top of page
ค้นหา

ภาวะรังไข่หยุดทำงาน ยังมีลูกได้หรือไม่?



ภาวะรังไข่หยุดทำงาน เป็นเรื่องปกติและธรรมชาติที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ เนื่องจากไข่ที่ถูกผลิตขึ้นในร่างกายของเราจะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ จึงส่งผลให้การมีบุตรยากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ดี ยังมีหญิงสาวหลายๆ คนที่ต้องพบเจอภาวะนี้ก่อนวัย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ


ภาวะรังไข่หยุดทำงาน คืออะไร เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่?


โดยธรรมชาติแล้ว เซลล์ไข่ของเพศหญิง จะมีการผลิตตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์เพียง 5 เดือน และมีปริมาณมากถึง 5-7 ล้านใบ จากนั้นจำนวนไข่จะลดลงเรื่อยๆ และเมื่อคลอดออกมา จะเหลือเซลล์ไข่เพียง 1-2 ล้านใบเท่านั้น กระทั่งเข้าสู่ช่วงวัยสาวที่มีประจำเดือนพร้อมตกไข่ จะเหลือจำนวนไข่ที่ใช้การได้เพียง 400,000 ใบเท่านั้น และ 400,000 ใบที่ว่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมดที่จะมีคุณภาพดีพอสำหรับการตั้งครรภ์


และเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ก็จะส่งผลโดยตรงต่อการมีบุตร กล่าวได้ว่า เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีลูกยากมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป และถึงแม้จำนวนไข่จะเหลือพอที่นำมาใช้ปฏิสนธิได้ แต่ภาวะการเจริญพันธุ์จะลดลง ความสมบูรณ์ของโครโมโซมที่อยู่ในเซลล์ไข่ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเช่นกัน


นอกจากนี้ หากตั้งครรภ์ ในอายุที่มากกว่า 35 ปี ขึ้นไป ยังเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก และการแท้งมากกว่าปกติ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นจะทำให้โครโมโซมของไข่มีความผิดปกตินั่นเอง


ภาวะรังไข่หยุดทำงานคืออะไร ?


ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร หรือ รังไข่เสื่อม คือการที่รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ก่อนอาย 40ปิ โดยจะมีอาการที่พบได้คือ การขาดประจำเดือน การมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ต่ำ และมีฮอร์โมน folliclular stimulating hormone (FSH) ซึ่งสร้างจากต่อมใต้สมองอยู่ในระดับที่สูงมากเหมือนที่พบในสตรี วัยหมดประจำเดือนพบภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร ประมาณ 1 % ในสตรีที่อายุน้อยกว่า 40 ปีแต่ผู้ป่วยร้อยละ 50-75 มีการกสับมาทำงานของรังไข่ได้ป็นครั้งคราว และยังพบว่า ร้อยละ 5-10 สามารถตั้งครรภ์ได้เองโดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์


ภาวะรังไข่หยุดทำงานเกิดจากสาเหตุใด ?


ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกันค่ะ ประกอบด้วย


1. สาเหตุจากความผิดปติของโคโมโซม และพันธุกรรม


พบได้ประมาณ 20-30% สาเหตุทางพันธุกรรมพบบ่อยสุด Turner syndome ซึ่งจะมีการพัฒนาของรังไข่เป็นปกติขณะเป็นทารกในครรภ์ แต่จะมีการฝ่อของฟองไข่อย่างรวดเร็ว ซึ่งบางรายเริ่มมีการเสื่อมของฟองไข่หรือถูกทำลายตั้งแต่ในช่วงที่เป็นทารกเลย หรือในช่วงวัยเด็ก ทำให้หยุดทำงานเร็วกว่าคนทั่วไป ความรุนแรงของโรคมีหลายระดับ อาจจะไม่มีประจำเดือนและไม่มีการพัฒนาการทางเพศเลย หรือบางรายอาจจะมีการพัฒนาการทางเพศ เข้าสู่วัยสาว มีประจำเดือนอยู่ไม่กี่ปีก็จะเข้าสู่ภาวะรังไข่หยุดทำงาน


2. สาเหตุจากการมีภูมิต้านทานตนเอง


เช่น โรคพุ่มพวงหรือ SLE โรคภูมิต้านทานตนเองของต่อมไทรอยด์ (autoimmune thyroid disorder) โรคพราไทรอยด์ พบได้ประมาณ 10-30% บางรายถ้าได้รับกรรักษา หรือภาวะของโรคดีขึ้น การทำงานของงไข่อาจจะกลับมาได้


3. สาเหตุรังไข่หยุดทำงานหลังจากการผ่าตัด


พบว่าการทำผ่าตัดบริเวณรังไข่บางครั้ง อาจทำให้ปริมาณฟองไข่ลดลงจากการบาดเจ็บหรือตัดเอาเนื้อรังไข่ออกไป หรือ มีการรบกวนเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่ทำให้เนื้อรังไข่ขาดเลือดและไม่ทำงาน


