิดจากอะไรและแก้ไขอย่างไรได้บ้าง


แม่ท้อง ท้องอืด ปกติไหม เป็นอันตรายต่อลูกหรือเปล่า มีวิธีแก้อย่างไรบ้าง?


การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคนท้องที่สำคัญคือปริมาณฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้แม่ท้องต้องผจญกับอาการเจ็บป่วยต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะแพ้ท้อง เบื่ออาหาร และหนึ่งในอาการสำคัญที่แม่ท้องเป็นกันบ่อยๆ ก็คือ อาการท้องอืดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนท้องอ่อนๆ


ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ระบบการย่อยอาหารของแม่ท้องทำงานได้เชื่องช้า ไม่เหมือนตอนร่างกายปกติ ดังนั้น แม่ท้องจึงท้องอืด ลมในท้องเยอะ และอาหารไม่ย่อยได้ง่าย


นอกจากฮอร์โมนคนท้องที่เพิ่มขึ้นแล้ว การที่มดลูกขยายตัวมากขึ้นก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คนที่เริ่มตั้งครรภ์อ่อนๆ สัมผัสได้ถึงอาการท้องอืด


สาเหตุอาการท้องอืดใน คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก


สาเหตุอาการท้องอืดของคุณแม่ตั้งครรภ์อาจเกิดจากปัจจัยอื่นนอกจากการมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูง เพราะบางครั้งเกิดจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การคลื่นไส้หรือการรับประทานอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการสร้างแก๊สได้มากกว่าปกติ นอกจากนี้การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วยังทำให้ลมเข้าระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดลมขึ้นได้ เมื่อรวมกับแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารจะทำให้เกิดการผลิตแก๊สออกมา ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดมากกว่าปกติ


นอกจากนี้ การรับประทานอาหารบางอย่าง เช่น นมที่มีน้ำตาลแลคโตสหรือผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ ที่ทำให้การย่อยไม่ดี จึงเกิดเป็นแก๊สและทำให้รู้สึกแน่นท้อง เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่ชื่อว่าแลคเตส ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสนั่นเอง รวมถึงอาหารบางอย่างเป็นอาหารที่ย่อยยากโดยธรรมชาติ หลังจากรับประทานเข้าไปแล้ว อาจทำให้เกิดการผลิตแก๊สปริมาณมาก เช่น บล็อกโคลี่ ผักกะหล่ำ ผักคะน้า ถั่ว หัวหอม ธัญพืช ข้าวโอ๊ต เป็นต้น



อาหารที่แม่ตั้งครรภ์อ่อนๆ ต้องเลี่ยง


1. ผักที่ทำให้แม่ท้องอ่อนมีอาการท้องอืดได้ เช่น กะหล่ำปลี หัวหอม กะหล่ำดาว กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพด

2. ผลิตภัณฑ์ธัญพืชเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี ข้าวโอ๊ต และถั่ว

3. ผลไม้ที่ทำให้แม่ท้องอ่อนมีอาการท้องอืดได้ เช่น ลูกแพร์ พรุน แอปเปิ้ล พีช

4. ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม ไอศกรีม ชีส

5. น้ำอัดลมและน้ำผลไม้


อย่างไรก็ตาม ผัก ผลไม้ ธัญพืช เหล่านี้ แม่ท้องสามารถรับประทานได้ตามปกติ แต่ต้องไม่บริโภคมากเกินไป และที่สำคัญ ต้องหัดสังเกตอาการท้องอืดหลังรับประทานอาหารด้วย เพราะอาหารบางชนิดมีผลกับร่างกายแม่ท้องแต่ละคนแตกต่างกัน โดยสังเกตอาหารที่ทำให้แม่ท้องอ่อนมีอาการท้องอืดซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 6 ชั่วโมง


วิธีบรรเทาอาการท้องอืดของแม่ท้องอ่อน


1. คุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์อ่อนๆ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง โดยเริ่มจากเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เป็นการช่วยร่างกายให้ย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น

2. แม่ท้องอ่อนต้องหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารที่เผ็ดจัด เพราะจะยิ่งส่งผลต่ออาการท้องอืด ไม่สบายท้องได้

3. ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์อ่อนๆ แม่ท้องต้องเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารทอด และอาหารมันพราะเป็นอาหารที่ย่อยได้ยาก

4. แม่ที่ตั้งครรภ์อ่อนๆ อย่าปล่อยให้ท้องว่าง เพรา เมื่อท้องว่างจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้ ทั้งยังก่อให้เกิดอาการปวดหัวระหว่างตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

5. แม่ท้องต้องทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่เน้นการทานอาหารหลายๆ มื้อในแต่ละวัน วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดอาการท้องอืดได้แล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้อีกด้วย

6. อีกวิธีที่จะช่วยลดอาการท้องอืด และบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ด้วยคือการจิบน้ำขิงอุ่นๆ


หากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อ่อนๆ มีอาการท้องอืด ลองลดละเลี่ยงอาหารบางชนิด และออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดอาการท้องอืดได้ค่ะ


คนท้อง ท้องอืด แม่ท้องกินยาได้หรือไม่


คนท้องท้องอืดกินยาะไรได้บ้าง กินยาหอมได้ไหม เมื่อคุณแม่ที่พยายามหลีกเลี่ยงอาการท้องอืด

อย่างหนัก แต่ก็ไม่สามารถเลี่ยงอาการดังกล่าวได้ วิธีสุดท้ายคงเป็นการพึ่งยาเพื่อบรรเทาอาการแน่น

ท้องนี้ แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วข้อจำกัดของการใช้ยามีมากมาย


โดยยาที่คณแม่สามารถใช้ได้มี ดังต่อไปนี้


  • ยาเม็ด air - x , แอนตาซิล

  • ยาน้ำ อะลัมมิลค์

  • ยาสมุนไพร ขมิ้นชัน

  • อีโน (ได้ผลค่อนข้างดี) เนื่องจากอีโนสามารถ บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก กรดไหลย้อน แต่ห้ามใช้ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่เองควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการใช้ยา รมทั้งแจ้งว่า อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์

หรือระหว่างให้นมบุตร เพื่อให้คุณหมออธิบายว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ และมีผลข้างเคียงอย่างไรค่ะ


อย่างไรก็ดี หากดูรายละเอียดเบื้องต้นแล้ว อาการท้องอืดและแน่นท้องก็ยังคงเป็นอาการทั่วไปที่เกิดจากคุณแม่เสียเป็นส่วนใหญ่ และไม่ได้ส่งผลอันตรายใดๆ ต่อลูกค่ะ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ควรวางใจนะคะ หากมีอาการผิดปกติใดๆ คุณพ่อและคุณแม่ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ


บทความที่น่าสนใจ


ดู 10,942 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page