

ช่วยเยียวยาอาการ PCOS

– ภาวะที่มีฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง
– ร่วมกับภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
– ภาวะแอนโดรเจนสูงทำให้เกิดภาวะขนดก
– มีบุตรยาก
– ผิวหน้ามัน มีสิวมาก
– ภาวะผมบางจากแอนโดรเจน (Androgen-dependent alopecia)
– และภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังจะทำให้ระยะระหว่างรอบระดูห่างมากขึ้น
– ภาวะขาดระดู
– มีถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนมากที่รังไข่ (Polycystic ovary)


1.เอสโตรเจนมีระดับสูงร่วมกับไม่มีไข่ตกทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในสภาวะ Unopposed estrogen เสี่ยงต่อโรคเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว (Endometrial hyperplasia) และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial cancer)
2.แอนโดรเจนอิสระมีระดับสูงขึ้น ทำให้มีอาการแสดงอันเกิดจากฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศชาย เช่น เป็นสิว หน้ามัน ขนดก เป็นต้น
3.ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้เสี่ยงต่อภาวะ Metabolic syndrome และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

1. ระดูผิดปกติ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีระดูผิดปกติซึ่งพบได้ทุกรูปแบบแต่ที่พบบ่อยคือ รอบระดูห่าง (Oligomenorrhea) หรือขาดระดู (Amenorrhea) พบร้อยละ 45-95 มีรอบระดูไม่สม่ำเสมอและ/หรือมีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Menometrorrhagia) ร้อยละ 30 ซึ่งมักจะพบตามหลังภาวะขาดระดูและมี breakthrough bleeding จาก Unopposed estrogen
2. ภาวะขนดก (Hirsutism)
เป็นอาการที่บ่งบอกถึงการมีระดับแอนโดรเจนสูงที่พบได้บ่อยที่สุดใน PCOS โดยพบภาวะขนดกประมาณร้อยละ 70 แต่อาจมีอุบัติการณ์แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ ส่วนภาวะสิวมากพบร้อยละ 50 โดยจะพบที่บริเวณใบหน้า หน้าอกและหลังส่วนบน
3. ภาวะอ้วน (Obesity)
ผู้ป่วย PCOS มักพบร่วมกับภาวะอ้วน โดยพบได้ร้อยละ 35-76 ลักษณะเป็นอ้วนแบบลงพุงหรือ Android obesity และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะดื้ออินซูลิน นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาพบว่าการเพิ่มขึ้นของ Body mass index (BMI) และการที่มีการสะสมของไขมัน (Visceral adiposity) สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์ระดูมาผิดปกติ ภาวะแอนโดรเจนเกินและภาวะขนดก
4. ภาวะมีบุตรยาก (Infertility)
เนื่องจากภาวะไม่มีไข่ตกเรื้อรังจึงทำให้ผู้ป่วย PCOS มีบุตรยาก นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีระดับ insulin และ plasminogen activator inhibitor-1 (PAI-1) สูงกว่าปกติพบว่ามีความสัมพันธ์กับการแท้งบุตรและการแท้งซ้ำซากที่อายุครรภ์น้อยๆ นอกจากนี้ยังพบว่าอาจเพิ่มภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น เบาหวานแฝงขณะตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกี่ยวข้องโดยตรงหรือเป็นผลจากภาวะอ้วนที่มักพบในผู้หญิงที่อยู่ในภาวะ PCOS
5. ภาวะเสี่ยงในระยะยาวของผู้ที่เป็น PCOS ได้แก่
เบาหวาน ความผิดปกติของเมตาบอลิก
โรคระบบหลอดเลือดหัวใจและความดันโลหิตสูง



อย่างไรก็ตามไม่มีมาตรฐานแน่ชัดว่าอาหารประเภทใดจะรักษาภาวะ PCOS แต่งานวิจัยพบว่าการทานอาหารประเภท “DASH Diet” มีผลดีต่อ PCOS และทำให้บรรเทาจากอาการหรือช่วยเยียวยาอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้









โดยเน้นเป็นธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ดได้แก่ข้าวกล้อง ข้าวเหนียวดำ ลูกเดือยเป็นต้น โดยให้รับประทาน 7-8 ส่วนบริโภค (หรือประมาณ 7-8 ทัพพี) เพื่อเพิ่มการรับประทานใยอาหารที่ช่วยการขับถ่ายและลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง

โดยเน้นทานผักใบเขียวและผลไม้สด ให้รับประทานอย่างละ 4-5 ส่วนบริโภค (หรือประมาณ 4-5 ทัพพี และผลไม้ 3-4 ส่วน) เพิ่มการรับประทานใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย หลีกเลี่ยงผักและผลไม้กระป๋องหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ

เนื้อสัตว์ไขมันต่ำเช่นเนื้อปลา 2-3 ส่วนบริโภค (หรือประมาณ 4-6 ช้อนกินข้าว) การลดการรับประทานสัตวเนื้อแดง การตัดส่วนไขมันหรือหนังของเนื้อสัตว์และเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำจะช่วยลดการบริโภคไขมัน นอกจากนี้การเพิ่มการรับประทานเนื้อปลาจะช่วยเพิ่มการบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยช่วยบำรุงหัวใจอีกด้วย

ควรรับประทานทาน 2-3 ส่วนบริโภค (หรือไม่เกิน 6 ช้อนชา) การรับประทานไขมันที่มากเกินไปก่อให้เกิดโรคต่างๆ แต่ถึงอย่างนั้นไขมันยังเป็นสารอาหารจำเป็นที่ช่วยให้การดูดซึมวิตามินชนิดที่ละลายน้ำ รวมถึงเป็นแหล่งของกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย

เช่น อัลมอนด์ ถั่วเลนทิล ควรรับประทาน 4-5 ส่วนบริโภค(หรือประมาณ 4-5 ฝ่ามือ)ต่อสัปดาห์ เนื่องจากถั่วชนิดต่างๆมีกรดไขมันชนิดที่ดีอยู่ ทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3, 6, 9

มีรายงานการศึกษาหลายการศึกษาว่าการได้รับปริมาณโซเดียมในร่างกายมากเกินความจำเป็น จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆมากมาย ตัวอย่างเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ เช่นเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายหนา (Left ventricular hypertrophy) และเกิดการสะสมของผังพืดในกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีอีกหลายโรคที่สัมพันธ์กับการกินเค็ม เช่น เบาหาน ภาวะอ้วนลงพุง ภาวะดื้ออินซูลินที่เป็นสาเหตุของ PCOS กระดูกพรุน และนิ่วในไต เป็นต้น






ผงผักผลไม้สีแดงและผงผักสีเขียว หากไม่มีเวลาทานผักสดครูก้อยแนะนำชงผงผักผลไม้กับน้ำดื่มโดยดื่มน้ำให้ได้วันละ 2-3 ลิตร ผงผักสีแดงPure Red อุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ส่วน Pure Green ช่วยล้างสารพิษกำจัดของเสียในเลือด เพิ่มออกซิเจนในเลือด ลดไขมันในเลือด ทำให้เลือดสะอาดค่ะ



























































