top of page
ค้นหา

OHSS คืออะไร อาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป เกิดขึ้นได้บ่อยแค่ไหน?



OHSS หรือ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยค่ะ แต่มีความสำคัญเนื่องจากในรายที่รุนแรงจะมีรังไข่ที่โตมาก มีน้ำในช่องท้องและช่องอก ปัสสาวะออกน้อย ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดอุดตันและอาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้น ในบทความนี้ ครูก้อยจะมาแนะนำเกี่ยวกับรายละเอียดของภาวะนี้ เพื่อเป็นข้อควรรู้ให้กับเหล่าแม่ๆ กันค่ะ


OHSS คืออะไร เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน ป้องกันได้หรือเปล่า?


ในการทำเด็กหลอดแก้ว มีการใช้ฮอร์โมนต่างๆเพื่อกระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่ได้ปริมาณมากขึ้น อาจส่งผลให้รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปในบางราย เรียกว่ากลุ่มอาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS ; ovarian hyperstimulation syndrome)


ซึ่งจะมีอาการปวดท้อง มีท้องอืดขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง บางรายอาจมีอาการหายใจเหนื่อยร่วมด้วยได้ กลุ่มอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งช่วงที่ได้รับยากระตุ้นไข่ และช่วงแรกของตั้งครรภ์ พบเพียงแค่ 3-6% ของผู้หญิงที่เข้ารับการทำเด็กหลอดแก้ว


ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นรังไข่ ด้วยฮอร์โมน FSH (+LH) ในกระบวนการรักษามี บุตรยาก เพื่อให้เกิดการสร้างฟองไข่จานวน มากกว่าธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดการรั่วของซีรั่ม ออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ Third space (เช่น ช่อง ท้อง ช่องปอด) ในรายที่เป็นรุนแรงอาจทาให้เกิด ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน จนถึงเสียชีวิตได้


OHSS คือ..


OHSS เป็นภาวะที่มีการรั่วซึมของสารน้ำออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ช่องท้อง ช่องปอด เนื้อเยื่อของแขนขา เป็นต้น สาเหตุเกิดจากการกระตุ้นไข่ในขบวนการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ บางครั้งเกิดจากการกระตุ้นไข่ในการฉีดเชื้อผสมเทียมก็ได้ เนื่องจากการให้ยาเพื่อกระตุ้นรังไข่ จะทำให้มีสารเคมีบางตัวออกมาทำให้มีรูรั่วของเส้นเลือด น้ำในกระแสเลือดจึงไหลออกข้างนอก อาการทั่วไปก็จะมี ท้องอืด บวม อึดอัด ปัสสาวะเข้มขึ้น ตรวจพบมีน้ำในช่องท้อง เราจัดความรุนแรงของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน เป็น 3 ระดับ คือ

  • ระดับน้อย – จะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อึดอัดแน่นท้อง รังไข่ขนาดน้อยกว่า 8 เซนติเมตร

  • ระดับปานกลาง – ท้องอืดมากขึ้น อาจจะมีคลื่นไส้ อาเจียน ตรวจพบน้ำในช่องท้อง

  • ระดับรุนแรง – ท้องอืดมากชัดเจน รอบเอวใหญ่ขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ปัสสาวะลดลง ความเข้มข้นเลือดเพิ่มขึ้น วัดขนาดรังไข่มากกว่า 12 เซนติเมตร ระดับนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด หรือต้องนอนโรงพยาบาล


ปัจจัยเสี่ยงของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน


บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน


1. อายุน้อย 2. ลักษณะของรังไข่เป็น PCOS (ภาวะที่มีฟองไข่จำนวนมากในรังไข่) 3. ผอม น้ำหนักตัวน้อย 4. ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน ขณะกระตุ้นไข่มากเกิน 3500 5. มีจำนวนฟองไข่มากเกิน 14 ฟอง 6. ฮอร์โมน Amh เกิน 3.36 (แสดงว่ามีไข่ตั้งตั้นมาก) 7. ถ้ามีการตั้งครรภ์ ขณะที่โรคยังดำเนินอยู่ จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้โรครุนแรงมากขึ้น


การป้องกันภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน


เฝ้าระวังจากอาการของผู้ป่วย หรือจากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ในขณะที่ทำการกระตุ้นไข่ ถ้ามีอาการท้องอืด อึดอัดแน่นท้องมาก บวม หรือตรวจระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนขึ้นสูงมาก แพทย์ที่ทำการรักษาก็จะให้การดูแล ดังนี้


