EAB0QEXbTASoBOZB7ZAcYLh1A1zKrvmntyi4nwsdK4ZCixZAMhZBKPzpEdJNF00ZBNVQZBkV7JcU88g2o98bTdZBXAZBZBttIOZBiZCKj755ukZAlTHMy44ZBjSKKE3zhvdk4M7nPbroJh60CEaq8kfZAYnmI44exDpieZCCoAzTO4RRji3clwuZCllPIsdUWaacrfZBE9nZA2TGOgZDZD คุณแม่ควรตรวจฮอร์โมนอะไรก่อนไปทำ ICSI
top of page
ค้นหา

คุณแม่ควรตรวจฮอร์โมนอะไรก่อนไปทำ ICSI

แม่ๆ รู้หรือไม่ว่าการตรวจฮอร์โมนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว โดยแพทย์จะต้องตรวจฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดังกล่าวเพื่อประเมินความสำเร็จในการรักษาเบื้องต้น ว่าแต่มีฮอร์โมนอะไรบ้างครูก้อยจะมาเล่าให้ฟังค่ะ


ทำไมถึงต้องตรวจฮอร์โมนก่อนทำ ICSI


ฮอร์โมนในร่างกายมีหลายชนิด แต่ฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วคือฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ดังนั้นคุณแม่คนไหนที่ต้องการมีบุตรก็ควรตรวจฮอร์โมนเพื่อให้แพทย์นำผลมาใช้ในการพิจารณาและเลือกวิธีการรักษา, ให้ยา รวมถึงประเมินความสำเร็จในการรักษาเบื้องต้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่บางคนมีค่า FSH สูงเกิน 10 แสดงว่ามีภาวะรังไข่เสื่อม หรือเข้าสู่วัยทองก่อนวัยอันควร ส่งผลให้ไข่ด้อยคุณภาพ, มีไข่น้อย, ปลายกิ่งปลายก้านและรังไข่เริ่มไม่ผลิตไข่แล้ว หรือบางคนมีค่า AMH ต่ำมาก (น้อยกว่า 1) แสดงว่าคุณแม่แทบจะไม่มีไข่สำรองอยู่ในรังไข่เลย ดังนั้นคุณแม่จึงคาดหวังไม่ได้ว่า หากกระตุ้นไข่แล้วได้ไข่ประมาณ 15-20 ใบเหมือนคนอื่น ดังนั้นคุณแม่ที่มี AMH ต่ำ จะต้องทำความเข้าใจและยอมรับผลตามพื้นฐานฮอร์โมนของตัวเองด้วย


ช่วงเวลาสำหรับตรวจฮอร์โมน


วันนี้ครูก้อยจะมาพูดถึงประสบการณ์การตรวจฮอร์โมนก่อนทำ ICSI จากตัวครูก้อยเอง โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่


1. ตรวจช่วงไหนก็ได้ ไม่ต้องรอมีประจำเดือน


  • ตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH) เป็นอันดับแรก ควรมีค่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.5-5 แต่ถ้าได้ผล 15-20 ขึ้นมา ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ เพราะถ้าร่างกายมีฮอร์โมนชนิดนี้สูงเกินไป จะส่งผลให้ขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน

  • ตรวจฮอร์โมน Prolactin หรือฮอร์โมนน้ำนม ควรมีค่ามาตรฐานน้อยกว่า 15-20 หากมีฮอร์โมนสูงเกินไปอาจไปยับยั้งวงจรการตกไข่ ทำให้ไข่ไม่ตก

  • ตรวจฮอร์โมน Anti-Mullerian Hormone (AMH) เป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกว่ามีไข่หรือไม่ หากมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่ามีไข่ (ค่ายิ่งมากยิ่งมีไข่มาก) แต่หากมีค่า AMH มากกว่า 6 แสดงว่าอยู่ในภาวะ OHSS หรือภาวะรังไข่กระตุ้นมากเกินไป ส่วนใครที่มีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่ามีไข่น้อยหรืออาจไม่มีเลย


2. ตรวจช่วงมีประจำเดือนวันที่ 1-3


  • ตรวจฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนสำหรับบอกการทำงานของรังไข่ว่ารังไข่เสื่อมไหม เข้าวัยทองหรือยัง โดยค่ามาตรฐานของ FSH จะต้องไม่เกิน 10

  • ตรวจฮอร์โมน E2 (Estradiol) เป็นออร์โมนเพศหญิง มีค่ามาตรฐานไม่ควรเกิน 50 (ในช่วง day 1-3)

  • ตรวจฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone) เป็นฮอร์โมนไข่ตก ไม่ควรมีค่ามาตรฐานเกิน 6 (ในช่วง day1-3)


3. ตรวจช่วงหลังไข่ตก (ช่วง Luteal phase)


หรือประมาณ Day 12-14 ของรอบเดือนก่อนใส่ตัวอ่อน โดยการตรวจเลือดหาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะช่วยประเมินคุณแม่ที่เคยมีปัญหาตั้งครรภ์ยากด้วยการดูว่าผนังมดลูกบางหรือไม่ ทั้งนี้จะมีค่าโปรเจสเตอโรนแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่

  • วันแรกที่มีประจำเดือนจนถึงวันก่อนไข่ตก (Follicular phase) มีค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 0.2 – 1.5 ng/ml

  • วันไข่ตก (Ovulatory phase) มีค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 0.8 – 3.0 ng/ml

  • หลังวันไข่ตกจนถึงวันก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไป (Luteal phase) มีค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 1.7 – 27 ng/ml


บทความที่น่าสนใจ

ดู 2,641 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page