

ศึกษาความรู้เพิ่มเติม คลิ๊ก www.babyandmom.co.th
สั่งซื้อสินค้าได้ที่ Line:http://bit.ly/2Sj6CZR
.
การตรวจฮอร์โมนโดยการเจาะเลือดในช่วงมี ปจด. 1-3 วันแรก สามารถระบุถึงภาวะการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงว่า ตนเองกำลังจะหมดประจำเดือน หรือในรายที่แต่งงานแล้วยังไม่มีลูก สามารถวางแผนการทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อทราบว่าโอกาสที่จะประสบความสำเร็จว่ามีมากน้อยแค่ไหน และประเมิณในการให้ยากระตุ้นไข่ที่เหมาะสมหากผลตรวจพบว่า ระดับค่า AMH สูงหมายความว่าโอกาสประสบความสำเร็จสูง เพราะปริมาณ และคุณภาพไข่ดี มีโอกาสที่ฉีดยากระตุ้นแล้วทำให้ได้ไข่หลายใบ
การตรวจฮอร์โมน ก่อนทำ icsi แบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

TSH 0.5-5 ปกติ
15-20 ควรดูแลใกล้ชิด
.
Prolactin (PRL) <15-20
.
Amh > 1
ค่าน้อยกว่า 1
ไข่น้อย

ค่ามากกว่า 4
ไข่มากไป เฝ้าระวัง OHSS

************************************

FSH ไม่เกิน 10 (day1-3)
.
E2 เอสตราไดออล (Estradiol)
ไม่ควรเกิน 50 (day1-3)
.
LH ไม่เกิน 6 (day1-3)
.
ดู Live ต้องตรวจอะไรก่อนไป icsi 









.
เรามาทำความรู้จักกับฮอร์โมนแต่ละตัวกันค่ะ


การตรวจ thyroid-stimulating hormone (TSH) test นั้นเป็นการวัดปริมาณค่า TSH ในเลือด TSH นั้นถูกสร้างจากต่อมใต้สมองซึ่งตั้งอยู่ที่ฐานของสมอง ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์ผลิต
.
ต่อมไทรอยด์นั้นเป็นต่อมขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายผีเสื้อที่ตั้งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าลำคอ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลักๆ 3 ตัวคือ
• Triiodothyronine (T3)
• Thyroxine (T4)
• Calcitonin
ต่อมไทรอยด์นั้นควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน ตั้งแต่กระบวนการเผาผลาญและการเจริญเติบโตผ่านฮอร์โมนทั้ง 3 ตัวนี้
.
ต่อมไทรอยด์นั้นจะมีการหลั่งฮอร์โมนออกมามากขึ้นหากต่อมใต้สมองนั้นผลิต TSH ออกมามากขึ้น ต่อมทั้ง 2 นั้นจึงทำงานร่วมกันในการควบคุมให้มีการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนในปริมาณที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามหากมีความผิดปกติในสมดุลนี้ ต่อมไทรอยด์ก็อาจจะมีการสร้างฮอร์โมนออกมามากขึ้นหรือน้อยลง
.
การตรวจ TSH นั้นมักจะทำเพื่อดูสาเหตุที่ทำให้มีความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ นอกจากนั้นยังใช้ช่วยคัดกรองภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไป การวัดค่า TSH ในเลือดจะทำให้แพทย์ทราบการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งในกระบวนการเดฌกหลอดแก้ว #หากฮอร์โมนตัวนี้สูงกว่าปกติจะขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้
.
ผลการตรวจ
TSH 0.5-5 ปกติ
15-20 ควรดูแลใกล้ชิด
.
หากผลการตรวจนั้นสูงกว่าช่วงดังกล่าวแสดงว่าต่อมไทรอยด์นั้นทำงานน้อยกว่าปกติ ซึ่งแสดงว่ามีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เวลาที่ต่อมไทรอยด์นั้นผลิตฮอร์โมนออกมาเพิ่มขึ้นเพื่อพยายามกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์
.
หากผลการตรวจนั้นต่ำกว่าช่วงดังกล่าวแสดงว่าต่อมไทรอยด์นั้นทำงานมากกว่าปกติ และมีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง เวลาที่ต่อมไทรอยด์นั้นผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ ต่อมใต้สมองจะหลั่ง TSH ออกมาลดลง
.
ผลการตรวจที่ได้จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการตรวจเพิ่มเติมและวางแผนการใส่ตัวอ่อน