1. เปลี่ยนยาที่ใช้ในการกระตุ้นให้ไข่ตก เลี่ยงการใช้ HCG (Human chorionic gonadotropin) 2. ลดขนาดของ HCG หรือใช้ GnRH agonist แทน ในการกระตุ้นให้ไข่ตก 3. งดฉีดยากระตุ้นไข่ และเลื่อนการเก็บไข่ไป จนกว่าท้องจะหายอืด หรืออาการลดลง 4. เก็บไข่และผสมกับอสุจิเป็นตัวอ่อน แล้วทำการแช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อน ยังไม่ใส่ตัวอ่อนในรอบสดนั้น เพราะถ้าผู้ป่วยตั้งครรภ์ อาการของโรคจะมากขึ้นกว่าเดิม


ลักษณะอาการแสดง


1. มีน้ำในช่องท้อง (ASCITES) เนื่องจากมีน้ำรั่วซึมออกจากเส้นเลือด เข้าไปใน ช่องท้อง ทำให้ท้องอืดขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด แน่นท้อง หายใจลำบาก ทานอาหารน้อยลง 2. น้ำท่วมในช่องเยื่อหุ้มปอด เกิดจากน้ำเลือดซึมออกนอกเส้นเลือดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก 3. ภาวะไตวาย เป็นเพราะเลือดที่จะไปเลี้ยงไตน้อยลง ทำให้ปัสสาวะลดลง การทำงานของไตแย่ลง ถ้าขาดเลือดมาก ไตไม่ทำงานก็จะเกิดภาวะไตวายได้ 4. ภาวะที่มีเลือดข้น ทำให้มีการเกิดก้อนเลือดไปอุดตันตามเส้นเลือดต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะถ้าเกิดที่อวัยวะสำคัญก็จะเป็นอันตรายมาก เช่น สมอง ไต 5. ปัสสาวะออกน้อย สีปัสสาวะเข้ม


การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. ความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit) เพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับอันตราย ในขนาดที่ถือว่า รุนแรง จะมากกว่าร้อยละ 55 2. มีจำนวนเม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือดมากขึ้น 3. ค่าการทำงานของไตผิดปกติไป CREATININE ขึ้นสูง 4. เอนไซม์การทำงานของตับ ผิดปกติ


การรักษาภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป


1. การให้ยาแก้ปวด ให้ใช้พาราเซตตามอล ไม่ควรใช้ยากลุ่ม NSAID 2. งดการออกกำลังกายหนักๆ งดการมีเพศสัมพันธ์ 3. รักษาสมดุลย์ของปริมาณน้ำในร่างกาย โดยดูจากปริมาณปัสสาวะที่ออกต่อวัน น้ำหนักตัว ระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ความยาวของเส้นรอบเอว ปริมาณน้ำเข้าน้ำออกของร่างกาย 4. การให้สารน้ำ ทดแทนปริมาณน้ำเลือดที่ขาดแคลน เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่ไต และอวัยวะที่สำคัญ หรือให้สารเช่น HUMAN ALBUNMIN สารอัลบูมินเป็นโปรตีนที่มีความเข้มข้น จะช่วยดูดน้ำจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่เส้นเลือด 5. ภาวะน้ำในช่องท้อง วิธีการรักษาอย่างหนึ่งคือการเจาะดูดน้ำออก เป็นการช่วยลดอาการที่ผู้ป่วยอึดอัดและหายใจลำบาก โดยอาจจะดูดทางหน้าท้อง หรือดูดออกทางช่องคลอด ไม่ควรใช้ยาขับปัสสาวะ 6. การผ่าตัด ในรายที่มีอาการของรังไข่บิดขั้ว หรือรังไข่แตก จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน สรุป ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้ ในกรณีที่มีการกระตุ้นไข่ เพื่อให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก แต่ในปัจจุบัน ความรู้ความเข้าใจในโรคนี้ดีขึ้น ทำให้อัตราการเกิดน้อยลงไปมาก การดูแลโรคนี้จะเน้นที่การป้องกันการเกิดมากกว่า โดยเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง และให้ยากระตุ้นไข่อย่างระมัดระวัง


บทความที่น่าสนใจ


ดู 1,512 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page