4. การให้เคมีบำบัด


การได้รับรังสีจากการฉายแสงรักษา ถ้าได้รับรังสีในปริมาณที่มาก หรือหลายๆ ครั้ง หรือได้รีบยาเคมีบำบัดปริมาณมาก ก็จะมีผลทำลายเนื้อเยื่อของรังไข่ได้ ทำให้รังไข่หยุดทำงาน


5. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม


ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสูบบุรี่ จะทำให้กรสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจลดลง ยาฆ่าแมลง และโลหะหนักบางชนิด อาจจะเป็นพิษต่อเซลล์เนื้อเยื่อรังไข่ได้


6. การติดเชื้อ


เช่น คางทูม วัณโรค มาเลเรีย บได้น้อยมาก แต่ายงนการกิดภาวรังไข่ หยุดทำงานก่อนวัยอันควรได้ ส่วนใหญ่เมีอรักษาจนหายจากการติดเชื้อ งไข่ก็มักจะกลับมาทำงานปกติได้


7. ไม่ทราบสาเหตุ


ไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ 60-70% ของภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ


ภาวะรังไข่หยุดทำงานอาการเป็นอย่างไร ?


โดยทั่วไปแล้ว ภาวะรังไข่หยุดทำงานจะแสดงอาการเหมือนสตรีวัยหมดประจำเตือน คือ

  • จะไม่มีประจำเตือน

  • อาจจะมีอาการ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน

  • หงุดหงิด ปวดเมือยตัวไม่มีแรง

  • อารมณ์แปรปรวน

  • ช่องคลอดแห้ง ผิวแห้ง

  • กระดูกเปราะบาง หรือ กระดูกพรุน เป็นต้น

เกณฑ์การวินิจฉัย

  • อายุน้อยกว่า 40 ปี

  • มีรอบเดือนห่าง (oligomenorrhe a) หรือขาดประจำเดือน (amenorrhea) เป็นเวลาอย่างน้อย4 เดือน

  • ฮอร์โมน FSH สูงเหมือนในสรีวัยหมดประจำเตือน โดยการตรวจ 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์

แนวทางการรักษาภาวะนี้


สำหรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะนี้ สามารถแบ่งออกได้หลายแนวทางด้วยกันค่ะ เช่น


1. การให้กำลังใจและคำปรึกษา (Emotional support and counseling)


ผู้ป่วยภาวะนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับจิตใจสูง เนื่องเข้าสู่ภาวะไม่มีประจำก่อนคนทั่วไปเป็น 10 ปี รวมทั้งยังมีอาการต่างๆ ของคนวัยทองทำให้เสียความมั่นใจในตัวเอง และจะมีผลต่ออารมณ์ทางเพศ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเฮสโตรเจน สูญเสียโอกาสในการมีลูก จึงทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้า และหดหู่ ต้องการความเห็นใจ กำสังใจ งนั้น การให้ความช่วยเหลือให้กำลังใจ จึงมีความสำคัญมาก


2. การให้ฮอร์โมนทดแทน


สตรีที่มีรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย จำเป็นต้องให้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อบรรเทาอาการวัยทอง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ ลดภาวะสมองเสื่อม ภาวะกระดูกพรุน โดยทั่วไปจะให้ฮอร์โมนทดแทนจนถึงอายุเฉลี่ยของสตรีหมดประจำเดือนทั่วๆ ไป คือประมาณ 50 ปีเป็นอย่างน้อย จากนั่นจึงค่อยประเมินอาการหรือความจำเป็น เป็นรายๆ ไปว่ายังต้องให้ต่อหรือจะหยุดยาฮอร์โมนได้


3. การรักษาเกี่ยวกับปัญหาการมีบุตร


ผู้ป่วยรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร อาจจะมีประมาณ 5-10% ที่สามารถที่จะมีการตกไข่เองในบางรอบเดือน และตั้งครรภ์ได้ หรืออาจจะลองใช้ยาช่วยกระตุ้นไข่ หรือฮอร์โมนโกนาโดโทรปิ้น (gonado trapin) ช่วยทำให้มีการเจริญเติบโตของไข่ และตกไข่ได้ ถ้าไม่สามารถกระตุ้นไข่ ก็อาจจะใช้ไข่บริจาค

ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อช่วยในการมีบุตรได้


ป่วยเป็นภาวะรังไข่หยุดทำงาน ยังสามารถมีลูกได้หรือไม่?


หากรักษา อาการดีขึ้น กลับมาตกไข่ด้ มีโอกาสตั้งครรภ์ธรรมชาติ หรือ สามารถเก็บไข่เพื่อทำเต็กหลอดแก้วได้ค่ะ หากรังไข่ไม่สามารถทำงานด้อีก ไม่สามารถผลิตไข่ได้อีกแล้ว อาจต้องใช้ไข่บริจาคและใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต่อไปค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก: นพ. ชัยสึก จิวะธนะพร


บทความที่น่าสนใจ



ดู 861 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page