เป็นฮอร์โมนผลิตออกมาจากสมองส่วนหน้าเช่นเดียวกับ FSH และ LH มีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก ระดับโปรแลคตินจะสูงในสตรีขณะตั้งครรภ์และขณะให้นมบุตรมันมีอำนาจยับยั้งการหลั่งของ FSH และ LH เมื่อ FSH และ LH ลดลง #การกระตุ้นการทำงานของรังไข่ก็ลดลง ทำให้การผลิตฮอร์โมนจากรังไข่ลดลง และ #ไม่ตกไข่
.
ผลการตรวจ ควรมี Prolactin <15-20
ภาวะโปรแลคตินสูงในสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ และไม่ได้ให้นมบุตร จะมีผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ด้วย มีความรุนแรงต่างกันแล้วแต่ระดับของฮอร์โมนที่ผิดปกติและปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายตั้งแต่มีการตกไข่ปกติ, มีการตกไข่แต่ระดับโปรเจสเตอโรนต่ำ, การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ตกไข่เลย ทำให้บางครั้งประจำเดือนไม่สม่ำเสมอหรือขาดประจำเดือน
.
สาเหตุ
สาเหตุของภาวะโปรแลคตินสูงผิดปกติมีหลายอย่าง อาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของสมองส่วนล่างหรือเนื้องอกของต่อมใต้สมองเอง โรคของต่อมธัยรอยด์ หรือความเครียดของประสาท, การถูกกระตุ้นบริเวณเต้านมหรือหัวนม, การถูกรบกวนหรือเส้นประสาทบริเวณทรวงอก การรับประทานยาบางอย่างโดยเฉพาะยาระงับประสาทและยาฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด ยารักษาความดันโลหิตสูง หรือ ยารักษาโรคกระเพาะอาหารบางอย่าง
.
อาการ
อาการของภาวะโปรแลคตินสูงผิดปกติ ก็มักเป็นอาการของการทำงานของรังไข่ผิดปกติ เช่น มีบุตรยาก, แท้งบ่อย, ประจำเดือนมาผิดปกติ, ไม่สม่ำเสมอหรือขาดประจำเดือนอาจมีอาการปากช่องคลอดและช่องคลอดแห้งบาง, เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์, ความรู้สึกทางเพศลดลง กระดูกพรุน ถ้ามีเนื้องอกของต่อมใต้สมองก็อาจมีอาการปวดศีรษะ ลานสายตาหรือการมองเห็นภาพผิดปกติ บางรายก็พบว่ามีน้ำนมไหล ทั้งที่ไม่ได้ตั้งครรภ์หรือไม่ได้มีลูกอ่อนที่กำลังให้นมแม่ ในผู้ชายอาจมีภาวะโปรแลคตินสูงด้วยเหมือนกันทำให้มีปัญหาเชื้ออสุจิผิดปกติ และความรู้สึกทางเพศลดลงได้
.
การรักษา
ภาวะโปรแลคตินสูงผิดปกติที่ทราบสาเหตุ เช่น ความเครียด หรือได้ยาระงับประสาท ฯลฯ จะกลับเป็นปกติได้ถ้าขจัดสาเหตุ พวกที่ไม่ทราบสาเหตุหรือมีเนื้องอกต่อมใต้สมองขนาดเล็กไม่เกิน 1 ซ.ม. สามารถรักษาได้ด้วยยาลดการหลั่งโปรแลคติน (bromocriptine) แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาในขนาดที่พอเหมาะโดยมีการตรวจหาระดับโปรแลคตินในเลือดเป็นระยะ ๆ จนกว่าผู้ป่วยจะตั้งครรภ์ หรือให้เป็นระยะเวลายาวนาน ยังไม่มีใครบอกได้ว่าจะต้องให้ยานานเท่าไร เพราะเรารู้จักและรักษาภาวะผิดปกตินี้ได้ยังไม่นานพอ และไม่พบว่ายานี้มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่แพทย์บางคนอาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดยาเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ในคนที่มีเนื้องอกของต่อมใต้สมอง เมื่อได้ยาเนื้องอกลดขนาดลงได้แต่อาจโตขึ้นมาอีกเมื่องดยา ผลข้างเคียงของยาคือคลื่นไส้อาเจียนเวียนศีรษะปวดศีรษะ หน้ามืดเมื่อลุกขึ้นเร็วๆ ผู้ป่วยมักทนยาไม่ค่อยได้ แพทย์จะเริ่มให้ยาคราวละขนาดน้อยๆก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มขนาดเมื่อคนไข้คุ้นกับยา


(AMH) เป็นการตรวจเพื่อทดสอบสภาพรังไข่ (Ovarian Reserve) โดยการเจาะเลือดตรวจหาระดับแอนตี้มูลเลอเรียนฮอร์โมน (Anti-Mullerian hormone) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “AMH” ซึ่งผลิตจากรังไข่ มีบทบาทสำคัญในการผลิตฮอร์โมนเอสโตเจนของผู้หญิง สามารถบ่งบอกได้ว่ารังไข่ทำงานเป็นอย่างไร ปกติหรือไม่ และสามารถตรวจวัดได้ว่าในรังไข่ยังมีไข่อยู่มากน้อยเพียงใด
.
หากระดับค่า AMH สูง แสดงว่าจำนวนไข่สะสมมาก โอกาสที่มีปริมาณและคุณภาพไข่ดี ความสำเร็จในการมีบุตรสูง ถ้าระดับค่า AMH ต่ำ บ่งบอกได้ว่าจำนวนไข่เหลือปริมาณน้อย ควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการช่วยการมีบุตร
.
ผลการตรวจ
Amh > 1
ค่าน้อยกว่า 1
ไข่น้อย

