

ศึกษาความรู้เพิ่มเติม คลิ๊ก https://www.babyandmom.co.th/fertility-supplements
.
PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือไมโครเมตร เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม PM2.5 มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า ทำให้เล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าไปถึงถุงลมในปอดและหลอดเลือดได้ง่าย ทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด และส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว
นอกจากนี้ PM2.5 ยังสามารถส่งผ่านองค์ประกอบหลายชนิดเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงกลุ่มของสารประกอบโพลีไซคลิกอะโรเมติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons หรือ PAHs) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีที่มีมากกว่า 100 ชนิด ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์หรือการสลายทางเคมีของสารอินทรีย์โดยความร้อน เชื้อเพลิงจากถ่านหิน ไม้ และสารอินทรีย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดสารทำลายต่อมไร้ท่อหลายชนิด ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการสร้างอสุจิและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตัวอสุจิ
.





ซึ่ง mobile application ต่างๆที่เสนอค่า AQI (Air Quality Index) นี้ก็เอาค่ามลพิษต่างๆมาคำนวณ โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
โดยทั่วไปแล้วคนเราจะได้รับสารพิษเหล่านี้หลักๆจากการหายใจและจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนกับมลพิษเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย
***แล้วฝุ่นมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์หรือภาวะมีบุตรยากหรือไม่?!***
***คำตอบ มีทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย***
.


– NO2, O3 --> ลดอัตราการคลอดมีชีวิต (Live birth rate)
– pm10 --> เพิ่มอัตราการแท้งบุตร (miscarriage)
– pm2.5, pm2.5-10 -->ลดอัตราการตั้งครรภ์ต่อรอบเดือน (fecundability rate)
– SO2, CO, NO2 --> เพิ่มอัตราการแท้งบุตร และ อัตราตายคลอด
.

ตรวจน้ำอสุจิพบว่า มลพิษอากาศเหล่านี้ ลดความเข้มข้น ลดการเคลื่อนที่ ลดอสุจิรูปร่างปกติ และเพิ่มตัวอสุจิที่มีความเสียหายของสารพันธุกรรม (Sperm DNA fragmentation)อีกด้วย
สำหรับกลไกที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีสมมุติฐานที่คาดว่าเกิดจากการที่สารมลพิษไป ทำให้การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนผิดปกติไป ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น มีการสร้างสารอักเสบมากขึ้น หรือทำให้ยีนหรือสารพันธุกรรมต่างๆผิดปกติ
และจากรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Occupational & Environmental Medicine กล่าวว่า แม้ว่าผลกระทบจะ “ค่อนข้างเล็กในแง่คลินิก” แต่ก็อาจนำไปสู่การมีบุตรยากสำหรับ “คู่สมรสจำนวนมาก” เนื่องจากมลพิษทางอากาศมีในเมืองต่างๆ ทั่วโลก การศึกษาได้ข้อสรุปว่า มีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการสัมผัสกับ PM2.5 ต่อสัณฐานวิทยาปกติของอสุจิในคุณผู้ชายวัยเจริญพันธุ์
ดังนั้นจึงควรอย่างยิ่งที่จะหลีกเลี่ยงป้องกันตัวเองจากฝุ่นด้วยวิธีที่เหมาะสมเพราะโดยภาพรวมแล้วฝุ่นส่งผลเสียต่อการเจริญพันธุ์แน่นอนค่ะ







Cr. Mom Journey
FB.มีลูกง่าย by หมอมอส
Conforti A, Mascia M, Cioffi G, et al.
Air pollution and female fertility: a systematic review of literature. Reprod Biol Endocrinol. 2018;16(1):117.
Published 2018 Dec 30. doi:10.1186/s12958-018-0433-z
Jurewicz J, Dziewirska E, Radwan M, Hanke W.
Air pollution from natural and anthropic sources and male fertility. Reprod Biol Endocrinol. 2018;16(1):109.
Published 2018 Dec 23. doi:10.1186/s12958-018-0430-2
#ครูก้อย – #BabyandMom.co.th –