top of page
ค้นหา

มดลูกลอยตัวคืออะไร? อันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์หรือไม่?

แม้ว่ามดลูกลอยตัวจะเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น แต่ภาวะดังกล่าวอาจไม่หายไปหลังจากคลอดลูกแล้ว และอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายของคุณแม่ได้ด้วย วันนี้ครูก้อยจะพามาทำความรู้จักและวิธีสังเกตภาวะมดลูกลอยตัวด้วยตัวเองมาฝากกันค่ะ



มดลูกลอยตัวคืออะไร


โดยทั่วไปไม่มีคำศัพท์เฉพาะทางการแพทย์ แต่มดลูกลอยตัวขณะตั้งครรภ์จะมีอาการมดลูกขยายใหญ่ขึ้นตามอายุครรภ์ แต่เนื่องจากไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์อาจยังตรวจดูมดลูกไม่ได้ เพราะมดลูกยังมีขนาดเล็กและอยู่ในอุ้งเชิงกราน เวลาคลำหน้าท้องจึงไม่พบก้อนเนื้อขยายออกมา แต่ถึงอย่างไรก็ตามในกรณีที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คุณแม่สามารถสังเกตได้เองด้วยการคลำยอดมดลูกบริเวณกระดูกหัวหน่าว หากพบก้อนเนื้อนูนขึ้นมาแสดงว่ามีมดลูกลอยขึ้นมาพ้นอุ้งเชิงกราน และเริ่มโตเข้าสู่ช่องท้องต่อไป แต่หากไม่มั่นใจว่ามดลูกลอยตัวหรือไม่? ควรให้สูติแพทย์ตรวจภายในเพื่อประเมินขนาดมดลูกว่ามีขนาดเหมาะสมตามอายุครรภ์หรือไม่? เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่


1. หากมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์


อาจเกิดจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายมีผิดปกติ, มีภาวะไข่ตกช้า, ทารกหยุดเจริญเติบโตในครรภ์ หรือเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก จากนั้นสูติแพทย์จะตรวจอัลตราซาวน์เพื่อหาสาเหตุต่อไป


2. หากมดลูกโตกว่าอายุครรภ์


อาจเกิดจากครรภ์แฝด หรือภาวะมดลูกผิดปกติ เช่น มดลูกผิดรูป


นอกจากนี้มดลูกลอยตัวอาจหมายถึงสภาวะปกติที่พบขณะตั้งครรภ์ เมื่อมดลูกลอยพ้นกระดูกหัวหน่าวขึ้นมา หรืออาจพบความผิดปกติของมดลูกหลังการคลอด โดยที่มดลูกไม่หดตัวกลับเข้าสู่ขนาดปกติตามเวลาอันควรอีกด้วย


ขนาดมดลูกบอกอายุครรภ์ได้

  • อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ยอดมดลูกประมาณ 1/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว

  • อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ยอดมดลูกประมาณ 2/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว

  • อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ระดับเดียวกับสะดือ

  • อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่เหนือสะดือเล็กน้อย

  • อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่เหนือสะดือ 1/4

  • อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่เหนือสะดือ 2/4

  • อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่เหนือสะดือ 3/4


สังเกตอาการมดลูกลอยตัวได้ด้วยตัวเอง

  • ผายลมทางช่องคลอด

  • รู้สึกเสียวช่องคลอดขณะก้าวเดิน

  • ปวดต้นคอและปวดร้าวมาถึงท้องน้อย

  • ทนร้อนหนาวไม่ได้ ใจสั่นง่าย

  • อ่อนเพลีงง่ายกว่าปกติ


ทางที่ดีครูก้อยแนะนำเตรียมความพร้อมในการมีลูกด้วยการดูแลมดลูกให้แข็งแรง เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เริ่มจากการทานอาหารที่เป็นประโยชน์, ออกกำลังกายอย่างพอดี, และพบคุณหมอเป็นประจำ หากพบว่ามีอาการผิดปกติเล็กน้อย หรือไม่มั่นใจว่ามดลูกของตัวเองมีปัญหามั้ย ให้รีบไปปรึกษาคุณหมอทันทีเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


บทความที่น่าสนใจ


ดู 8,157 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page