top of page
ค้นหา

ข้อแตกต่างระหว่างยาเตรียมผนังมดลูก Progynova กับ Estrofem

อัปเดตเมื่อ 10 ส.ค. 2565

ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่เข้ารับการรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว เมื่อเก็บไข่เสร็จ, รอการผสมเป็นตัวอ่อน และเลี้ยงตัวอ่อนมาจนถึงระยะบลาสโตซีสต์ (day3 หรือ day5) คุณหมอจะจ่ายยาให้ว่าคุณแม่เพื่อเตรียมความพร้อมของผนังมดลูกให้หนาขึ้น บางคนอาจได้รับยา Progynova แต่อีกคนได้รับยา Estrofem จึงเกิดข้อสงสัยว่ายา 2 ชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไร วันนี้ครูก้อยมีคำตอบค่ะ




ยาเตรียมผนังมดลูก Progynova กับ Estrofem แตกต่างกันอย่างไร?


ครูก้อยขอตอบตรงนี้เลยว่ายา 2 ชนิดนี้เป็นยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเหมือนกันค่ะ เพียงแต่มีกระบวนการย่อยสลายในร่างกายแตกต่างกัน โดยยา Progynova มีฮอร์โมน Estradiol valerate เมื่อทานยาเข้าสู่ร่างกาย ตัวยาจะถูก Enzyme Esterase ผ่านกระบวนการย่อยสลายในร่างกายผ่านตับ, กระเเสเลือด และเนื้อเยื่อ แล้วจึงเปลี่ยนเป็น Estradiol ซึ่งออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ผลข้างเคียงจากการทานยา Progynova ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน, คัดตึงที่เต้านม, มือ-เท้าบวม, เลือดออกกะปริดกะปรอย เป็นต้น


ส่วนยา Estrofem จะมีฮอร์โมน Estradiol เพียงอย่างเดียว โดยจะดูดซึมผ่านทางเดินอาหารได้เมื่ออยู่ในรูปของ conjugated หรือ micronized หากทาน micronized estradiol ขนาด 1 มก. หรือ premarin ขนาด 0.625 มก. อาจทำให้ระดับ estrone และ estradiol ในเลือดเพิ่มขึ้นภายหลัง 4-6 ชั่วโมง อีกทั้งใช้ในกรณีที่คุณแม่ตัดมดลูกออกไปแล้วเท่านั้น ผลข้างเคียงจากการทานยา Estrofem ได้แก่ ผมร่วง, แสบร้อนกลางหน้าอก, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้ อาเจียน, เป็นตะคริวที่ขาง่ายขึ้น เป็นต้น


เอสโตรเจนมีผลข้างเคียงอย่างไร?


ผลข้างเคียงจากยาเอสโตรเจนมีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือนมากระปริบกระปรอย, ประจำเดือนขาด, หรือไม่มีประจำเดือนเลยก็ได้, มีอาการคลื่นไส้เจียน, ท้องเสีย, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, ติดเชื้อรากลุ่ม Candida ง่ายขึ้น, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด นอกจากนี้ยังมีผลในเรื่องอารมณ์ด้วย เพราะอาจทำให้คุณแม่วิตกกังวลและซึมเศร้าได้เช่นกัน หากร้ายแรงอาจถึงขั้นพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม ทางที่ดีสำหรับการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการรักษาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรซื้อมาทานเองเด็ดขาด


สำหรับเคสครูก้อย ตอนทำ ICSI ครั้งที่ 2 คุณหมอจ่ายยา Estrofem ปริมาณ 2 mg มาให้ค่ะ ครูก้อยเริ่มทานเม็ดแรกใน day 2 ของรอบเดือน (4 กค.61) day 1 คือวันที่มีประจำเดือนมาวันแรก (3 กค.61) หลังจากนั้นทานวันละ 2 เม็ด เช้า 1 - เย็น 1 ติดต่อกัน 14 วัน จนกว่ายาจะหมดไปในช่วงกลางรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาไข่ตกตามธรรมชาติพอดี เมื่อทานยาครบ คุณหมอจะนัดมาอัลตร้าซาวด์ตรวจดูความหนาและความสวยของผนังเยื่อบุโพรงมดลูก ส่วนตัวครูก้อยเองได้รับเอฟเฟคกับยาตัวนี้เหมือนกันค่ะ คือทานแล้วรู้สึกปวดหัวและซึมเศร้าง่าย จึงเข้าพบคุณหมออีกครั้งเพื่อเปลี่ยนจากยาทานมาเป็นแบบสอดช่องคลอดแทน เนื่องจากเป็นคนที่แพ้ฮอร์โมนจากยาพวกนี้ง่ายค่ะ


แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าผนังมดลูกพร้อมหรือยัง


  • เยื่อบุโพรงมดลูกหนา 8-10 mm

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเรียงตัวสวยเป็น 3 ชั้น เป็นเส้นตรงในแนวเดียวกัน

  • เยื่อบุโพรงมดลูกใสเป็นวุ้น ไม่ขุ่นและไม่หนาทึบเกินไป (ไม่ควรเกิน 14 mm)


นอกจากนี้ครูก้อยยังเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมด้วยการทานอาหารที่มีโปรตีนสูงด้วยนะคะ โดยเน้นไปที่อาหารที่มีฤทธิ์อุ่น และอาหารที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดเพื่อให้มดลูกอุ่น เพราะมดลูกก็คือรังที่ต้องอุ่นให้เหมาะกับการฝังตัวของเบบี๋ รวมถึงการทำ Castor oil pack เพื่อดีท็อกซ์สารพิษออกจากมดลูก และสารจากยาที่ตกค้างจากการกระตุ้นไข่อีกด้วย ซึ่งครูก้อยได้ทำคัมภีร์เตรียมผนังมดลูกไว้ให้แม่ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ สามารถกดเข้ามาอ่านได้ที่ลิงก์นี้เลย


บทความที่น่าสนใจ

ดู 9,228 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page