ค่ามากกว่า 4
ไข่มากไป เฝ้าระวัง OHSS (ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป)



.
หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป (มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของโรค Polycystic Ovarian Syndrome หรือ (PCOS) หรือถ้าสูงเกินไป (ในขณะที่อาจจะเห็นในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด) จะสามารถทำให้เป็นผู้มีบุตรยากได้
.
ผลการตรวจ
“FSH ระดับปกติ” สำหรับผู้หญิงโดยทั่วไปจะไม่เกิน 10 mIU/ml และระดับของ FSH ในร่างกายของคุณ จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรังไข่สำรองที่คุณมีอยู่ (ovarial reserve รววถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่) ซึ่งทำให้การตรวจวัดระดับ FSH สามารถนำมาใช้ทำนายได้ว่าคุณมีภาวะเจริญพันธุ์อยู่ในระดับใด (ความสามารถในการตั้งครรภ์)
.
เมื่อคุณมีจำนวณไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายของคุณจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้นเพื่อเป็นชดเชยและจะได้กระตุ้นให้ follicle มีการเจริญมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูงอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว การมี FSH ในระดับต่ำเกินไปอาสส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้วงจรรอบเดือนหยุดชะงักไปได้


E2 เอสตราไดออล (Estradiol)
เอสโตรเจนที่ร่างกายสร้างจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ มีโครงสร้างเคมีเป็นสารกลุ่มสเตียรอยด์ 6 ชนิด แต่ที่สำคัญมี 3 ชนิด ได้แก่
1. เอสไตรออล
2. เอสโตรน
3. เอสตราไดออล
.
เอสโตรเจนมีผลต่อร่างกายอย่างไร?










พบว่าเอสโตรเจนในปริมาณต่ำจะกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมนเอฟเอสเอช (FSH) ซึ่งเอฟเอสเอชเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของถุงไข่และไข่อ่อน แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีปริมาณเอสโตรเจนมาก กลับมีผลตรงกันข้าม คือ จะไปยังยั้งต่อมใต้สมองส่วนหน้าไม่ให้หลั่งเอฟเอสเอช เมื่อไม่มีเอฟเอสเอช ก็จะทำให้ไม่มีการเจริญเติบโตของถุงไข่อ่อนและไข่อ่อน
.
ในทางการแพทย์จึงได้นำผลของเอสโตรเจนข้อนี้มาใช้ในการคุมกำเนิด โดยทำเป็นยาเม็ดคุมกำเนิด เมื่อรับประทานเข้าไปก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณเอสโตรเจนในร่างกายให้มากขึ้น ทำให้มีผลยังยั้งต่อมใต้สมองส่วนหน้าไม่ให้หลั่ง FSH เมื่อไม่มี FSH ถุงไข่และไข่อ่อนก็ไม่เจริญเติบโต เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ทางอ้อมนั่นเอง
.
ผลการตรวจ
ไม่ควรเกิน 50 (day1-3)


การตรวจวัดระดับฮอร์โมนลูทิไนซิง
ผลการตรวจ
LH ไม่เกิน 6 (day1-3)
.
แพทย์อาจตรวจวัดระดับฮอร์โมนลูทิไนซิงจากการตรวจเลือดหรือจากการตรวจปัสสาวะ ซึ่งค่าผลลัพธ์ดังกล่าวจะช่วยให้เข้าใจถึงภาวะความผิดปกติได้ดังต่อไปนี้
• ความสามารถในการผลิตอสุจิลดลง
• การมีภาวะรอบเดือนมาผิดปกติ
• บอกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนตั้งครรภ์
• การเกิดโรคถุงน้ำในรังไข่
• ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง เช่น ภาวะ Prolactinoma
.
การรักษาภาวะที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนลูทิไนซิง แพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดเพื่อแก้ปัญหาสภาวะที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนลูทิไนซิง ซึ่งหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการมีบุตรเนื่องจากคู่ครองมีปัญหาเกี่ยวกับระดับของฮอร์โมนลูทิไนซิง แพทย์อาจทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก เช่น
• ในผู้ชาย ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ ทดสอบทางพันธุกรรม ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนอื่นๆ
• ในผู้หญิง ตรวจวัดระดับฮอร์โมนในเลือด วัดอุณหภูมิของร่างกาย การตรวจอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกาน การส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติที่มดลูก
.
หลังจากการทดสอบเพิ่มเติ่ม แพทย์อาจรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนเมโนโทรฟิน (Menotropin) ซึ่งเป็นส่วนผสมของฮอร์โมนลูทิไนซิงและฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติง (Follicle-stimulating hormone: FSH) มักใช้ในการรักษาสภาวะมีบุตรยากในทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งจะช่วยให้ผู้หญิงมีการตกไข่และช่วยให้ผู้ชายมีการสร้างอสุจิมากขึ้น